“กาแฟ” ตัวการทำกระดูกพรุน?

จริงหรือไม่? ดื่มกาแฟแล้วทำให้ร่างกายลดการดูดซึมแคลเซียม เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน

“กาแฟ” ตัวการทำกระดูกพรุน?

ที่มา คอลัมน์ เครื่องแนม มติชนรายวัน
เผยแพร่ 20 มี.ค. 59

 

สังเกตมั้ยว่าหลังจากดื่มกาแฟแล้วจะปวดปัสสาวะ นั่นเป็นเพราะฤทธิ์ของกาเฟอีน

ประเด็นที่เคยเมาธ์กันสนั่นโซเชียล และยังคงมีประปรายอยู่เป็นประจำ คือข่าวลือที่ว่า ดื่มกาแฟแล้วทำให้ร่างกายลดการดูดซึมแคลเซียม เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน

เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ ภญ.โพยม วงศ์ภูวรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อธิบายเรื่องนี้อย่างเข้าใจง่ายสรุปว่า กาแฟอาจลดการดูดซึมแคลเซียมได้ แต่ไม่มากแค่ 2-3 มก.ต่อถ้วย

แคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีในภาวะที่เป็นกรด ดังนั้น ยาที่ทำให้ลำไส้มีความเป็นด่าง เช่น ยาลดกรด ยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น ไซเมทิดีน รานิทิดีน ฟาโมทิดีน และโอเมพราโซล ต่างหากที่จะลดการดูดซึมแคลเซียม

สำหรับกาแฟ บางงานวิจัยพบว่าจะมีการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นหลังจากดื่มกาแฟไม่เกิน 3 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตามการสูญเสียแคลเซียมในร่างกายจากการดื่มกาแฟจะมีผลในผู้สูงอายุที่ได้รับแคลเซียมไม่ค่อยเพียงพอ แต่สำหรับคนวัยหนุ่มสาวที่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอจะไม่ค่อยมีผลมากนัก

“แต่…ก็ไม่ควรดื่มเกินวันละ 3-4 แก้ว!”

คุณกำลังดู: “กาแฟ” ตัวการทำกระดูกพรุน?

หมวดหมู่: สุขภาพ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด