เปิดวิธีแจ้งข้อมูลกฎหมาย DPS ไม่ยากอย่างที่คิด

รู้กันไหมว่า ไทยมีกฎหมายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว

เปิดวิธีแจ้งข้อมูลกฎหมาย DPS ไม่ยากอย่างที่คิด

21 สิงหาคมที่ผ่านมา  ไทยมีกฎหมายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว เรียกว่าเป็นการเอาจริงของภาครัฐเพื่อช่วยคุ้มครองผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกงออนไลน์ 

ดังนั้น กฎหมายนี้จึงเป็นอะไรที่น่าจับตามองมาก เพราะว่าผู้ใช้บริการ ผู้บริโภคอย่างเราก็จะได้รับความเป็นธรรมในการใช้งานแพลตฟอร์ม หากเกิดปัญหาขึ้นก็จะมีที่รับแจ้งปัญหาอย่างถูกต้อง สามารถติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นได้  ไม่มีการถูกเอาเปรียบจากแพลตฟอร์ม ส่วนทางแพลตฟอร์มเองก็จะได้รับความไว้วางใจจากเหล่าพ่อค้าแม่ค้า ผู้ใช้บริการมากขึ้น เพราะมีการดูแลชี้แจงอย่างโปร่งใส 

จะเห็นได้การมาของกฎหมายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลจะช่วยให้ระบบนิเวศด้านเศรษฐกิจเข้มแข็งขึ้น เพิ่มความมั่นใจในการใช้งาน ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน จุดหมายปลายทางอย่างที่ได้บอกไป ว่าเป็นการคุ้มครองมากกว่าการควบคุมเพราะทาง ETDA เองก็ชัดเจนในหน้าที่ที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุน ให้หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลปัญหาเฉพาะและผู้ประกอบธุรกิจ ปรึกษา

 batch_etda3-1

หารือร่วมกัน ในการออกแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) รวมถึงแนวทางการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสม (Self-regulate) เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 21 สิงหาคม 66 ที่ผ่านมา  ไทยจึงมีกฎหมายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว

เรียกว่าเป็นการเอาจริงของภาครัฐเพื่อช่วยดูแลให้การให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีความโปร่งใส ความเป็นธรรม และมีการดูแลผู้ใช้บริการที่เหมาะสม

ลักษณะและประเภทของธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วไปที่ต้องแจ้งให้ทราบภายใน 18 พ.ย. 66

กฎหมายฉบับนี้ระบุให้เจ้าของแพลตฟอร์มที่มีลักษณะดังนี้ต้องมาแจ้งการประกอบธุรกิจ ภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 นั้น จะครอบคลุมหลายธุรกิจไม่ใช่แค่อีคอมเมิร์ซที่ให้ผู้ซื้อกับผู้ขายอย่างเดียวเหมือนที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นบริการสื่อกลางที่ให้ผู้ใช้บริการ 2 ฝ่ายมาเชื่อมต่อกัน ซึ่งอาจเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ผู้บริโภคกับผู้บริโภค หรือผู้ประกอบการกับผู้บริโภคก็ได้ โดยมีตัวอย่างประเภทของธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้ง ดังนี้ 

  • แพลตฟอร์มที่เป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านเครือขายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace Platform)
  • แพลตฟอร์มแชร์หรือที่แบ่งปันทรัพยากรหรือบริการ เช่น บริการแชร์รถยนต์ บริการแชร์ที่พัก บริการจัดหาแม่บ้านหรือช่าง
  • แพลตฟอร์มใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน
  • แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถสร้างและแบ่งปันเนื้อหากับคนอื่นๆ
  • แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งออนไลน์ ครอบคลุมทั้งภาพ เสียงและวิดีโอ
  • แพลตฟอร์มที่รวบรวมและนําเสนอข่าวสารจากแหล่งข่าวต่างๆไว้ที่เดียว
  • แพลตฟอร์มค้นหาข้อมูล (Searching Tools)
  • แพลตฟอร์มแผนที่ออนไลน์
  • แพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์
  • แพลตฟอร์มผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistants) ให้ข้อมูล ตอบคําถาม หรือควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ
  • แพลตฟอร์มบริการคลาวด์ (Cloud Service Platform)
  • ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
  • เว็บเบราว์เซอร์ (web browsers)
  • ผู้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider)
  • ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)

ผู้มีหน้าที่แจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ ETDA ทราบ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน

  1. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดา  มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายในไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 
  2. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคลที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายให้ไทยเกิน 50 ล้านบาทต่อปี
  3. มีจำนวนผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในไทยเกิน 5,000 คนต่อเดือน โดยคำนวณจากการใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลังตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกาศกำหนด 

ถ้าหากหน่วยงานหรือธุรกิจไหนไม่มั่นใจว่าธุรกิจของตัวเองเข้าข่ายธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือเปล่า

ทาง ETDA ได้เปิดให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถประเมินตัวเองได้ง่าย ๆ ผ่านเครื่องมือ

https://eservice.etda.or.th/dps-assessment/ ในรูปแบบของการตอบคำถามง่ายๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการแจ้งการประกอบธุรกิจกับทาง ETDA โดยระบบประเมินตนเองนี้ จะครอบคลุมทั้ง

ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับลักษณะการให้บริการ และคำแนะนำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการทำแบบประเมินดังกล่าว ประมาณ 5 นาที และเมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ระบบจะแจ้งผลการประเมินให้ท่านทราบว่าธุรกิจบริการของท่านเข้าข่ายเป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือไม่ เพื่อให้ท่านสามารถเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับการจดแจ้งในลำดับต่อไป

 batch_etda3-2

เราจะต้องใช้ข้อมูลและเอกสารอะไรบ้าง?

ธุรกิจที่เข้าข่ายธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลจะต้องเตรียมข้อมูลหลักฐาน ตามรายการดังต่อไปนี้โดยยื่นจดแจ้งกับ ETDA

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เลขบัตรประชาชนพร้อมที่อยู่ ช่องทางการติดต่อ หากเป็นนิตินิติบุคคลจะใช้ข้อมูลเลขทะเบียนนิติบุคคล และรอบระยะเวลาบัญชีเพิ่มด้วย 
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ประกอบด้วยชื่อและประเภทของบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการในไทย ระบุช่องทางให้บริการ เช่น ยูอาร์แอล (URL) หรือแอปพลิเคชัน พร้อมระบุรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการให้บริการ 
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ประเภทของผู้ใช้บริการ เช่น ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ผู้ทำงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวนของผู้ใช้บริการรวมและแยกตามผู้ใช้บริการแต่ละประเภท รวมถึงประเภทของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ขนส่งสินค้า ผู้ให้บริการคลังสินค้า พร้อมระบุจำนวนรวมของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องและจำนวนของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องแต่ละประเภท 
  4. ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนที่มีจำนวนมากที่สุด 5 อันดับแรก รวมถึงการจัดการเรื่องร้องเรียนและการระงับข้อพิพาท
  5. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประสานงานในราชอาณาจักร ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประกอบธุรกิจ อยู่นอกราชอาณาจักร
  6. คำยินยอมให้สำนักงานเข้าถึงข้อมูลที่ได้

หากต้องการคำปรึกษามีข้อสงสัยก็สามารถลงทะเบียน เพื่อเตรียมความพร้อมขอรับคำปรึกษา "การแจ้งการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล" แนวทางการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการขอรับคำปรึกษาสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ ผ่านทางออนไลน์ได้

คุณกำลังดู: เปิดวิธีแจ้งข้อมูลกฎหมาย DPS ไม่ยากอย่างที่คิด

หมวดหมู่: เทคโนโลยีใหม่

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด