เผยโฉมผู้ชนะในการแข่งขัน Meta AI Accelerator Pitchathon ประจำปี พ.ศ. 2567

มาแล้วผลการตัดสิน Meta AI Accelerator Pitchathon ประจำปี พ.ศ. 2567 ทีมที่ชนะคือ ...

เผยโฉมผู้ชนะในการแข่งขัน Meta AI Accelerator Pitchathon ประจำปี พ.ศ. 2567

หลังจากที่ Meta หรือ Facebook ได้จัดการแข่งขัน Meta AI Accelerator Pitchathon ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยในรอบสุดท้ายของการแข่งขันทีม Sanook Hitech ได้ไปสังเกตการณ์ในครั้งนี้ร่วมกับกรรมการทั้งหมด ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดนั้นเรียกว่า ถ้าใครเป็นสายฟังงานแบบ Hackatron ต้องสนุกแน่นอน

 batch_metallamapitchathon(_1

Meta AI Accelerator Pitchathon คืออะไร

Meta AI Accelerator Pitchathon เป็นเวทีการคัดเลือกข้อเสนอโครงการหรือผลงานจากนักพัฒนาชาวไทยที่มีการนำระบบเอไอ Llama (ลาม่า) ของ Meta เข้ามาใช้ โดยการแข่งขันนำเสนอโครงการนี้เป็นการแข่งขันในระดับประเทศเพื่อค้นหาตัวแทนจากประเทศไทย ไปเข้าร่วมการแข่งขันระดับภูมิภาคที่สิงคโปร์และชิงเงินทุนสนับสนุนสูงสุดถึง 100,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยผลงานที่จะมีการนำเสนอในการแข่งขันนี้ได้ผ่านรอบคัดเลือกมาก่อนหน้านี้แล้ว และเป็นไปเพื่อสานต่อโครงการในการพัฒนาสังคมด้วยพลังของ AI (AI-powered Social Impact) ให้เกิดขึ้นจริง 

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนด้าน AI อย่างต่อเนื่องของ Meta และความมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมอีโคซิสเต็มของชุมชนนักพัฒนา AI ทั่วโลก  หลังจากก่อนหน้านี้ Meta ได้ประกาศอัปเดตเวอร์ชันเอไอล่าสุด ได้แก่ ‘Llama 3.1’ (ลาม่า) ซึ่งเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้โมเดลประมวลผลด้วยภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model) โดยปัจจุบัน Llama 3.1 ก็ได้มีการขยายการรองรับภาษาไทยแล้วและเป็นการเปิดโอกาสให้นักพัฒนาชาวไทยได้เข้าถึงระบบเอไอแบบโอเพนซอร์สที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้าที่สุดในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน

ขั้นตอนการเข้าร่วมโปรแกรม AI Accelerator ประกอบด้วย

  • การส่งผลงาน: นักพัฒนาหรือหน่วยงานส่งหัวข้อโครงการที่นำ Meta Llama AI เข้ามาโดยมุ่งเน้นในการช่วยแก้ไขปัญหาความท้าทายทางสังคมหรือเศรษฐกิจ โดยก่อนหน้านี้ Meta ได้ประกาศรับหัวข้อโครงการจากนักพัฒนาชาวไทยในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
  • การคัดเลือกผลงาน: ผลงานทั้งหมดจะได้รับการประเมินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การแข่งขัน: ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เป็นตัวแทนประเทศ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน Meta Llama Hackathon ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดถึง 100,000 เหรียญสหรัฐฯ เป็นเงินทุนสนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนาโครงการต่อไป

AI Accelerator Pitchathon ในครั้งนี้เป็นขั้นตอนการคัดเลือกผลงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ทีมผู้เข้าแข่งขันจากแต่ละประเทศ นำเสนอโครงการในการพัฒนาสังคมที่ขับเคลื่อนด้วย Meta Llama AI ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะประเมินทั้งความเป็นไปได้ทางเทคนิค ผลกระทบเชิงบวกของโครงการ รวมถึงการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบ

batch_metallamapitchathon(_2

คณะกรรมการตัดสิน

คณะกรรมการผู้ตัดสิน AI Accelerator Pitchathon ในประเทศไทยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ที่จะมาประเมินผลงานของทีมผู้เข้าแข่งขันอย่างรอบด้าน:

  • คุณแพร ดํารงค์มงคลกุล จาก Facebook ประเทศไทย มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาสังคมและการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ชุมชน
  • ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด จาก สพธอ. มีความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์และการปฏิรูปธุรกิจด้วยเทคโนโลยี AI
  • ดร.ชลิตดา มัธยมบุรุษ จาก สพธอ. มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผศ. ดร.นริศ หนูหอม จากมหาวิทยาลัยมหิดล มีความเชี่ยวชาญด้าน AI, deep learning และการประมวลผลภาพทางการแพทย์
  • ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ จาก ดีป้า มีประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัลและการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

คณะกรรมการชุดนี้จะพิจารณาผลงานจากทั้งมุมมองทางเทคนิค ผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานจริง เพื่อเฟ้นหาโครงการที่โดดเด่นและมีศักยภาพในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยด้วย AI

batch_metallamapitchathon(

ทีมที่ผ่านรอบสุดท้าย

ผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทยใน AI Accelerator Pitchathon ได้นำเสนอโครงการที่ใช้ Meta Llama เพื่อสร้างสรรค์โซลูชันที่ตอบโจทย์ปัญหาสำคัญในสังคมไทย ทั้ง 3 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกและความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่ใช้งานได้จริง:

  • CARIVA Co., Ltd. มุ่งแก้ปัญหาโรคหายากด้วย PreceptorAI ซึ่งเป็นเครื่องมือวินิจฉัยและรักษาที่แม่นยำและเข้าถึงได้ง่าย ช่วยลดภาระของผู้เชี่ยวชาญและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
  • Robolingo Co., Ltd. พัฒนา ZWIZ.AI แชทบอท AI ที่ช่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจัดการการสื่อสารและยอดขาย เพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจของลูกค้า
  • Metamedia Technology Co., Ltd. สร้าง Longdo Dict และ AI Tutor เพื่อช่วยคนไทยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ลดอุปสรรคในการทำงานและเปิดโอกาสใหม่ ๆ

โครงการเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ AI ในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย และความสามารถของคนไทยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

batch_metallamapitchathon(_3

แต่ทีมที่ชนะคือ CARIVA ด้วยการถูกกรรมการถามอย่างต่อเนื่อง แต่ตอบคำถามได้ดีพอสมควร ทั้งนี้ผู้ชนะในประเทศไทยจะได้ไปแข่งขันต่อที่ ประเทศสิงคโปรนั่นเอง

คุณกำลังดู: เผยโฉมผู้ชนะในการแข่งขัน Meta AI Accelerator Pitchathon ประจำปี พ.ศ. 2567

หมวดหมู่: เทคโนโลยีใหม่

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด