คำมูล คืออะไร หน้าที่ของคำมูล ลักษณะและหน้าที่ของ คำมูล คืออะไร
คำมูล คือ หน่วยศัพท์ที่เล็กที่สุดในภาษา เป็นคำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่สามารถแยกศัพท์ย่อยออกได้ เป็นคำที่มีในภาษามาแต่ดั้งเดิม อาจเป็นคำไทยแท้ๆ หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่ตั้งขึ้นใหม่ในภาษาไทยเฉพาะคำ คำเดียว ไม่ได้เกิดขึ้นจากการนำคำที่มีอยู่แล้วมาสร้างคำใหม่ขึ้น เป็นคำที่ยังไม่ได้นำไปประกอบกับคำอื่น อาจเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์และอาจเป็นคำที่มีความหมายหลายอย่างก็ได้
ลักษณะของคำมูล
- คำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง
- คำที่มีมาแต่เดิมในภาษา
- อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์
- เป็นคำชนิดต่าง ๆ ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน คำอุทาน
- เป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้
หน้าที่ของคำมูล
คำมูลอาจทำหน้าที่เป็นคำชนิดต่าง ๆ ได้ อาจเป็น นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน และอุทาน
คำมูลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คำมูลพยางค์เดียว คือ คำที่เปล่งเสียงออกมาเพียงครั้งเดียวและมีความหมายชัดเจนอยู่ในตัว คำมูลพยางค์เดียวบางคำมีความหมายเดียว และบางคำมีหลายความหมาย
- คำในภาษาไทย เช่น คน ไก่ ไข่ ฉัน เด็ก
- คำในภาษาจีน เช่น เตี่ย ก๋ง เจ๊ ก๊ก
- คำจากภาษาอังกฤษ เช่น เมตร เชิ้ต โค้ก เค้ก
- คำจากภาษาเขมร เช่น แข ขาล เฌอ จาร กราน
คำมูลหลายพยางค์ คือ คำที่ออกเสียงตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป มีความหมายชัดเจน สมบูรณ์ในตัวเอง เป็นคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาอื่น อาจมีความหมายเดียวหรือหลายความหมาย
- คำในภาษาไทยเช่น ขนม กระถาง ประตู มะละกอ
- คำที่มาจากภาษาจีน เช่น กุยเฮง ซินแส ตงฉิน
- คำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น โปรแกรม เอเย่นต์ ออฟฟิศ
- คำที่มาจากภาษาเขมร เช่น ตังหวาย เขนย ฉนำ เสร็จ
- คำที่มาจากภาษาชวา เช่น มลายู เช่น บุหรง บุหงา บุหลัน วิรังรอง สะตาหมัน
คุณกำลังดู: คำมูล คืออะไร หน้าที่ของคำมูล ลักษณะและหน้าที่ของ คำมูล คืออะไร
หมวดหมู่: วัยรุ่น