“กระ” เกิดจากอะไร? อันตรายต่อร่างกายหรือไม่?

ใครๆ ก็ไม่อยากให้ใบหน้า และผิวพรรณมีรอยด่างดำใช่ไหมล่ะ

“กระ” เกิดจากอะไร? อันตรายต่อร่างกายหรือไม่?

นอกจากไฝ และขี้แมลงวันแล้ว เรายังจุดด่างดำ ออกสีน้ำตาล ที่ทำให้ผิวหน้า ที่ผิวหนังตามร่างกายของเราดูไม่สวยใสเรียบเนียน หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่ามีรอยตำหนิ แต่กระบางๆ บนใบหน้าของบางคนกลับมาดูเซ็กซี่ และเป็นธรรมชาติ อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ

แต่ที่น่าคิดมากกว่าเรื่องความสวยความงาม น่าจะเป็นเรื่องของอันตรายที่อาจมาจากกระมากกว่า Sanook! Health จึงนำข้อมูลจากรายการ Did You Know? คุณหรือไม่? มาฝากกันค่ะ


กระ คือจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ที่พบได้บนผิวหนัง ทั้งบนใบหน้า หรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และทุกเชื้อชาติ

กระ เกิดจากการที่เม็ดสีเมลานินทำงานผิดปกติ จนำให้ผิวบริเวณนั้นๆ มีสีเข้มขึ้น นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า กระ เกิดจากฮอร์โมนเพศ พันธุกรรม และแสงแดด

 

ใครเสี่ยงเป็น “กระ” มากกว่ากัน?

ส่วนใหญ่เราจะพบผู้หญิง ที่เป็นกระมากกว่าผู้ชาย หรือราวร้อยละ 80 เป็นเพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศหญิงสูงขึ้นขณะตั้งครรภ์ หรือขณะกินยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจน หรือโพรเจสเทอโรน จะทำให้เซลล์ไขมันใต้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง

สำหรับพันธุกรรมนั้น ถ้าคนในครอบครัวของเรามีกระ โอกาสที่เราจะมีกระก็ย่อมสูงกว่าคนทั่วไป และเราจะพบกระมากในชาวยุโรปมากกว่าชนชาติอื่น

สำหรับแสงแดด นอกจากจะทำให้เกิดกระได้แล้ว ยังเป็นตัวกระตุ้นให้กระมีขนาดใหญ่ และมีสีคล้ำขึ้นด้วย โดยรังสียูวีจากแสงแดดจะไปกระตุ้นอนุมูลอิสระ ที่ทำหน้าที่กระตุ้นเมลาโนไซท์ให้สร้างเมลานินเพิ่มขึ้น

และจากปัจจัยที่ว่ามานี่เอง ทำให้เราไม่สามารถรักษากระให้หายขาดได้ 100%  ทำได้แต่เพียงทำให้จางลงด้วยวิธีทางการแพทย์เท่านั้น

 

กระ เป็นอันตรายหรือไม่?

ส่วนใหญ่แล้ว กระจะไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกายในระยะยาว แต่ถ้าสังเกจเห็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระ โดยเฉพาะกระที่เกิดขึ้นบริเวณไหล่ และช่วงอก มีกระเกิดขึ้นใหม่มากมายอย่างกะทันหัน หากเป็นกระเนื้อที่มีคล้ำมาก จะแยกอาการยากจากมะเร็งผิวหนัง ดังนั้นเราควรปรึกษาแพทย์ดีที่สุด

หากใครมีกระเนื้อ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ (อ่านต่อ >> กระเนื้อ เสี่ยงเป็นมะเร็งหรือไม่?)

คุณกำลังดู: “กระ” เกิดจากอะไร? อันตรายต่อร่างกายหรือไม่?

หมวดหมู่: สุขภาพ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด