ชอบใส่ส้นสูง ควรรู้จัก ‘ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง’ เป็นหนักถึงขั้นต้องผ่าตัดแต่งกระดูก

ชอบใส่ส้นสูง ควรรู้จัก 'ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง' เป็นหนักถึงขั้นต้องผ่าตัดแต่งกระดูก รองเท้า นับเป็นอีกหนึ่งไอเทมคู่ใจที่ต้องใส่ทุกวัน หลายๆ คนจึงต้องเลือกทั้งรูปแบบ และขนาดให้เหมาะสม และสวมใส่สบาย ด...

ชอบใส่ส้นสูง ควรรู้จัก ‘ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง’ เป็นหนักถึงขั้นต้องผ่าตัดแต่งกระดูก

ชอบใส่ส้นสูง ควรรู้จัก ‘ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง’ เป็นหนักถึงขั้นต้องผ่าตัดแต่งกระดูก

รองเท้า นับเป็นอีกหนึ่งไอเทมคู่ใจที่ต้องใส่ทุกวัน หลายๆ คนจึงต้องเลือกทั้งรูปแบบ และขนาดให้เหมาะสม และสวมใส่สบาย ด้วยกระทบกับคุณภาพชีวิตประจำวัน ทว่ารองเท้าเองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เสริมบุคลิกภาพตามโอกาส และเทศกาลต่างๆ

โดยเฉพาะเหล่าหญิงสาวที่อย่างน้อยๆ ก็จะต้องมี “รองเท้าคู่ใจ” ที่เสริมบุคลิกภาพให้สวยและดูดีขึ้น ซึ่งหลายๆ คนก็ไม่พ้น “รองเท้าส้นสูง”

ทว่าอย่างไรก็ตาม ควรจะต้องรู้จัก ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Bunion) หรือ (Hallux Valgus) ที่มักจะเกิดกับคนที่สวมส้นสูงบ่อยๆ

โดยสำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่บทความเรื่อง “สวยบาดเจ็บ”เสี่ยงภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง จากการใส่ส้นสูง อ้างอิงข้อมูลจาก โรงพยาบาลเลิดสิน

กรมการแพทย์ เตือน ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Bunion) หรือ (Hallux Valgus) คือ ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงชิดเข้าหานิ้วชี้ กระดูกหัวแม่เท้าด้านในจึงปูดบวมขึ้น ต่อมาข้อนิ้วหัวแม่เท้าจะมีปุ่มลักษณะกลมนูนออกมา ทางด้านข้างหัวแม่เท้า ซึ่งปุ่มที่นูนออกมานี้จะทำให้มีอาการปวด ใส่รองเท้าลำบาก มักจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูง และพบมากเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนมากจะพบที่เท้าทั้ง 2 ข้างมากกว่าพบที่เท้าข้างเดียว

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีรายงานข่าวในสื่อออนไลน์ พบว่ามี Hallux Valgus หรือภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง คือสภาวะหัวแม่เท้าผิดรูปที่เกิดจากกระดูกปูดออกมาจากบริเวณข้อต่อของโคนนิ้วหัวแม่เท้า เนื่องจากนิ้วหัวแม่เท้าถูกเบียดให้เอนไปชิดกับนิ้วชี้ทำให้ข้อต่อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้ายื่นออกมา โดยบริเวณที่มีอาการอาจมีลักษณะบวมแดงและทำให้รู้สึกเจ็บปวดทางด้านข้างหัวแม่เท้า ใส่รองเท้าลำบาก มักจะเกิดขึ้นจากการใส่รองเท้าส้นสูง ปลายรองเท้าแคบ บางท่านอาจเคยสังเกตเห็นความผิดปกติบริเวณเท้า และบางครั้งอาจมีสีแดงระเรื่อบริเวณกระดูกที่ปูดนูนขึ้นมาอีกด้วย

นายแพทย์อดิศักดิ์ งามขจรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยกระตุ้นการเกิดภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เกิดจากการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ เช่น รองเท้าส้นสูง รองเท้าหัวแหลม รองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป การรักษามีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การรักษาเบื้องต้น ตั้งแต่พบอาการเริ่มแรก ไปจนถึงการผ่าตัดในผู้ที่มีอาการรุนแรง

นายแพทย์พิสิฏฐ์ บุญมา ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางข้อเท้าและเท้า กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาเบื้องต้น เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม ใส่รองเท้าขนาดพอดี ไม่คับ หัวรองเท้ากว้าง (wide toe box) เมื่อสวมใส่แล้วสามารถขยับนิ้วเท้าได้ไม่บีบรัดนิ้วเท้า พื้นรองเท้านุ่ม ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่มีหัวส่วนปลายที่แหลมและส้นรองเท้าสูงมากกว่า 2นิ้ว

การรักษาด้วยการผ่าตัดขึ้นกับความรุนแรงของโรค มีทั้งการผ่าตัดแต่งกระดูก (osteotomy)การผ่าตัดเชื่อมกระดูกเท้า(Arthrodesis) มักแนะนำในผู้ที่มีนิ้วหัวแม่เท้าผิดรูปอย่างรุนแรง โดยหลังการผ่าตัดการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่เท้าจะทำได้น้อยลง และไม่สามารถใส่รองเท้าส้นสูงได้

คุณกำลังดู: ชอบใส่ส้นสูง ควรรู้จัก ‘ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง’ เป็นหนักถึงขั้นต้องผ่าตัดแต่งกระดูก

หมวดหมู่: สุขภาพ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด