จดเก็บไว้เลย! เปรียบเทียบ ภาษาเขียน กับ ภาษาเขียนราชการ เขียนต่างกันมากมั้ย
ภาษาเขียนทั่วไป เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลทั่วไปในชีวิตประจำวัน มีลักษณะเป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ สามารถใช้คำพูดหรือสำนวนภาษาที่ไม่เป็นทางการได้
ภาษาเขียนราชการ เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างหน่วยงานราชการกับหน่วยงานราชการหรือกับบุคคลทั่วไป มีลักษณะเป็นภาษาที่เป็นทางการ ต้องใช้คำพูดหรือสำนวนภาษาที่เป็นทางการ
ครั้งนี้เราก็ได้หยิบยก ภาษาเขียนราชการ ที่เรามักใช้งานบ่อย เมื่อต้องติดต่อราชการ มาให้เพื่อนๆ ได้จดเอาไว้ไปใช้กัน มาดูกันหน่อยว่าเพื่อนๆ ใช้กันถูกรึเปล่า
จดเก็บไว้เลย! เปรียบเทียบ ภาษาเขียน กับ ภาษาเขียนราชการ เขียนต่างกันมากมั้ย
- ใคร ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า ผู้ใด
- ที่ไหน ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า ที่ใด
- แบบไหน ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า แบบใด
- อะไร ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า สิ่งใด อันใด
- ได้ไหม ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า ได้หรือไม่
- เมื่อไหร่ ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า เมื่อใด
- อย่างไร ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า เช่นใด ประการใด
- ทำไม ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า เพราะอะไร เหตุใด
- ขอเชิญมา ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า ขอเชิญไป
- ยังไม่ได้ทำเลย ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด
- เสร็จแล้ว ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า แล้วเสร็จ เรียบร้อยแล้ว
- ขอเตือนว่า ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า ขอเรียนให้ทราบว่า
- ปัญญาทึบ, โง่ ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า ขาดความรู้ความเข้าใจ
- ใช้ไม่ได้, เลว ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า ยังบกพร่อง ยังต้องปรับปรุง
- ขอให้ดำเนินการ ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า โปรดพิจารณาดำเนินการ
- โปรดอนุมัติ ในภาษาราชการต้องใช้คำว่า โปรดพิจารณาอนุมัติ
คุณกำลังดู: จดเก็บไว้เลย! เปรียบเทียบ ภาษาเขียน กับ ภาษาเขียนราชการ เขียนต่างกันมากมั้ย
หมวดหมู่: วัยรุ่น
แชร์ข่าว