ความเปลี่ยนแปลงใน ‘เวิลด์คัพ 2026’ ฟุตบอลโลกเวอร์ชั่นที่ไม่เหมือนเดิม

ความเปลี่ยนแปลงใน 'เวิลด์คัพ 2026' ฟุตบอลโลกเวอร์ชั่นที่ไม่เหมือนเดิม ฟุตบอลโลก 2022 ใกล้จะปิดฉากเต็มทีแล้ว อีกไม่กี่วันก็จะรู้ว่าทีมไหนเป็นแชมป์ หลั...

ความเปลี่ยนแปลงใน ‘เวิลด์คัพ 2026’ ฟุตบอลโลกเวอร์ชั่นที่ไม่เหมือนเดิม

ความเปลี่ยนแปลงใน ‘เวิลด์คัพ 2026’ ฟุตบอลโลกเวอร์ชั่นที่ไม่เหมือนเดิม

ฟุตบอลโลก 2022 ใกล้จะปิดฉากเต็มทีแล้ว อีกไม่กี่วันก็จะรู้ว่าทีมไหนเป็นแชมป์ หลังจากนั้นก็จะหมดหน้าที่ของกาตาร์ในการเป็นเจ้าภาพ ก่อนจะส่งไม้ต่อให้เจ้าภาพหนต่อไปในปี 2026

ในอีก 4 ปีข้างหน้า เวิลด์คัพจะจัดขึ้นที่ 3 ประเทศ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, เม็กซิโก ซึ่งเป็นหนแรกที่มีเจ้าภาพร่วมถึง 3 ประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นฟุตบอลโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยการเพิ่มทีมในรอบสุดท้ายจาก 32 เป็น 48 ทีม

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ได้มีการยืนยันมาแล้วจะมีการเพิ่มเป็น 48 ทีมแน่นอน โดยแต่ละทวีปจะได้สิทธิในการเข้ารอบสุดท้ายเปลี่ยนไปทั้งหมด โซนเอเชียจาก 4.5 ทีม เป็น 8 ทีม โซนแอฟริกา จาก 5 ทีม เป็น 9 ทีม โซนคอนคาเคฟ จาก 3.5 ทีม เป็น 6 ทีม (รวมเจ้าภาพ) โซนอเมริกาใต้ จาก 4.5 ทีม เป็น 6 ทีม โซนยุโรป จาก 13 ทีม เป็น 16 ทีม และโซนโอเชียเนีย จาก 0.5 ทีม เป็น 1 ทีม ส่วนที่เหลืออีก 2 ทีม จะเป็นการเพลย์ออฟที่ทีมจากทุกโซนจะมาแย่งโควต้ากัน ซึ่งแต่ละโซนจะได้ตัวแทนในการมาชิงตั๋ว 2 ใบสุดท้าย

เมื่อมีการเพิ่มจาก 32 เป็น 48 ทีม ทำให้รูปแบบการแข่งขันก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย จากเดิมที่แบ่งเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม เอาทีมอันดับ 1-2 ของกลุ่มเข้ารอบน็อกเอาต์ แต่ในระบบ 48 ทีม ทำให้ฟีฟ่าต้องมีการหาแนวทางที่เหมาะที่สุดและสนุกที่สุดในรอบแรก 

รูปแบบที่ฟีฟ่าเคยคาดกันไว้ คือ แบ่งออกเป็น 16 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ทีม แล้วเอาทีมแชมป์ของแต่ละกลุ่ม ผ่านเข้ารอบ 16 ทีม เตะกันแบบน็อกเอาต์เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีเกมเตะเพิ่มขึ้นจาก 64 แมตช์ ในระบบ 32 ทีม เป็น 80 แมตช์ ในทัวร์นาเมนต์ 48 ทีม แต่ใช้เวลาในการแข่งขัน 32 วัน ได้เท่ากับฟุตบอลโลกครั้งที่ผ่านๆ มาแล้ว

อย่างไรก็ตามฟีฟ่ายังเดินหน้าหาแนวทางอื่นๆ ของรอบแบ่งกลุ่ม อีกแบบที่มีการหารือกัน คือ แบ่งเป็น 12 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม เอาอันดับ 1-2 ของกลุ่มเข้ารอบ และทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุดอีก 8 ทีม เข้าสู่รอบ 32 ทีม แล้วค่อยไปเตะน็อกเอาต์กันในรอบ 32 ทีม แต่รูปแบบนี้จะทำให้มีแมตช์เพิ่มขึ้นเป็น 104 เกม มากกว่าที่แข่งขันกันในปีนี้ถึง 40 แมตช์

ส่วนอีกแบบจะแบ่งเป็น 2 ฝั่ง แต่ละฝั่งจะมี 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม แล้วค่อยเอาทีมที่เป็นแชมป์ของแต่ละฝั่งมาเจอกันในรอบชิงชนะเลิศ เหมือนที่เคยใช้ในฟุตบอล 1982-1994 ซึ่งในตอนนั้นมี 24 ทีม 

อาร์แซน เวนเกอร์ ผู้อำนวยการฟุตบอลระดับนานาชาติของฟีฟ่า บอกว่า เรื่องของรูปแบบยังต้องมีการคุยกันอีก และจะมีการตัดสินขั้นสุดท้ายโดยสมาชิกของฟีฟ่าภายในปีหน้า ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ทุกรูปแบบ

เมื่อมีการเพิ่มโควต้าทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ฟุตบอลโลก ให้แต่ละโซน เมื่อมองลึกลงไปถึงรอบคัดเลือก จะทำให้มีทีมที่ได้ตั๋วลุยเวิลด์คัพได้ง่ายขึ้น อย่างในโซนอเมริกาใต้ มี 10 ประเทศ แข่งขันในระบบพบกันหมด เหย้า-เยือน ทุกทีมจะลงเตะ 18 แมตช์ แต่จะมีเพียง 3 ทีมเท่านั้นที่ไม่ได้ไปต่อในรอบสุดท้าย ส่วนอีก 1 ทีม หรือทีมอันดับ 7 จะได้สิทธิไปเพลย์ออฟกับทวีปอื่นๆ 

ในฝั่งของเอเชีย เมื่อโควต้าจากเดิม 4.5 ทีม เพิ่มขึ้นไปเกือบเท่าตัว ทำให้ชาติที่เกือบได้ไปฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย มีโอกาสจะได้สัมผัสเกมลูกหนังที่ยิ่งใหญ่ในโลกเสียที 

สำหรับรูปแบบรอบคัดเลือกของโซนเอเชีย เพื่อไปฟุตบอลโลก 2026 นั้น รอบแรก จะเอาทีมที่มีอันดับ 26-47 ของเอเชีย(ยึดตามอันดับโลกในเวลานั้น) มาแข่งขันแบบน็อกเอาต์ เหย้า-เยือน เพื่อหา 11 ทีม เข้าสู่รอบสอง ส่วนรอบสอง ทีมอันดับ 1-25 ของเอเชีย มารวมกับ 11 ทีมจากรอบแรก จะได้ 36 ทีม จับมาแบ่งเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม เอาทีมอันดับ 1-2 ของกลุ่ม เข้าสู่รอบคัดเลือก รอบที่สาม รวม 18 ทีม

สำหรับ 18 ทีม จะมีการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม คัดเอาทีมอันดับ 1-2 ของกลุ่มไปแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ส่วนอันดับ 3-4 จะได้ไปเตะรอบชิงตั๋ว 2 ใบสุดท้ายของเอเชีย โดยจะมี 6 ทีม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ทีม แข่งแบบพบกันหมด ทีมที่เป็นแชมป์กลุ่มจะได้สิทธิไปเตะฟุตบอลโลก ส่วนทีมอันดับ 3 ของ 2 กลุ่ม จะต้องไปเตะเพลย์ออฟ รอบรวมทุกทวีปอีกครั้ง

สุดท้ายแล้วถ้ามองว่าไทยจะมีโอกาสหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่ามีความเป็นไปได้มากกว่าเดิมแน่นอน เพราะมีการเพิ่มโควต้าให้โซนเอเชียมากขึ้นอีกเท่าตัวนั่นเอง

ก็ต้องรอดูกันว่าสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะใช้โอกาสนี้ได้มีประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่!!

คุณกำลังดู: ความเปลี่ยนแปลงใน ‘เวิลด์คัพ 2026’ ฟุตบอลโลกเวอร์ชั่นที่ไม่เหมือนเดิม

หมวดหมู่: ฟุตบอลไทย

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด