รู้จัก Bloatware แอปส์แบบฝั่งเครื่อง มาแบบไม่ตั้งใจ อันตรายหรือไม่ มีคำตอบในนี้

การมาของ Fineasy ทำให้เป็นการถอดบทเรียนจากผู้ผลิตและผู้ใช้งานและตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เรียกว่า Bloatware

รู้จัก Bloatware แอปส์แบบฝั่งเครื่อง มาแบบไม่ตั้งใจ อันตรายหรือไม่ มีคำตอบในนี้

จากกรณีแอปส์ดังอย่าง Fineasy ซึ่งเป็นแอปส์พลิเคชั่นที่มีฟีเจอร์การกู้เงินฝั่งในมือถือ OPPO และ realme ทำให้หลายคนเริ่มตระหนักรู้เกี่ยวกับ Application ฝั่งในเครื่องในบางภูมิภาคเรียกร้องให้ผู้ผลิตจะต้องทำฟีเจอร์ถอดฟีเจอร์หรือแอปส์ที่มากับเครื่องออกได้

ซึ่งแม้ว่าผู้ผลิกดังกล่าวจะพยายามนำแอปส์ออกแล้ว แต่มันก็ทำให้เกิดศัพย์ใหม่คือ "Bloatware" ซึ่งวันนี้ Sanook Hitech จะพาคุณมาทำความรู้จักกับแอปส์ประเภทนี้กันครับ

batch_img_20250112_092011

Bloatware คืออะไร

Bloatware คือ ซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ โดยมากมักจะเป็นแอปที่ผู้ใช้ไม่ได้ต้องการหรือไม่ได้ใช้งาน ถ้าเปรียบคือ คุณซื้อบ้านมาแล้วเขามีเฟอร์นิเจอร์ให้ครบ แถมทุกอย่างมาเลย แต่ว่าคุณไม่ได้ใช้ฟีเจอร์หนึ่ง ซึ่งฟีเจอร์นั้น อาจจะเป็นดาบ 2 คมได้

ประเภทของ Bloatware

  • แอปพลิเคชันจากผู้ผลิต: แอปที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ติดตั้งมาให้ เช่น แอปเพลง, แอปวิดีโอ, แอปเกม
  • แอปพลิเคชันเวอร์ชันทดลอง: แอปที่ให้ทดลองใช้ฟรีระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะต้องเสียเงินเพื่อใช้งานต่อ
  • แอปพลิเคชันโปรโมชั่นต่างๆ
  • แอปที่ซ้ำซ้อนกับที่มีในระบบอยู่แล้ว เช่น มีแอปอีเมลมาให้ ทั้งที่ระบบปฏิบัติการมีแอปอีเมลอยู่แล้ว

ประโยชน์ (ที่มีน้อย)

  • บางแอปอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้บางคน เช่น แอปแก้ไขรูปภาพ, แอปจดบันทึก
  • ผู้ผลิตอุปกรณ์อาจได้รับรายได้จากการติดตั้ง Bloatware ทำให้สามารถขายอุปกรณ์ได้ในราคาถูกลง

ผลเสียและอันตรายกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

  • เปลืองพื้นที่จัดเก็บ: Bloatware กินพื้นที่ในอุปกรณ์ ทำให้เหลือพื้นที่น้อยลงสำหรับเก็บข้อมูลอื่นๆ
  • ทำให้เครื่องทำงานช้าลง: Bloatware มักจะทำงานเบื้องหลัง แย่ง RAM และ CPU ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์โดยรวม
  • สิ้นเปลืองแบตเตอรี่: เช่นเดียวกับด้านความจำ เพราะ Bloatware ที่ทำงานเบื้องหลังจะใช้พลังงานแบตเตอรี่ ทำให้แบตหมดเร็วขึ้น
  • ความเป็นส่วนตัว: Bloatware บางตัวอาจเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือส่งข้อมูลส่วนตัวไปยังผู้พัฒนา แต่ส่วนนี้ป้องกันได้ หากไม่ได้ไปกดใช้งาน
  • ความปลอดภัย: Bloatware บางตัวอาจมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ทำให้มัลแวร์เข้ามาโจมตีอุปกรณ์ได้ง่ายขึ้น 
  • สร้างความรำคาญ: Bloatware บางตัว ส่งการแจ้งเตือนที่ไม่ต้องการ หรือแสดงโฆษณาที่น่ารำคาญ

วิธีจัดการกับ Bloatware

  • ถอนการติดตั้ง: Bloatware บางตัวสามารถถอนการติดตั้งได้ แนะนำให้ถอนออก
  • ปิดใช้งาน: หากถอนการติดตั้งไม่ได้ ให้ลองปิดใช้งาน เพื่อไม่ให้ทำงานเบื้องหลัง 
  • เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ Bloatware น้อย: ก่อนซื้อสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต ควรศึกษาข้อมูลว่ามี Bloatware ติดตั้งมาให้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งทีม Sanook Hitech จะมาบอกเล่าเกี่ยวกับวิธีเลือกมือถือที่มีกลุ่ม Software แบบนี้ต่อไป

ทั้งนี้วิธีการแก้ปัญด้วยการลบที่ต้องใช้การเข้าระบบเครื่องแบบ root และ Jailbraker ไม่แนะนำให้ทำเพราะอาจจะมีผลต่อประกันคุณภาพตัวเครื่องได้ครับ

อย่างไรก็ตาม Bloatware ก็อาจจะมีความจำเป็นกับคนที่ต้องการใช้งานหากเห็นหรือต้องการอยู่แล้ว ดังนั้น เหรียญมี 2 ด้านฉันใด แอปส์มือถือก็มีผลเช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะใช้แอปส์อะไร อย่าลืมดูว่า แอปส์แต่ละตัวขอสิทธิ์อะไรด้วยก็จะปลอดภัยเพิ่มขึ้นครับ อย่ามัวแต่ Setup มือถือแล้วกดถัดไป จนสุดท้ายแล้ว แอปส์ติดเครื่องเองโดยไม่รู้ตัวครับ

คุณกำลังดู: รู้จัก Bloatware แอปส์แบบฝั่งเครื่อง มาแบบไม่ตั้งใจ อันตรายหรือไม่ มีคำตอบในนี้

หมวดหมู่: เคล็ดลับ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด