กางแผนพัฒนา 5G ของ Ericsson ในประเทศไทย พร้อมจับมือและขับเคลื่อน Digital Transformation
อีริคสันประเทศไทยมุ่งมั่นขับเคลื่อนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในประเทศไทย
Ericsson ได้เปิดบ้านแห่งใหม่ที่อาคาร S-OASIS แห่งใหม่ พร้อมกับกาเรปิดข้อมูล Inside เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนผ่าน 5G และ Digital Trasnformation ทั้งของประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทย ได้มีการ 5GIX Studio ที่มาพร้อมกับการโชว์นวัตกรรม 5G ที่เป็นได้มากกว่าความเร็วเช่นเดียวกัน ร่วมมาดูกับเทคโนโลยีกันในครั้งนี้กันครับ
ความเคลื่อนไหวของ 5G
ตามรายงาน Ericsson Mobility เผยมีผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั้งหมดกว่า 300 รายทั่วโลก ที่เปิดให้บริการ 5G โดยมี 50 ราย ที่เปิดให้บริการ 5G Standalone (หรือ 5G SA) ซึ่ง 5G ยังคงเติบโตต่อเนื่องในทุกภูมิภาค และคาดว่าในปี 2029 จะมีผู้ใช้ 5G คิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งหมด ช่วงสามเดือนแรกของปี 2024 มีผู้ใช้ 5G เพิ่มขึ้นทั่วโลกถึง 160 ล้านราย ณ ปัจจุบันอีริคสันคือผู้นำ 5G ระดับโลก โดยเปิดบริการเครือข่าย 5G ไปแล้วถึง 162 เครือข่าย ใน 69 ประเทศทั่วโลก เรียกได้ว่าเยอะมากขึ้น
รายงานล่าสุดจาก Frost & Sullivan ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำของอีริคสันในตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ซึ่งครอบคลุมถึง Radio Access Networks (RAN), Transport Networks และ Core Networks โดยอีริคสันได้รับการจัดอันดับเป็นผู้นำอันดับ 1 ในรายงานการวิเคราะห์ตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ของ Frost Radar™ ประจำปี 2024 ซึ่งเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน ตอกย้ำให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้จากกลยุทธ์บริษัทที่สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs)
จุดเด่นของ Ericsson ที่ทำให้เกิดความโดดเด่น
Ericsson ได้บอกว่า จุดเด่นที่ Ericsson ได้ให้มาทั้งหมด 5 จุดเด่นคือ ความพร้อมให้บริการ, ความน่าเชื่อถือ, การจัดการพลังงานที่ดี, ความปลอดภัยที่เชื่อถือได้, รักษาความเป็นส่วนตัว และนอกจากนี้ในเรื่องของการความได้รับไว้วางใจ อีริคสันก็ได้เปิดกว้างร่วมมือกับทั้งภาครัฐ หรือ เอกชนได้เช่นเดียวกัน เห็นได้ชัดกับการเปิด 5G Innovation Expreience Store ในโครงการ Thailand Digital Valley โดยเป็นความร่วมมือกับรัฐบาลไทยผ่านทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
ห้องปฏิบัติการนี้ยังจัดแสดงความหลากหลายของยูสเคส 5G ระดับแถวหน้า รวมถึงหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR) เครื่องจักรการผลิตอัตโนมัติที่เป็นความร่วมมือกับมิตซูบิชิ และกล้อง CCTV 360 องศา แบบสวมใส่ได้ ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้เผยให้เห็นศักยภาพในการนำเทคโนโลยี 5G มาเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังมีการทดสอบกับอุปกรณ์ 5G Box ทำให้สามารถใช้กับเครือข่าย 5G ในความถี่ 3.5GHz ที่ตอนนี้ยังไม่มีการประมูล แม้ว่าเครือข่ายจะเป็นที่นิยมทั่วโลก แต่คาดว่าอีกไม่นานนี้จะมีการประมูลออกมาเช่นเดียวกัน
5G ในอนาคต
จากรายงาน Ericsson Mobility ที่เพิ่งเผยแพร่ออกไป คาดการณ์ ภายในปี 2029 จำนวนผู้ใช้ 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มสูงถึง 560 ล้านราย โดย ณ สิ้นปี 2023 มียอดผู้ใช้ 5G ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 61 ล้านราย ซึ่งผู้สมัครใช้บริการ 5G ในระดับภูมิภาคยังคงเติบโตต่อเนื่อง เป็นผลมาจากที่ผู้ใช้ย้ายมาใช้เครือข่าย 5G โดยได้รับแรงหนุนจากอุปกรณ์ 5G ที่ราคาไม่แพง โปรโมชั่นการขายที่ดึงดูดใจ ส่วนลด และแพ็กเกจบันเดิลการใช้ดาต้าขนาดใหญ่จากผู้ให้บริการ และคาดว่าในปี 2029
ผู้สมัครใช้บริการมือถือ 5G จะเพิ่มสูงถึง 43% ของยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือทั้งหมดในภูมิภาค และในปี 2029 จะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นเป็น 42 กิกะไบต์ต่อเดือน จาก 17 กิกะไบต์ต่อเดือน เมื่อปี 2023
เห็นได้ชัดว่าตามภาพนี้ปี 2023 - 2024 ยังเห็นเครือข่าย 2G / 3G ยังมีพื้นที่อยู่และเชื่อว่าในปี 2025 เครือข่าย 5G จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้น และ 4G จะเป็นเครือข่ายหลัก และในปี 2026 จะมีทำให้เครือข่าย 5G เป็นเครือข่ายหลักในที่สุด และในประเทศอินเดียคือผู้ใช้งานที่หลักๆ
5G จะกลายเป็นเครือข่ายบนมือถือที่ได้รับความนิยมสูงสุดก่อนสิ้นสุดช่วงคาดการณ์ แม้ว่าการครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 5G จะเติบโตขึ้น แต่ย่านความถี่ 5G Mid-Band ได้ถูกนำไปใช้งานเพียง 25% ของไซต์ทั้งหมดทั่วโลกนอกจีนแผ่นดินใหญ่ โดยคลื่นความถี่ 5G Mid-Band มอบความลงตัวระหว่างการครอบคลุมพื้นที่และความจุ ขณะเดียวกันก็ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้
ทาง Ericsson ได้เผยว่าต้องหวังว่าในอนาคตคาดว่าจะใช้กับเครือข่ายในความถี่ 3.5GHz มากขึ้น
มร.แอนเดอร์ส เรียน ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “5G เป็นแพลตฟอร์มเพื่อนวัตกรรม ช่วยให้ผู้บริโภค องค์กรธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถใช้บริการใหม่ ๆ ได้ โดยเรายังมุ่งมั่นส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเครือข่าย 5G ที่ทั้งแข็งแกร่งและมีความยั่งยืน
ผมหวังว่า 5G Innovation and Experience Studio ในโครงการ Thailand Digital Valley จะส่งเสริมให้เกิดยูสเคสใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ให้กับประเทศไทย และใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ 5G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผ่านการทำงานร่วมกันกับผู้ให้บริการอื่น ๆ ในระบบนิเวศ จะทำให้เราสามารถขับเคลื่อนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งคนไทย เศรษฐกิจ และประเทศชาติ”
คุณกำลังดู: กางแผนพัฒนา 5G ของ Ericsson ในประเทศไทย พร้อมจับมือและขับเคลื่อน Digital Transformation
หมวดหมู่: เคล็ดลับ