ขุนนาง ไพร่ ทาส ระบบชนชั้นสมัยอยุธยา ที่ปรากฏใน “พรหมลิขิต”

พี่หมื่น การะเกด ยายกุย แม่กลิ่น อึ่ง และ เพิ่ม ตัวละครใน “พรหมลิขิต” แต่ละคนอยู่ในชนชั้นอะไรกันบ้าง

ขุนนาง ไพร่ ทาส ระบบชนชั้นสมัยอยุธยา ที่ปรากฏใน “พรหมลิขิต”

พรหมลิขิต กับระบบชนชั้นของคนในสมัยอยุธยา พี่หมื่น การะเกด ยายกุย แม่กลิ่น อึ่ง และ เพิ่ม ตัวละครในละครพรหมลิขิตแต่ละคนมีสถานะเป็นอะไรกันบ้าง

ชนชั้นของคนในสมัยอยุธยา

สังคมอยุธยามีการแบ่งเป็นชนชั้นต่างๆ แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 

  1. ชนชั้นสูง หรือมูลนาย

    (บ้านของออกญาวิสูตรสาคร กับแม่นายการะเกด)

ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในฐานะพระประมุข ระดับรองลงมาคือ พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าเมืองและขุนนาง ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรสามัญชนทำหน้าที่ควบคุมชนชั้นใต้ปกครอง นั่นก็คือ ไพร่และทาส

  1. ไพร่ และทาส

  • ไพร่ (ยายกุย และแม่กลิ่น) คือพลเมืองสามัญ เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม ซึ่งกฎหมายกำหนด ให้ไพร่ต้องสังกัดมูลนาย เป็นระบบควบคุมกำลังคน ของทางราชการ ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานไปทำราชการให้หลวงปีละ 6 เดือน แต่หากไพร่คนใดที่ไม่ต้องการ จะถูกเกณฑ์แรงงาน จะต้องจ่ายเงินหรือสิ่งของเพื่อทดแทนแรงงาน เรียกว่าส่วย แรงงานไพร่ จะไม่มีเงินเดือนเป็นค่าตอบแทน แต่สิ่งที่ไพร่จะได้รับคือการปกป้องคุ้มครองจากมูลนายที่ตนสังกัด
  • ทาส (อึ่ง เพิ่ม ผิน แย้ม) คือแรงงานของมูลนายตลอดชีวิต อันเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านสงครามด้านเศรษฐกิจ การสืบสายเลือดทาสนั้นจะถูกเลี้ยงดูโดยมูลนายไปตลอดชีวิต

พรหมลิขิต

พรหมลิขิต

บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยในสมัยอยุธยา

แบ่งออกได้เป็น 8 ระดับ คือ

  • เจ้าพระยา
  • พระยา
  • พระ
  • หลวง
  • ขุน
  • หมื่น
  • พัน
  • นาย หรือ หมู

ไพร่ หรือไพร่ฟ้า

คนทั่วไปในสังคมอยุธยาเรียกว่า ไพร่ฟ้า หรือ ไพร่ ซึ่งในสมัยสุโขทัยดูเหมือนจะหมายถึงพลเมืองทั่วไป แต่ในสมัยอยุธยาคือสามัญชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในฐานะทาส มีอิสระในการประกอบอาชีพ การตั้งบ้านเรือน มีครอบครัว มีศักดินา 10-25 ไร่ และต้องสังกัดมูลนาย จะโยกย้ายสังกัดไม่ได้ ต้องทำงานรับใช้ หรือส่งส่วยให้แก่ชนชั้นปกครอง หากไม่อยากรับราชการก็ต้องจ่าย ค่าราชการ

ไพร่ไม่มีเงินเดือน ถ้ามีความดีความชอบ สามารถปรับเป็นขุนนางได้ (ต่างจากชนชั้นในอินเดีย)

ประเภทของไพร่

ไพร่ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ 3 ประเภท

  1. ไพร่หลวง รับราชการของพระมหากษัตริย์ รับราชการตั้งแต่อายุ 20 ปี จนถึง 60 จึงปลดชรา สังกัดกรมใดกรมหนึ่ง หน้าที่คือ ฝึกการรบพุง เพื่อใช้เป็นทหารในยามมีศึกสงคราม ไพร่หลวงที่สังกัดกรมทหารและพลเรือนจึงต้องฝึกอาวุธทั้งหมด แต่ในยามสงบก็รับราชการอย่างอื่นเช่น การก่อสร้างสถานที่สาธารณะ
  2. ไพร่สม สมัยก่อนเรียกไพร่สมกำลัง คือการเกณฑ์ผู้ชายอายุ 18 ปี เข้ามาเป็นไพร่สม คือการสะสมกำลังเพื่อใช้ในราชการต่อไป มีมูลนายเป็นผู้รับผิดชอบต่อองค์พระมหากษัตริย์ในการสะสมกำลังและฝึกหัดการงาน เช่น อาวุธเพื่อจะได้เข้ารับราชการ เมื่อถึงเวลาภายในสองปี คือ 18-20 เมื่ออายุครบก็ปลดจากไพร่สมไปเป็นไพร่หลวง ทุกคนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องมีสังกัดมูลนาย (ขุนนาง) ต้องทำงานตามกำหนดเวลาในหน่วยงานหรือที่ดินที่เราสังกัด (ยายกุยและแม่กลิ่น คือ ไพร่สม สังกัดออกญาวิสูตรสาคร)
  3. ไพร่ส่วย พวกที่ประสบความยากลำบากในการเดินทาง เพราะตั้งภูมิลำเนาอยู่ห่างไกลจากสถานที่รับราชการ จึงต้องจัดหาสิ่งของ พืชไร่ทางการเกษตร ที่ต้องการใช้ในราชการส่งมาทดแทนแก่ทางราชการ

พรหมลิขิต

ประเภทของทาส

ทาส แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภท

  1. ทาสเชลย

ทาสเชลย มาจากผลของสงคราม เป็นแรงงานราคาถูก เลี้ยงดูให้ประทังชีวิต สงครามในสมัยก่อนมิใช่แสวงหาอาณาเขตแต่เป็นแสวงหาแรงงานคน ทาสเชลยไม่มีวันพ้นจากความเป็นทาส แต่เมื่อ

เป็นทาสหลวงก็จะได้รับความคุ้มครอง

  1. ทาสสินไถ่

ทาสสินไถ่ เป็นทาสที่มีมากที่สุดในบรรดาทาสทั้งหมด โดยเงื่อนไขของการเป็นทาสชนิดนี้คือ การขายตัวเป็นทาส เช่น พ่อแม่ขายบุตร สามีขายภรรยา หรือขายตัวเอง ทาสชนิดนี้จึงยากจน ความเป็นทาสทุกคนก็ขึ้นทะเบียนสังกัดกรมกองข้าราชการ และก็ต้องเข้าเวรทำราชการตามกำหนด ทำงานให้แก่ราชการหนึ่งเดือน และนายเวรหนึ่งเดือนสลับกันไปไม่มีขาด นับว่าเป็นภาระที่หนักมาก โดยนายเงินสามารถเสียเงินค่าราชการหรือหาคนอื่นไปเข้าเวรแทน

ชาวสยามในสมัยอยุธยา เปลี่ยนชนชั้นฐานะกันได้ 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสังคมในอยุธยาจะมีชนชั้นสูง และชนชั้นต่ำ ซึ่งมีฐานะตลอดจนสิทธิและหน้าที่แตกต่างก็ดี ชนชั้นเหล่านั้นก็เป็นชนชั้นที่ไม่มีเสถียรภาพหรือความถาวรแต่อย่างใด ถึงแม้คนไทยรับเอาวัฒนธรรมต่างๆ ของอินเดียมามากมาย แต่ไม่เคยรับเกี่ยวกับวรรณะ ชนชั้นต่างๆ จึงไม่ได้แยกด้วยกำเนิด และด้วยเหตุนี้จึงมิได้สืบต่อกันด้วยความถาวร ผู้ที่เกิดมาในตระกูลวงศ์ถึงแม้ว่าได้รับการยกย่อง แต่ความสูงถูกลดลงมาทุกชั่วคนและละลายหายไปจนหมดสิ้น

เมื่อถึงชั่วคนที่ 5 ความเป็นขุนนางก็มิได้ตกทอดลงไปถึงลูกหลานด้วยวิธีการสืบตระกูลอย่างที่มีในประเทศอื่นๆ และความเป็นขุนนางก็อาจถูกถอดจากพระมหากษัตริย์ได้ สมณะก็เป็นชนชั้นหนึ่งก็ได้

ส่วนทาสเป็นชนชั้นซึ่งแยกออกไปจากผู้ที่เป็นไทแต่ตัวเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะทาสทุกคนมีค่าตัวกำหนดไว้แน่นอน อาจไถ่ถอนตัวเองออกจากความเป็นทาสเมื่อไหร่ก็ได้ ที่สำคัญที่สุดคนทุกคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นเจ้า ขุนนาง ไพร่ย่อมอยู่ในฐานะข้าแผ่นดินเสมอกันหมด คนทุกคนในสังคมอยุธยาอยู่อย่างมีฐานะเท่าเทียมกัน ภายใต้พระมหากษัตริย์ ชนชั้นสูงสุดในสมัยอยุธยานั้นได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา

คุณกำลังดู: ขุนนาง ไพร่ ทาส ระบบชนชั้นสมัยอยุธยา ที่ปรากฏใน “พรหมลิขิต”

หมวดหมู่: หนัง-ละคร

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด