5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการ “กินเจ”
ก่อนกินเจปีนี้ ทำความเข้าใจให้ดีก่อน
เทศกาลกินเจปี 2562 เริ่มวันที่ 29 กันยายน - 7 ตุลาคม นี้ ก่อนที่เราจะเริ่มต้นกินเจ เรามาทำความรู้จักการกินเจให้มากขึ้นผ่าน 5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการ “กินเจ” เพราะการกินเจไม่ใช่แค่เรางดการกินเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
>> เทศกาลกินเจ 2562 เตรียมตัวให้พร้อมกับเทศกาลกินเจ
กินเจ = แค่ไม่กินเนื้อสัตว์
การกินเจไม่ใช่การไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะยังต้องระมัดระวังไม่กินอาหารที่มีส่วนผสมของ/จากสัตว์ทุกชนิด เช่น น้ำปลา (ที่ใช้ปลาหมัก) กะปิ (มีส่วนผสมของเคย) ปูอัด (มีส่วนผสมของปลา) โยเกิร์ต (มีส่วนผสมของนมวัว) และอื่น ๆ ดังนั้นก่อนเลือกกินอะไรควรหันดูฉลากบรรจุภัณฑ์เพื่อเช็กส่วนผสมให้แน่ใจว่าไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ทุกครั้ง
>> คนกินเจ กินอาหารอะไรทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้บ้าง
กินเจ = กินแต่ผัก
การกินเจไม่ได้หมายความว่าเราจะกินแต่ผักอย่างเดียว เราสามารถกินอาหารประเภทอื่นได้ที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์ได้ทั้งหมด เช่น แป้ง น้ำตาล ผลไม้ ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ แต่เราไม่สามารถกินผักได้บางชนิด เช่น ผักมีกลิ่น 5 อย่าง คือ กระเทียม หอม (หัวหอม ต้นหอม หอมใหญ่) หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน) กุยช่าย และใบยาสูบ เพราะเป็นผักมีกลิ่น
>> กินเจ VS กินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร ?
กินเจ = ผอม หรือ อ้วน
ใครที่คิดจะกินเจเพื่อลดความอ้วน บอกเลยว่าคิดผิด เพราะจะอ้วนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอาหารที่เรากินว่ามีพลังงานมากน้อยแค่ไหน หากเราเลือกกินแต่ผัก เราอาจได้รับพลังงานน้อยกว่าคนที่กินแป้ง และน้ำตาลมากกว่า และทั้งหมดนี้คืออาหารที่คนกินเจสามารถกินได้
นอกจากนี้ ไม่ได้หมายความว่าการกินเจทำให้อ้วน เพราะมีแต่แป้ง และน้ำมันเช่นกัน ไม่ว่าเราจะกินเจหรือไม่ เราก็ควรเลือกกินอาหารที่หลากหลาย
>> กินเจอย่างไร ให้หุ่นลีนสวย ได้สัดส่วน
กินเจ = กินหอยนางรม ซอสหอยนางรมได้
มีเรื่องที่เล่าต่อกันมาว่า หอยนางรม เป็นสัตว์ที่ขึ้นมาให้ พระโพธิสัตว์กวนอิมกินเอง หรือไม่ก็ยกไปถึงตำนานพระถังซัมจั๋ง จึงทำให้การกินเจสามารถกินหอยนางรมได้ แต่อันที่จริงแล้วการกินเจ คือการกินเจคือการงดการเบียดเบียนสัตว์ทุกชนิด ดังนั้นไม่ว่าตะเป็นหอยชนิดใดก็ไม่ควรกินทั้งสิ้น
กินเจ = ขาดสารอาหาร
แม้ว่าการกินเจจะเป็นการงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะกินโปรตีนไม่เพียงพอจนเราขาดสารอาหาร เพราะยังมีอาหารประเภทโปรตีนหลายอย่างที่คนกินเจสามารถกินได้ เช่น โปรตีนเกษตร ถั่ว เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ฯลฯ หากสามารถรักษาสมดุลในการกินให้ครบ 5 หมู่ การกินเจก็จะไม่เป็นอุปสรรคที่ทำให้เราขาดสารอาหารได้แน่นอน
>> ผู้สูงวัยควร "กินเจ" อย่างไรให้ได้สุขภาพดี
คุณกำลังดู: 5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการ “กินเจ”
หมวดหมู่: สุขภาพ