9 วิธีรับมือเมื่อโดนบูลลี่ หยุดวงจรบูลลี่ ผ่านโครงการ “เท่ได้..ต้องไม่บูลลี่”
ปัญหาการกลั่นแกล้งเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมทั่วโลก ซึ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า ประเทศไทยติดอันดับการบูลลี่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น และส่วนใหญ่การบูลลี่เกิดขึ้นในรั้วโรงเรียน ตามมาด้วยการบูลลี่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งทำให้ประเด็นการระราน กลั่นแกล้ง จนถึงทำให้อับอายถูกแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้ Cybersmile Foundation องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อต่อต้าน Cyberbullying กำหนดให้วันศุกร์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายนเป็น “วันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์” (Stop Cyberbullying Day) เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงความรุนแรง ของการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ และร่วมหยุดพฤติกรรมดังกล่าว
ปัญหาจากการบูลลี่ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากวัยเด็ก โครงการไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี พื้นที่สนับสนุนและจุดประกายเยาวชน เพื่อสร้างสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน จึงต้องการเดินหน้าส่งเสริมทักษะเยาวชนไทยในทุกมิติ ให้กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม รวมถึงเข้าใจและยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น พร้อมแนะนำ 9 วิธีรับมือเมื่อโดนบูลลี่ ประกอบด้วย
ทำความเข้าใจว่าการกลั่นแกล้งคืออะไร
สิ่งสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจปัญหามากขึ้น ต้องดูที่จุดเริ่มต้นว่าการกลั่นแกล้ง คือนิสัยที่เลียนแบบมาจากการเห็นหรือได้ยิน เช่น การพบเจอปัญหาคนในครอบครัวทะเลาะกัน หรือพบเจอคนในชุมชนกันด้วยคำพูดหยาบคายทุกวัน จนทำให้เข้าใจผิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ
มองหาวิธีจัดการกับความเครียด
ควรลองมองหากิจกรรมหรือสิ่งใหม่ ๆ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง หรือออกไปเที่ยว เพื่อจัดการกับความเครียดของตนเองทำเพื่อจัดการกับความเครียดของตนเอง และทำให้สภาพจิตใจไม่หมกมุ่นต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
กล้าที่จะพูดหรือแสดงความไม่พอใจต่อผู้กระทำ
ควรกล้าที่จะแสดงออก ให้ผู้กระทำรู้สึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเรากำลังไม่พอใจ หรือเสียใจ เพื่อให้ผู้กระทำรับรู้ผลกระทบที่จะตามมา
ดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเราเองให้ดี
เมื่อถูกกลั่นแกล้งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย จนทำให้เกิดการอดอาหาร เครียด นอนไม่หลับ ซึ่งหากการกลั่นแกล้งจนกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาได้อย่างดีและตรงจุด
บอกเล่าการโดนแกล้งกับพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือครู
ต้องไม่เพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ควรบอกเล่าปัญหาของตนกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูที่ โรงเรียน เพราะปัญหาการถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียนต้องได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนเพื่อหาวิธีการรับมือ และหาวิธีการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน
อย่ามองว่าตัวเองเป็นปัญหา
การมีอัตลักษณ์ที่ต่างจากผู้อื่นไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเพราะทัศนคติของผู้กระทำที่เป็นปัญหา ให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิด และไม่ใช่ปัญหาของเรา แต่เป็นปัญหาของเขาที่ต้องแก้
การกลั่นแกล้งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
ในบางสถานการณ์การกลั่นแกล้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากว่าผู้ถูกกระทำ ถูกกลั่นแกล้งทางร่างกายหรือทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำพูดด่าทอเชื้อชาติ หรือเพศสภาพ ใช้กำลัง และความรุนแรงรังแกผู้อื่น หรือแม้แต่การแชร์เรื่องส่วนตัวของผู้อื่นในอินเทอร์เน็ต ล้วนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น หากว่ามีการพบเจอการกลั่นแกล้งที่รุนแรงสามารถแจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายได้
อย่าแยกตัวออกมาอยู่คนเดียว
การอยู่คนเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือทำให้เราจัดการกับการกลั่นแกล้งได้ อีกทั้งยังสามารถทำให้สถานการณ์แย่ลงไปเรื่อย ๆ การอยู่คนเดียวเงียบ ๆ จะทำให้ลดความมั่นใจ และความภาคภูมิใจของผู้ถูกกระทำ
มองหาบุคคลต้นแบบที่ดี
การกลั่นแกล้ง ทำให้ผู้ถูกกระทำสับสนและไม่ชอบในตัวเอง หากผู้ถูกกระทำมีบุคคลต้นแบบที่ดี จะสามารถทำให้เห็นได้ว่า มีอีกหลายคนที่เคยพบเจอกับปัญหาเดียวกัน แต่พวกเขาก็สามารถก้าวข้าม ผ่านการโดนกลั่นแกล้งจนสามารถประสบความสำเร็จได้ การมีบุคคลต้นแบบที่ดีนั้น จะทำให้ผู้ถูกกระทำ มองเห็นคุณค่าของตัวเองและรักตัวเองมากขึ้น
เพื่อให้เยาวชนตระหนักและเข้าใจถึงภัยร้ายของการบูลลี่มากขึ้น จึงเป็นที่มาของโครงการ “เท่อย่างไทย โดย ไฟ-ฟ้า ทีทีบี” ที่สานต่อการประกวดโครงงานในหัวข้อ “เท่ได้…ต้องไม่บูลลี่” เพราะต้องการให้การบูลลี่ทั้งในรั้วโรงเรียน ในสังคมไทย และบนโลกออนไลน์ ลดน้อยลงให้ได้มากที่สุด ซึ่งการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักถึงความรุนแรง และร่วมหยุดพฤติกรรมผ่านเยาวชนช่วงวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา
คุณกำลังดู: 9 วิธีรับมือเมื่อโดนบูลลี่ หยุดวงจรบูลลี่ ผ่านโครงการ “เท่ได้..ต้องไม่บูลลี่”
หมวดหมู่: วัยรุ่น