คนไทยครองแชมป์! โดน SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย

Whocalls ได้เปิดรายงานสรุปของปี 2566 พบว่าคนไทยตกเป็นเหยือมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น และได้รับ SMS รวมถึง สายจากมิจฉาชีพเยอะที่สุดในเอเชีย

คนไทยครองแชมป์! โดน SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย

Whoscall แอปส์ระบุตัวตนสายเรียกเข้า และ ป้องกันสแปมดัง ได้เผยสถิติที่น่ากลัวในปี 2566 ว่า มิจฉาชีพทำงานหนักก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับ ข้อความ หลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ซึ่งแนบลิงก์ปลอม ลิงก์ขอล็อกอินปลอม การดาวน์โหลดมัลแวร์ อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง

who4

ในรายงานระบุว่า จากการ ศึกษาพฤติการณ์มิจฉาชีพหลอกลวงผ่านสายโทรเข้า ข้อความ และ ลิงก์จากข้อความ พบว่าคนไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับข้อความหลอกลวงมากถึง 58.3 ล้านข้อความ ด้วยกลโกงต่างๆ เกี่ยวกับเงินกู้และเว็บพนันมากที่สุด เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า เพื่อหลอกเหยื่อ

ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลรายงานออกมาว่าทวีปเอเชียจะมีความเสี่ยงลดลงเหลือจากเดิม 405.3 ล้านครั้ง เหลือในปี 2566 ที่ 347.3 ล้านครั้ง

แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วพบว่าในปี 2566 ที่ผ่านมา คนไทยกลับเสี่ยงกับภัยมิจฉาชีพมากขึ้นเช่น

  • การโดนหลอกจากสายโทรเข้าและข้อความ รวม 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง ในปี 2565
  • จำนวนสายโทรเข้า 20.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 22% จาก 17 ล้านครั้ง ในปี 2565
  • ข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้น 17% สูงถึง 58.3 ล้านข้อความ จาก 49.7 ล้านข้อความ

นอกจากนี้ Whoscall เผยจำนวนข้อความหลอกลวง เฉลี่ยคนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัย 20.3 ข้อความ ซึ่งมากที่สุด ในเอเชีย โดยอันดับ 2 คือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 19.3 ข้อความ และฮ่องกง จำนวน 16.2 ข้อความ แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหานี้กำลังเพิ่มขึ้นในภูมิภาค 

batch_who2

ซึ่งมิจฉาชีพมุ่งเป้าไปยังเรื่องการหลอกพนันออนไลน์ และการปล่อยกู้เงิน รวมถึงการหลอกถึงบริษัทขนส่ง และหน่วยงานรัฐต่างๆ เช่น

  • การหลอกว่า ยูสใหม่ แจกฟรี 500 ครั้งแรก
  • การแจ้งวัสดุตกค้าง
  • การแจ้งลดค่ามิเตอร์ค่าน้ำ / ไฟผิด
  • แจ้งคืนเงินค่าประกันมิตเตอร์
  • หลอกคะแนนสะสมจะหมดอายุ
  • หรือหลอกด้วยการโทรคือ มาจาก Apps ดังอย่าง TikTok

โดยทั้งหมดจะเป็นการหลอกโดยการแนบลิงก์ให้กดเข้าไป บ้างก็หลอกให้ติด Application, บ้างก็หลอกให้ Add LINE เช่นเดียวกัน 

batch_who3

อย่างไรก็ดีเมื่อไม่นานมานี้ Whoscall เปิดให้ใช้ฟีเจอร์ใหม่ฟรี เพื่อสแกนลิงก์ URLs ที่น่าสงสัย โดยผู้ใช้สามารถนำลิงก์ที่สงสัย มาวางในแอปพลิเคชั่นเพื่อตรวจสอบความเสี่ยง หรือเปิดการตั้งค่าให้ตรวจสอบจาก SMS ที่มีลิงก์แนบมาด้วย พบว่า 4.5% ของข้อความที่ได้รับ มีลิงก์ที่น่าสงสัย ซึ่งแนบลิงก์หลอกให้ล็อกอินเข้าเว็บไซด์ปลอม (27%), หลอกให้ดาวน์โหลดแอปอันตราย (20%) และเข้าหน้าช๊อปปิ้งออนไลน์ปลอม (8%)

แม้จะมีการให้ความรู้ถึงภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการหลอกลวงพัฒนารวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เนื่องจาก มิจฉาชีพใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่หลุดรั่วร่วมกับปรับรูปแบบให้แนบเนียนยิ่งขึ้น ยากที่เหยื่อจะแยกแยะและเพิ่มโอกาสที่จะหลอกลวงสำเร็จ

istock-1798627099

วิธีปฏิบัติในการรับมือกับมิจฉาชีพ

นอกจากการติดตั้ง Apps ในการแจ้งเตือนแล้ว เราควรจะมีสติในการรับข้อความ หรือ ตรวจสอบเบอร์โทรว่าเป็นเบอร์แปลกๆ หรือไม่ โดยทีม Sanook Hitech มีทริปง่ายๆ ในการสังเกตดังนี้

  • อย่ารับสายกับเบอร์แปลก (ถ้าไม่จำเป็น) โดยมากในเวลานี้จะมาในรูปแบบของเบอร์ 02 
  • หากมีการถามอะไร ห้ามตอบคำว่า "ใช่" เพราะอาจจะทำให้เกิดนำเสียงไปใช้ทำธุรกรรมได้
  • หากได้ SMS แนบลิงก์ต่างๆ อย่ากด หากเป็นไปได้ลบไปเลยก็ดี
  • และถ้ายังมีข้อความแปลกๆ มา มือถือบางรุ่นสามารถกดเป็นข้อความ สแปม เพื่อจะทำให้เวลาข้อความมาจะมีการถูกรีพอร์ต
  • แจ้งไปยังผู้ให้บริการของมือถือเพื่อจัดการกับ SMS เป็นอีกวิธีการหนึ่ง
  • อย่าไว้ใจอะไรง่ายๆ ว่ามันจะปลอดภัย

แค่นี้ครับก็จะทำให้คุณปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ไม่มากก็น้อยครับ และการตระหนักรู้ครั้งนี้หวังว่ารายงานของปี 2024 จะมีสถิติของคนไทยที่ลดลงนะ

คุณกำลังดู: คนไทยครองแชมป์! โดน SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย

หมวดหมู่: เคล็ดลับ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด