5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ "ธงชาติไทย" ในวันธงชาติไทย 28 กันยายน ของทุกปี
ธงชาติไทย มนุษย์เริ่มใช้ธงครั้งแรกเมื่อไร และทราบหรือไม่ว่าธงนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของชาติต่างๆ แล้วก็ยังทำหน้าที่ต่อสู้ในเวทีการเมืองต่างๆ ด้วย เรามาค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ใน ธง กันค่ะ
วันธงชาติไทย ตรงกับวันที่ 28 กันยายน ของทุกปี โดยเป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงวันพระราชทานธงชาติไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานธงชาติไทยให้เป็นธงประจำชาติไทย เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 โดยธงชาติไทยมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 5 ส่วน ยาว 6 ส่วน มีแถบสีตามแนวตั้ง 3 สี เรียงจากบนลงล่าง ดังนี้
- สีแดง หมายถึง ชาติ
- ขาว หมายถึง ศาสนา
- น้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
ธงชาติไทยเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงเอกราช อธิปไตย และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของปวงชนชาวไทย
ทราบหรือไม่ว่า "ธงชาติไทย" นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของชาติต่างๆ แล้วก็ยังทำหน้าที่ต่อสู้ในเวทีการเมืองต่างๆ ด้วย เรามาค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ใน "ธง" กันค่ะ
ธงชาติผืนแรกของสยามประเทศ
ประเทศไทยเริ่มมี “ธงประจำชาติ” ในสมัยรัชกาล 4 ซึ่งตรงกับยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก และประเทศต่างๆ ในเอเชียก็เริ่มมีการใช้ “ธงประจำชาติ” เป็นสัญลักษณ์เหมือนประเทศในแถบตะวันตก และ “ธงช้างเผือก” ก็ได้กลายเป็น “ธงชาติสยาม” และได้ปรากฏสู่สายตาชาวโลกครั้งแรกใน พ.ศ.2400 พร้อมการปรากฏตัวของคณะราชทูตสยามชุดที่มีหม่อมราโชทัยเป็นล่าม เดินทางไปเฝ้าควีนวิคตอเรีย ที่อังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2410 ธงช้างเผือก ได้ถูกนำไปประดับในโรงนิทรรศการของสยาม ในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนานาชาติ ที่ประเทศฝรั่งเศส
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการเมืองระหว่างประเทศจนในที่สุดฝรั่งเศสยอมทำสัญญายกเมืองตราดคืนให้แก่สยามประเทศ เป็นที่มาของ “วันตราดรำลึก” ซึ่งตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี โดยชาวตราดจะปัก “ธงช้างเผือก” เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นด้วย
วันพระราชทานธงชาติไทย
วันพระราชทานธงชาติไทย โดยให้เริ่มในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นปีแรก เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทย แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และถือเป็นประเทศที่ 54 ของโลกที่มีวันธงชาติ โดยการกำหนดวันธงชาติของต่างประเทศ ล้วนอิงกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และการสร้างชาติของแต่ละประเทศ
5 เรื่องสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับธงชาติไทย
-
ครั้งแรกที่ธงชาติไทยถูกโบกสะบัดขึ้นสู่ยอดเสา
ธงไตรรงค์ ถูกประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2460 และใช้จนถึงในยุคสมัยปัจจุบัน
-
ความเปลี่ยนแปลงสู่ธงไตรรงค์ในยุคปัจจุบัน
ธงไตรรงค์หรือธงชาติไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถือป็นธงผืนแรกที่ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการทั่วประเทศ หลังจากมีการปรับเปลี่ยนมาแล้ว 6 ครั้ง ตั้งแต่ในปีพุทธศักราช 2460
-
ความหมายของสีของธงชาติไทย ที่หลอมรวมความเป็นชาติ
ริ้วแต่ล่ะสีบนผืนของธง "ขาว แดง น้ำเงิน" สะท้อนความหมายของความเป็นชาติไทย
- สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
- สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งธรรมะอันเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
- สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
-
ลักษณะของผืนธง
ธงชาติไทยจะเป็นขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีน้ำเงินขาบตรงกลางกว้าง 2 ส่วน
-
ครั้งแรกของการถือกำเนิด...วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day)
28 กันยายน ของทุกปีถือให้เป็น วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) โดยให้เริ่มในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นปีแรก และไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
คุณกำลังดู: 5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ "ธงชาติไทย" ในวันธงชาติไทย 28 กันยายน ของทุกปี
หมวดหมู่: วัยรุ่น