8 วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย “สำลักอาหาร-อาหารติดคอ” ที่ถูกต้อง
ถ้าเกิดเหตุไม่คาดคิด เราจะช่วยยังไง
ทำไม “ผู้สูงอายุ” เสี่ยง “อาหารติดคอ” มากกว่าวัยอื่น ๆ ?
จริงๆ แล้วปัญหาการสำลักอาหาร
หรืออาหารติดคอสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย
แต่ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอาจเป็นเด็ก และผู้สูงอายุ
เด็กเล็กอาจจะเป็นเพราะขนาดของอาหารใหญ่เกินไปแล้วเผลอกลืนลงคอจนทำให้สำลัก
หรือติดเล่นจนทำให้กลืนอาหารผิดจังหวะ แต่สำหรับผู้ใหญ่วัยสูงอายุ
ก็มีความเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร หรืออาหารติดคอ
เพราะเป็นวัยที่น้ำลายในปากน้อยลง
ทำให้อาหารอาจติดคอได้ง่ายเวลากลืนนั่นเอง
วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย สำลักอาหาร-อาหารติดคอ
- หากผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการทรมาน
ไม่สามารถส่งเสียงได้ ลองทุบหลังตรงระหว่างไหล่ทั้งสองข้างก่อน 5
ครั้ง ด้วยแรงพอประมาณ หากอาหารยังลงไปไม่ลึกมาก
อาจจะออกมาทางปากได้
- หากอาหารยังไม่ออกมา
ให้เข้าทางด้านหลังของผู้ป่วย โอบผู้ป่วยจากทางด้านหลัง
- เอามือประสานกัน กดไปที่หน้าอก
ยกผู้ป่วยเล็กน้อยแล้วเขย่าตัวเพื่อให้ผู้ป่วยสำลักอาหารออกมา
- ทั้งหมดนี้ควรรีบทำภายใน 3-5
นาทีที่แสดงอาการ เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้
- หากผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่ได้
พูดไม่ออก ให้จับผู้ป่วยนอนหงายบนพื้น เปิดทางเดินหายใจ ยกปลายคางขึ้น
และ อีกมือหนึ่งกดหน้าผากลง เป่าปากเพื่อช่วยในการหายใจ
- ถ้าลองเป่าปากแล้วหน้าอกไม่ยกขึ้น
ให้ใช้มือกดที่ท้อง ในท่านอนหงาย 6-10 ครั้ง
-
ถ้าเป็นเด็กเล็กให้ใช้วิธีตบระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง สลับกับกดหน้าอก
และคอยตรวจเช็กช่องปาก
ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมให้ใช้นิ้วเกี่ยวออกมา
- หากผู้ป่วยยังคงรู้สึกตัว พูดได้ และหายใจได้ตามปกติ แต่ยังรู้สึกว่ามีอาหารติดคออยู่ ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
วิธีป้องกันการสำลักอาหาร-อาหารติดคอ
- นั่งตัวตรงขณะกินอาหาร
และหลังกินเสร็จห้ามนอนทันที
- กินอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด
- อย่ากินอาหารขณะเหนื่อยหรือรีบเร่ง
ควรพักก่อนสัก 30 นาที
- อาหารที่กินควรแบ่งเป็นขนาดชิ้นเล็กๆ
หรือพอดีคำ ไม่ใหญ่เกินไป
- ลดสิ่งรบกวนขณะกินอาหาร เช่น การพูดคุย
การเดิน
- กินอาหารคำละ 1 ชนิด
อาหารที่มีเนื้อหลากหลายชนิดใน 1 คำจะสำลักง่าย
- ควรกินอาหารสลับกัน เช่น
อาหารที่บดเคี้ยว สลับกับอาหารเหลว
- อย่ากินอาหารแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุปช่วยให้เนื้ออาหารชุ่มและนุ่มขึ้น
คุณกำลังดู: 8 วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย “สำลักอาหาร-อาหารติดคอ” ที่ถูกต้อง
หมวดหมู่: สุขภาพ
แชร์ข่าว