อริยสัจ 4 และ มรรค 8 คืออะไร ประกอบไปด้วยอะไร
อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ
อริยสัจ หรือ จตุราริยสัจ หรือ อริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่ 4 ประการ คือ
อริยสัจ 4 มีอยู่ 4 ประการ คือ
- ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก
ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด)
ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น)
การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ
ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
- สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่
ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์,
ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่
ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ
วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่
ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
- นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่
ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3
ได้อย่างสิ้นเชิง
- มรรค คือ
แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์
มรรคมีองค์ประกอบอยู่ 8 ประการ คือ
- สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
- สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
- สัมมาวาจา เจรจาชอบ
- สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
- สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
- สัมมาวายามะ พยายามชอบ
- สัมมาสติ ระลึกชอบ
- สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
มรรคมีองค์ 8 นี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้- อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
- อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ
- อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
กิจในอริยสัจ 4
กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
- ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
- ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
- สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
- ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมาย
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
- สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
- นี่คือทุกข์
- นี่คือเหตุแห่งทุกข์
- นี่คือความดับทุกข์
- นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
- กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
- ทุกข์ควรรู้
- เหตุแห่งทุกข์ควรละ
- ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
- ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
-
กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
- ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
- เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
- ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
- ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว
ตัวอย่างการแก้ปัญหาโดยใช้ อริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างที่ 1
ทุกข์ (ผล) พิจารณารู้ว่าได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่จักรยานยนต์ล้ม
สมุทัย (เหตุ) พิจารณารู้ถึงสาเหตุว่าขับรถด้วยความประมาท
นิโรธ (ผล) พิจารณารู้ถึงการขับขี่รถอย่างปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุ
มรรค (เหตุ) พิจารณารู้ถึงสาเหตุที่จะขับขี่รถอย่างปลอดภัย คือ มีสติและ ระมัดระวังขณะขับขี่
ตัวอย่างที่ 2
ทุกข์ (ผล) น้ำหนักตัวมากจนรู้สึกอึดอัด ถูกเพื่อนล้อ
สมุทัย (เหตุ) ทานอาหารมากเกินไป
นิโรธ (ผล) หุ่นดี ร่างกายแข็งแรง
มรรค (เหตุ) พยายามในการควบคุมปริมาณการกิน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
คุณกำลังดู: อริยสัจ 4 และ มรรค 8 คืออะไร ประกอบไปด้วยอะไร
หมวดหมู่: ดูดวง