เปิดประสบการณ์ "ตรีวนันดา" ศูนย์รวมของเวลเนสแห่งเอเชีย
ความสำเร็จของ ตรีสรา รีสอร์ต ภูเก็ต ที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวแล้ว อีกหนึ่งโครงการที่กำลังเป็นที่สนใจ คือโครงการตรีวนันดา ศูนย์รวมของของเวลเนสแห่งเอเชีย
ความสำเร็จของ ตรีสรา รีสอร์ต ภูเก็ต ที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ที่มาสัมผัสการพักผ่อนแบบมีระดับแล้ว อีกหนึ่งโครงการที่กำลังเป็นที่สนใจ เพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นปี 2564 คือโครงการตรีวนันดา (TRI VANANDA) ศูนย์รวมของเวลเนสแห่งเอเชีย
เรียกได้ว่าจาก ตรีสรา มาถึง ตรีวนันดา ภายใต้การดำเนินงานของ มนทาระ ฮอสพิตาลิตี้ กรุ๊ป นั้น เป็นที่น่าจับตา เพราะ ตรีวนันดา ลงทุนกว่า 6,600 ล้านบาท ด้วยเป้าหมายให้เป็นต้นแบบที่พักอาศัยเพื่ออนาคตระดับโลก ด้วยแนวคิด Integrative Wellness เน้นการอยู่ร่วมกันแบบหลายเจเนอเรชัน (Multigeneration) โดยทุกคนต่างมีพื้นที่พิเศษของตัวเองในการเรียนรู้ เติบโต และอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืน
บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ของโครงการตรีวนันดา ประกอบด้วย 3 โซนหลัก ได้แก่ โซนที่พักอาศัย (Private residential pool villa), รีสอร์ตเพื่อสุขภาพ (Wellness resort) และ Community House ในพื้นที่ประมาณ 15% ของโครงการ เพื่อคงพื้นที่อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ รวมถึงทะเสสาบทั้ง 9 แห่งเอาไว้ให้มากที่สุด
ในเฟสแรกของโครงการตรีวนันดา ประกอบด้วยวิลล่า จำนวน 77 หลัง มีขนาดตั้งแต่ 120-1,800 ตารางเมตร เริ่มต้นตั้งแต่วิลล่า 1 ห้องนอน จนถึงวิลล่า 4 ห้องนอน และ Community House ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ร้านอาหาร Jampa, ฟิตเนส และ Tweenie Club
ความสวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติของภูเก็ตนั้น โครงการตรีวนันดาได้รับการออกแบบโดย อาจารย์ ธีรพล นิยม และอาจารย์กฤษฎา โรจนกร ศิลปินแห่งชาติ และสถาปนิกที่ยูเนสโกให้การรับรอง ร่วมกันออกแบบโครงการ โดยมี อาศรมศิลป์ (Arsomsilp Community and Environmental Architect) และ ฮาบิตา อาร์คิเท็คส์ (Habita Architects) ออกแบบด้านสถาปัตยกรรม ส่วนการออกแบบภายใน ออกแบบโดย อาฟโรโค่ (AvroKo) และ พี 49 ดีไซน์ (P49 Design)
ร้านอาหาร “จำปา” (JAMPA) ปรุงด้วยใจ
ภายในโครงการตรีวนันดามีร้านอาหาร “จำปา” (JAMPA) ซึ่งเป็นร้านอาหารล่าสุดในเครือมนทาระ ฮอสพิทาลิตี้ ตั้งอยู่ใน คอมมิวนิตี้ เฮ้าส์ (Community House) ด้วยคอนเซปต์ การใช้วัตถุดิบท้องถิ่น ปรุงอาหารด้วยเตาฟืน เหลือทิ้งน้อยที่สุด (Local Ingredients, Live Fire, Zero Waste Cuisine) ตามแนวคิด Sustainability หรือความยั่งยืนด้วย
ในส่วนของเตาฟืนนั้น เป็นความตั้งใจมอบประสบการณ์ “Hearth Cooking” หรือการปรุงแบบเตาฟืนและใช้ศาสตร์ของไฟในการปรุงสุก ซึ่งเป็นวิธีโบราณ ในการปรุงอาหารที่น่าตื่นเต้นกว่าการปรุงด้วยครัวสมัยใหม่
สำหรับชื่อ “จำปา” (JAMPA) มีแรงบันดาลใจมาจาก ดอกจำปา ซึ่งพบเห็นได้รอบเมืองภูเก็ต ทั้งยังพ้องกับชื่อของ ฟาร์ม “พรุจำปา” อันเป็นฟาร์มภายใต้เครือมนทาระ โดยชื่อครึ่งหน้าได้ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของร้านอาหาร “พรุ” PRU ดังนั้น ชื่อครึ่งหลัง จึงถูกนำมาตั้งชื่อให้กับร้านอาหาร “จำปา” และ ร้านจำปายังได้รับดาว MICHELIN GREEN STAR หรือมิชลินรักษ์โลก ประจำปี 2566 อีกด้วย
คุณกำลังดู: เปิดประสบการณ์ "ตรีวนันดา" ศูนย์รวมของเวลเนสแห่งเอเชีย
หมวดหมู่: สุขภาพ