25 ปี วิวัฒนาการแฟนคลับไทย จาก "บ้านติ่ง" สู่ "แฟนด้อม"

ยุคแรกของติ่งไทย สมัยที่ยังไม่มีโซเชียลมีเดีย มาจนถึงสิ่งที่เรียกว่า แฟนด้อม มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

25 ปี วิวัฒนาการแฟนคลับไทย จาก "บ้านติ่ง" สู่ "แฟนด้อม"

หากพูดถึง “ติ่ง” หลายคน คงทราบความหมายดี ว่าคำนี้ เป็นคำเรียกของกลุ่มแฟนคลับ ซึ่งหากนั่งไทม์แมชชีนย้อนวันวานไป เรื่องราวของ “ติ่ง” หรือ แฟนคลับ ที่พัฒนามาสู่ คำว่า “ด้อม” คือกลุ่มคนรักอะไรเหมือนๆกัน เริ่มเห็นชัดในช่วง สิบกว่าปีที่ผ่านมาของการมีโซเชียล


ยุคแรกของติ่งไทย

ปฏิเสธไม่ได้ว่า แฟนคลับ นั้นมีมาเนิ่นนาน ในทุกวงการ ทั้ง นักร้อง นักแสดง หากอยู่ในกลุ่มลิเก หมอลำ กลุ่มแฟนคลับก็จะถูกเรียกว่า แม่ยก แต่หากเป็นแฟนคลับศิลปินต่างประเทศจะถูกเรียกว่า ติ่ง ซึ่งคำนี้จริงๆแล้วเป็นศัพท์แสลงในอินเตอร์เน็ต ใช้เรียกแฟนคลับที่ไม่มีมารยาทและคลั่งไคล้ศิลปินจนเกินงาม ซึ่งเดิมจะเรียกกลุ่มแฟนคลับศิลปินต่างประเทศ ก่อนที่คำๆนี้ จะกลายเป็นคำเรียก แฟนคลับ ทั่วไป

โดยยุคแรกๆ ของติ่งศิลปินไทย ที่เห็นภาพชัดเจน คือในยุคที่มีรายการประกวดร้องเพลง แบบเรียลลิตี้ อย่าง The Star และ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย หรือ AF ที่รายการมีการเปิดโหวตให้กับศิลปินที่ชื่นชอบ และมีการถ่ายทอดเรื่องราวของกลุ่มผู้เข้าประกวดกันแบบ 24 ชั่วโมง 

Sanook ได้มีโอกาสพูดคุย กับแฟนคลับยุคแรก ที่ติดตามเกาะติดแบบหน้าเวที และกิจกรรมต่างๆของศิลปินตั้งแต่ยุคแรกๆของ The Star และ AF ทรูอะเคดามี่ แฟนเทเซีย จนถึงปัจจุบัน เขาเล่าให้ฟังว่า วิวัฒนาการของกลุ่มแฟนคลับในอดีตเมื่อกว่า 10 ปีก่อน แตกต่างจากปัจจุบันมาก ในยุคนั้นโซเชียลเน็ตเวิร์ค อย่าง Facebook หรือ Twitter ยังไม่มี ทำให้สมัยนั้นการรวมตัวของกลุ่มแฟนคลับ จะรวมตัวกันที่เว็ปบอร์ดของ PANTIP ในการรายงานข่าวสาร กิจกรรม และรูปภาพของศิลปินดารา โดยจะตั้งชื่อห้องกิจกรรมให้แฟนคลับได้ติดตาม จนเกิดเป็นบ้านแฟนคลับ และเว็ปไซด์รวมข้อมูลศิลปิน และแฟนคลับยุคนั้นจะมีการแบ่งทีมทำงาน และมีศัพท์เรียกว่า ทัพหน้า คือ คนที่อยู่หน้างาน เป็นช่างภาพ และคนรายงานสถานการณ์ และทัพหลัง คือเป็นแอดมิน อยู่ด้านหลังคอยโพสต์ข้อมูล คอยเชียร์ศิลปิน รวมไปถึงทีมซัพพอร์ตที่คอยสนับสนุนในเรื่องต่างๆ เรียกว่า เป็นองค์กรย่อมๆ

จากจุดนี้เอง ที่มีการรวมตัวของคนที่รักศิลปินคนเดียวกันมากขึ้นทำให้ก่อเกิด บ้านแฟนคลับ และใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการติดตามข้อมูลของศิลปินคนนั้นๆ รวมถึงการนัดทำกิจกรรม และการไปเชียร์ศิลปิน ซึ่งยุคนั้นได้รับความนิยมอย่างมาก จนเว็ปบอร์ด PANTIP ต้องจัดตั้งกระทู้ห้อง สำหรับรายการเรียลลิตี้ และสร้างปรากฏการณ์ป้ายไฟเชียร์ เฉพาะของศิลปินอย่างแพร่หลาย

The Star

The Star

AF

มิวสิค AF

ตี๋ AF


บ้านติ่ง สู่ แฟนด้อม

หลังจากนั้น เมื่อโซเชียล อย่าง Facebook และ ทวิตเตอร์ เข้ามา ประมาณช่วงปี 2548 กลุ่มแฟนคลับที่เคยติดต่อสื่อสารกันอยู่ใน PANTIP เริ่มหันมาใช้โซเชียลมากขึ้น บวกกับรายการเรียลลิตี้ The Star และ AF ทรูอะคาเดมี่ แฟนเทเซีย ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการขยายวงกว้างของแฟนคลับ บ้านแฟนคลับ ก็ถูกขยายมาสู่โซเซียล มีแฮชแท็ก มาวัดความดัง จำนวนคนเล่นทวิตการขึ้นเทรนด์ และใช้ Facebook โพสต์รูป โพสต์คลิปของศิลปิน การสื่อสารเริ่มเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น 

และจากบ้านแฟนคลับกลุ่มใหญ่ๆ ในถูกพัฒนาเป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกแทนกลุ่มแฟนคลับว่า “ด้อม” หรือ “แฟนด้อม (Fandom)”  ซึ่งมาจากคำว่า Fanclub มารวมกับคำว่า Kingdom นั่นเอง

เมื่อรายการเรียลลิตี้ประกวดร้องเพลงจบลง การขยายบ้านแฟนคลับ และแฟนด้อม เริ่มขยายมาสู่นักแสดง ศิลปินรายบุคคล และเริ่มมีการตั้งชื่อกลุ่มแฟนคลับ ตามแฟนคลับของกลุ่มศิลปินเกาหลี จนเป็นชื่อ ด้อม จนมาสู่คู่ศิลปินซีรีส์วาย ที่เริ่มต้นยุคแรกๆ มาซีรีส์ Love sick, ซีรีส์ Sotus ที่แจ้งเกิดคู่จิ้น คริส-สิงโต ไปจนถึงหลายๆ คู่ในปัจจุบันอย่าง ไบร์ท-วิน, ซี-นุนิว, บิวกิน-พีพี และเริ่มมีการไปทัวร์คอนเสิร์ตต่างประเทศ สร้างปรากฏการณ์กลุ่มแฟนคลับที่อายุน้อยลง เป็นเจเนอเรชั่นใหม่ แตกต่างจากแฟนคลับยุคแรกที่จะเป็นวัยทำงาน ซึ่งระบบแฟนคลับของ ซีรีส์วาย ก็จะเริ่มแตกต่างไปจากยุคแรก คนที่เข้ามาซัพพอร์ตจะต้องสร้างมูลค่าให้ศิลปินทางโซเชียลมีเดีย เข้ามาเป็นแอดมิน เพราะโซเชียลเป็นส่วนสำคัญ สินค้า บริษัทห้างร้าน มองว่าศิลปินคนไหนมียอดเอนเกจเมนท์โซเชียลมีเดียเยอะที่ดัง คือศิลปินที่ทำเงิน

เรียกว่าแฟนคลับ หรือ ด้อม ของศิลปินในยุคนี้ ไม่ใช่เพียงแค่สนับสนุนหรือติดตามชื่นชมผลงานศิลปินเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าให้ ศิลปิน คนนั้นๆ อีกด้วย

ไบร์ท วชิรวิชญ์

วิน เมธวิน

คริส พีรวัส

เจมีไนน์-โฟร์ท

ซี-นุนิว

วันเกิดนุนิว

คุณกำลังดู: 25 ปี วิวัฒนาการแฟนคลับไทย จาก "บ้านติ่ง" สู่ "แฟนด้อม"

หมวดหมู่: หนัง-ละคร

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด