ถ่านอัลคาไลน์ คืออะไร ทำไมเขาว่ากันว่าใช้ได้นานกว่าถ่านแบบทั่วไป

ถ่านอัลคาไลน์ หลายคนอาจสงสัยว่า ถ่านอัลคาไลน์คืออะไร? ทำไมถึงใช้งานได้นานกว่าถ่านไฟฉายทั่วไป? แม้จะมีราคาแพงกว่าถ่านไฟฉายทั่วไป

ถ่านอัลคาไลน์ คืออะไร ทำไมเขาว่ากันว่าใช้ได้นานกว่าถ่านแบบทั่วไป

ทุกวันนี้ถ่านก้อน หรือ ถ่านไฟฉายที่หลายคนเลือกกันมักนะเป็นอุปกรณ์ที่ให้พลังงานดีที่สุด ซึ่งหลายคนอาจจะเห็นชื่อ อัลคาไลน์ (Alkaline) ว่ามันดีกว่า ทำให้เลือกซื้อกันมา โดยไม่รู้เลยว่า ถ่านแบบนี้คืออะไรและควรใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบไหน วันนี้ Sanook Hitech จะพาคุณไปรู้จักกับถ่านแบบนี้กัน

ถ่านอัลคาไลน์ คืออะไร

สำหรับถ่านไฟฉายแบบอัลคาไลน์ก็คือถ่านปกติที่ให้พลังกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและมอเตอร์ได้ โดยมักจะผลิตจากสังกะสี และ แมงกานิสออกไซด์ โดยเมื่อใส่ไปกับเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนภายในให้กลายเป็นของเหลว สังเกตง่ายๆ ว่าถ้าถ่านไฟหมดจะมีของเหลวไหลออกมา ก็เพราะแบบนี้นี่เอง

ถ่านอัลคาไลน์

ถ่านอัลคาไลน์ กับ ถ่านธรรมดาทั่วไป

อัลคาไลน์จะพัฒนาจากถ่านแบบเดิม ซึ่งเหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการพลังงานสูงเช่น กล้องบถ่ายรูป, ไฟแฟลช, ไฟฉายฉุกเฉอน เครื่องกวนนวด, เมาส์ไร้สาย, รถบังคับวิทยุ และอุปกรณืทั่มีมอเตอร์เป็นต้น ซึ่งถ้าใช้กับอุปกรณ์ที่พลังงานต่ำนั่นอาจจะทำให้ไฟเยอะเกิดความจำเป็นจนคุณลืมไป และเกิดของเหลาวจนอุปกณ์ได้รับความเสียหายเช่นรีโมตคอนโทรลต่างๆ เป็นต้น

ถ่านอัลคาไลน์ ชาร์จได้ไหม

ต้องบอกว่าถ่านอัลคาไลน์ไม่สามารถชาร์จไฟกลับเข้าไปได้เพราะถ้าถ่ายนั้นเต็มจะมีข้องเหลวและแรงดันที่อาจะรั่วซึมออกมาจนทำให้เกิดความเสียหาย หากถ่ายแบบนี้หมดควรจะทิ้งในถังขยะอันตรายทันที ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่

คำแนะนำสำหรับคนที่จะใช้ถ่านอัลคาไลน์

  1. ควรดูอุปกรณ์ว่ากินไฟเยอะหรือไม่
  2. หากไม่ใช้งานแล้วควรถอดถ่านอัลคาไลน์ออก
  3. ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่
  4. ไม่ควรชาร์จไฟ
  5. ไม่ใช้ถ่านอัลคาไลน์หลายยี่ห้อปะปนกันและไม่ควรใช้ร่วมกับถ่านเก่าหรือกำลังไฟน้อยกว่า
  6. เก็บไว้ให้ไกลมือเด็ก และในที่ไม่ร้อนไม่ถูกแสงหรือน้ำ
  7. หากถ่ายหมดแล้วต้องทิ้งกับขยะอันตรายหรือขยะมีพิษทันที

หวังว่าหากคุณรู้แบบนี้แล้วน่าจะเลือกถ่านมาใช้กับอุปกรณ์ให้ถูกต้องนะครับ ในครั้งหน้าจะมีเรื่องราวอะไรนั้นรอติดตามใน Sanook Hitech ครับ

คุณกำลังดู: ถ่านอัลคาไลน์ คืออะไร ทำไมเขาว่ากันว่าใช้ได้นานกว่าถ่านแบบทั่วไป

หมวดหมู่: เคล็ดลับ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด