แบ้งค์ชาติ และ สมาคมธนาคารไทย พบมัลแวร์ในมือถือ เข้าสั่งงานโอนเงินออกเอง ไม่ใช่สายชาร์จมือถือ

ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับกรณีผู้ใช้บริการตกเป็นเหยื่อดูดเงินหมดบัญชี เป็นเพราะ ถูกมัลแวร์สั่งงานไม่ใช่เพราะสายชาร์จมือถือ

แบ้งค์ชาติ และ สมาคมธนาคารไทย พบมัลแวร์ในมือถือ เข้าสั่งงานโอนเงินออกเอง ไม่ใช่สายชาร์จมือถือ

จากประเด็นเรื่องเสียบชาร์จไฟมือถือแล้วถูกดูดเงินออกจากบัญชีจนเป็นประเดืนของสายชาร์จไฟดูดเงินเป็นจำนวนมาก ล่าสุดนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้แถลงออกข่าวดังกล่าวออกมา ดังนี้

“ตามที่ปรากฎข่าวพบผู้เสียหายจากการใช้งานสายชาร์จปลอมแล้วถูกดูดข้อมูลและโอนเงินออกจากบัญชีนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้หารือสมาคมธนาคารไทย เพื่อตรวจสอบกรณีดังกล่าวแล้ว พบว่ามิได้เกิดจากการใช้งานสายชาร์จปลอม

แต่เกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์ ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า และควบคุมเครื่องโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมแทนจากระยะไกล เพื่อโอนเงินออกจากบัญชี โดยอาจเลือกทำธุรกรรมในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายไม่ได้ใช้งานโทรศัพท์”

ปัจจุบัน มิจฉาชีพมีวิธีหลอกลวงหลายรูปแบบ อาทิ SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม เป็นต้น และมีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดใช้การหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์

โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน กสทช. สำนักงาน ปปง. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันแก้ปัญหา และมีคำแนะนำให้ประชาชนป้องกันตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงด้วย 5 ข้อดังนี้

  1. ไม่คลิกลิงก์จาก SMS LINE และ อีเมลที่มีแหล่งที่มาที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ
  2. ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม นอกเหนือจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมและรับรองความปลอดภัยจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store อาทิ Play Store หรือ App Store เท่านั้น
  3. อัปเดต Mobile Banking ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ หรือตั้งค่าให้มีการอัปเดตแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะมีมาตรการป้องกันการควบคุมเครื่องทางไกลรวมถึงมีการปรับปรุงพัฒนาระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
  4. ไม่ใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือที่ไม่ปลอดภัยมาทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ เครื่องที่ปลดล็อก (root/jailbreak) เพื่อให้สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันใด ๆ ก็ได้ หรือใช้เครื่องที่มีระบบปฏิบัติการล้าสมัย เป็นต้น
  5. ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้การติดตามแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และหากลูกค้าธนาคารพบธุรกรรมผิดปกติ สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารที่ลูกค้าใช้งาน เพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมในทันที โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังระบุเพิ่มเติมว่า หากลูกค้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูล ธนาคารต้องพิจารณาช่วยเหลือโดยเร็วภายใน 5 วัน

แต่อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้ช่วยคุณไม่ให้เงินหายได้จริง ดังนั้นควรจะปฏิบัติและทำตามกันครับ

คุณกำลังดู: แบ้งค์ชาติ และ สมาคมธนาคารไทย พบมัลแวร์ในมือถือ เข้าสั่งงานโอนเงินออกเอง ไม่ใช่สายชาร์จมือถือ

หมวดหมู่: เทคโนโลยีใหม่

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด