วิธีจับลูกเรอ ต้องลูบขึ้น หรือลูบลง ทำกี่นาที ถึงวัยกี่เดือน

วิธีจับลูกเรอ ต้องลูบขึ้น หรือลูบลง ทำกี่นาที ถึงวัยกี่เดือน

วิธีจับลูกเรอ ช่วยให้คุณแม่อุ้มเรอถูกท่า ป้องกันการแหวะนม.. คุณแม่มือใหม่นอกจากจะต้องจัดเตรียมของไปคลอดแล้ว ยังต้องรู้จักวิธีการดูแลทารก ที่โรงพยาบาลจะมีขั้นตอนสอนอาบน้ำทารก พาเด็กเข้าเต้า และสอนให้จับเรอ เพราะการดูดนมของทารกจะทำให้ลมเข้าไปในท้อง เมื่อวางนอนเลย น้ำนมจะไหลออก เลอะร่างกาย

อุ้มเรอ ช่วยให้เด็กสบายตัว

หากคุณอุ้มทารกจับเรอแล้วแหวะ ถือเป็นเรื่องปกติ น้ำนมส่วนเกินเช็ดออกได้ด้วยผ้าอ้อมสะอาดๆ หลังจากนั้นก็ใช้ปลายผ้าอ้อมด้านที่ไม่โดนน้ำนม จุ่มน้ำเช็ดรอบปาก รอบใบหน้า ป้องกันคราบน้ำนม คราบนมเหล่านี้ส่งผลกัดผิวหนังเป็นผื่นได้

4 วิธีอุ้มทารกเรอ

วิธีอุ้มทารกเรอมีหลายท่า คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสรีระเด็กแต่ละคน ก่อนอุ้มเรอ เตรียมผ้าอ้อมรองไว้ที่คาง

1. อุ้มเรอท่านั่งตัก

คุณพ่อคุณแม่สามารถจับทารกเรอท่านี้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ท่านั่งตักเป็นท่าอุ้มเรอเบสิกที่ส่วนใหญ่จะเรอง่าย

วิธีอุ้มเรอท่านั่งตัก

1.1) คุณพ่อหรือคุณแม่ นั่งหลังตรง ขาชิด
1.2) มือข้างหนึ่งทำท่าคล้องเป็นตัว C และวางผ้าอ้อมไว้รองคาง
1.3) ห่อตัวเด็กหรือไม่ห่อก็ได้ วางมือข้างหนึ่งประคองคาง
1.4) มืออีกข้างหนึ่งลูบหลัง ลูบขึ้น หรือลูบลง

2. อุ้มเรอโน้มตัวไปข้างหน้า

ท่าที่เหมาะสมจับเรอทารกอีกท่าหนึ่งคือ ท่าโน้มตัวไปข้างหน้า เหมาะสำหรับเด็กทารกทุกสรีระ และง่ายต่อการประคอง

วิธีอุ้มเรอท่าโน้มตัวไปข้างหน้า

2.1) คุณพ่อหรือคุณแม่ นั่งหลังตรง ขาชิด
2.2) มือข้างหนึ่งทำท่าคล้องเป็นตัว C และวางผ้าอ้อมไว้รองคาง
2.3) วางเด็กไว้แนบลำตัวเรา วางคางไว้ที่มือที่ทำเป็นตัว C โน้มตัวเด็กไปข้างหน้า
2.4) มืออีกข้างหนึ่งลูบหลัง ลูบขึ้น หรือลูบลง

3. อุ้มเรอโน้มเข้าหาตัว

ท่านี้เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด หรือเด็กที่เรอเก่งแล้ว กับคุณแม่ที่ลุกนั่งไม่ค่อยสะดวก ช่วยให้คุณแม่ได้พักผ่อนจากการให้นม แต่ไม่เหมาะสำหรับน้องที่เรอยาก

วิธีอุ้มเรอท่าโน้มเข้าหาตัว
3.1) คุณพ่อหรือคุณแม่ นอนหรือนั่งพิงตรงที่นอนที่มีพนักพิง หรือเก้าอี้ปรับระดับพนักได้
3.2) วางผ้าอ้อมไว้ที่อก
3.3) วางเด็กไว้แนบลำตัว หันหน้าเข้า รองผ้าอ้อม
3.4) ลูบหลัง ลูบขึ้นหรือลูบลง อาจใช้เวลานานกว่าท่าอื่น

4. อุ้มเรอพาดบ่า

ท่าอุ้มเรอพาดบ่า เป็นท่าเบสิกที่เหมาะสำหรับทารกที่มีน้ำหนัก 3.5 กิโลกรัมขึ้นไป หรือ 1 เดือนขึ้นไป เพราะต้องประคองอย่างระมัดระวัง ป้องกันการอุ้มหลุดมือ และท่าอุ้มเรอพาดบ่านี้ได้ผลต่อการไล่ลมสำหรับเด็กทารกทุกช่วงวัย

วิธีอุ้มเรอท่าพาดบ่า

4.1) วางผ้าอ้อมไว้บนไหล่ข้างที่ถนัด
4.2) ยกอกเด็กขึ้นพาดบ่า ให้อกอยู่บนไหล่
4.3) ลูบหลัง ลูบขึ้นหรือลูบลง
4.4) ไม่ควรเดินขย่ม เพราะเด็กอาจหลุดมือได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจับเด็กอุ้มเรอ

จับลูกเรอลูบขึ้นหรือลูบลง

เมื่อลูกดูดนมแล้วการจับทารกเรอ จะลูบขึ้นหรือลูบลงก็ได้ แต่ต้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไล่ลมให้ออกทางเดียว

อุ้มเรอกี่นาที

เด็กแต่ละคนเรอยากหรือง่ายไม่เหมือนกัน การอุ้มเรอกี่นาทีนั้น บางคนลูบไม่นานก็ออก แต่หากนานเกินจนทารกดิ้น หรือดูเหนื่อย ควรเปลี่ยนท่าอุ้มเรอ

ท่าจับเรอทารกแบบไหนถึงเหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องจับเรอทุกท่า เลือกท่าที่ตัวเองถนัด และปลอดภัยกับลูก การล็อกคอรองคางก็ต้องดูตำแหน่งการหายใจ ไม่ควรล็อกจนลูกหายใจไม่ออก และการพาดบ่าอุ้มเรอก็ควรอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม หากเดินบริเวณพื้นลื่น เสี่ยงต่อการทำเด็กหลุดมือ

ลูกหลับคาเต้าต้องจับเรอไหม

ไม่ว่าเด็กทารกจะกินนมเสร็จในท่าไหน ต้องจับเรอทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นน้ำนมจะแหวะเลอะไม่รู้ตัว

จับลูกเรอถึงกี่เดือน

เด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กทารกที่ยังดูดนมอยู่ควรจับเรอ ส่วนใหญ่เด็กที่รับประทานอาหารบดได้แล้ว วัยสัก 7-12 เดือน ก็จะเรอได้เอง

อุ้มเรอ แต่ลูกไม่เรอ ต้องทำอย่างไร

ในการจับเรอทุกครั้ง อุ้มเรอ แต่ลูกไม่เรอก็เป็นไปได้ เด็กบางคนปล่อยลมทางท้อง ตดออกมา แต่ไม่เรอก็มี

ความสำคัญของการอุ้มเรอ คือ ป้องกันการแหวะนม ช่วยไล่ลมให้เด็กทารก หากวางนอนไปเฉยๆ ก็จะเลอะเทอะ ต้องเปลี่ยนทั้งเสื้อผ้าและผ้าปูเตียง ดังนั้นหลังการดื่มนมทุกครั้ง แม้จะหลับคาเต้าก็ต้องจับเรอด้วย

ดูผลิตภัณฑ์สินค้าแม่และเด็กที่เกี่ยวข้องกับการป้อนนมได้ที่นี่

คุณกำลังดู: วิธีจับลูกเรอ ต้องลูบขึ้น หรือลูบลง ทำกี่นาที ถึงวัยกี่เดือน

หมวดหมู่: แม่และเด็ก

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด