มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566

มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566

วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลคัดเลือกจากผลงานของคณาจารย์ นักวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการ และประชาชน โดยผู้ได้รับคัดเลือกจะเข้ารับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดลปีการศึกษา 2566 จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 136 ปี ซึ่งได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องไม่เพียงจะทำหน้าที่ด้านการศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีพันธกิจสำคัญในการต่อยอดการศึกษาและการวิจัยไปสู่ผลสำเร็จใน Real World Impact ด้วยการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม (Holistic Well Being) ในระดับโลก โดยนำความเชี่ยวชาญสหสาขาวิชา มาเป็นกลไกในการเชื่อมโยงเพื่อมุ่งผลประโยชน์ต่อสังคม ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งเป็นปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า ‘ประโยชน์ที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่การเรียนรู้เท่านั้น แต่อยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับมวลมนุษยชาติได้อย่างไร’ ดังนั้น บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นส่วนสำคัญและมีค่าที่สุดที่จะสานต่อพลังและผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

s__9683557

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่มีความวิริยะอุตสาหะและปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพจนมีผลงานดีเด่นในสาขาต่างๆ ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และมีการพิจารณามอบรางวัลมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปีการศึกษา 2566 มีผู้ได้รับรางวัลประเภทดีเด่น เฉพาะทางสาขาต่างๆ จำนวน 9 ราย จาก 4 สาขา ได้แก่ สาขาการวิจัย สาขาการแต่งตำรา สาขาการบริการ และสาขาความเป็นครู ดังนี้

1. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย เป็นรางวัลที่มหาวิทยาลัยมหิดลมอบให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่มีความคิดริเริ่มในการวิจัย เพื่อสนองความต้องการ แก้ปัญหา พัฒนา หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้แก่สังคม โดยเป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ในปีนี้ มีผู้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี ธิติธัญญานนท์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยเรื่อง “Empowering the Fight Against SARS-CoV-2: Exploring Herb Antiviral Activities and Addressing Vaccine Limitations Through Robust Antiviral Assays” อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ผู้ปรับปรุงห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (BSL3) ของภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับงานวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ โดยช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้นำความเชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา และศักยภาพของห้อง BSL3 ในการร่วมหาวิธีควบคุมโรค พัฒนาแพลตฟอร์มการตรวจคัดกรองยาต้านเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ทดสอบสมุนไพรกว่า 100 ชนิด พบว่าสารสกัดจากกระชายและฟ้าทลายโจร มีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งนำไปสู่การตีพิมพ์งานวิจัยที่มีการนำผลการศึกษาไปใช้อ้างอิง ในการอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการน้อย หรือปานกลาง ในช่วงที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก นำไปสู่การวิจัยพัฒนาสารสกัดกระชายขาว เพื่อนำไปใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 การพัฒนาวิธีทดสอบ neutralizing antibody : nAb (ตรวจวัดระดับภูมิต้านทานการติดเชื้อ) ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการระบาด ร่วมกับติดตามแยกเพาะเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่เข้ามาในประเทศไทย โดยตรวจและเก็บข้อมูลระดับ nAb ในผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 ศึกษาผลการตอบสนองต่อวัคซีน และความสามารถในการหลบหลีกวัคซีน โดยได้ตีพิมพ์งานวิจัย “CoronaVac induces lower neutralising activity against variants of concern than natural infection” ที่เป็นข้อบ่งชี้ในการเปลี่ยนสูตรวัคซีนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถรับมือในการควบคุมการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOCs) ในระยะที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธ์ุเดลตา ซึ่งช่วยในการลดความสูญเสียจากการระบาด และสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ในที่สุด

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงอุษา ฉายเกล็ดแก้ว ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยเรื่อง “ชุดงานวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage, UHC) และพัฒนานโยบายบัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines, NLEM) ในระดับชาติและนานาชาติ” ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเทคนิคทางอณูชีววิทยา ด้วยวิธีต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-Utility Analysis) ในการตรวจวินิจฉัยวัณโรคโดยใช้แบบจำลอง พบว่าการคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคด้วยวิธีเอกซเรย์ และเทคนิคทางอณูวิทยา (Xpert MTB/RIF และ TB-LAMP) เพิ่มอัตราการตรวจพบผู้ป่วยวัณโรคได้มากขึ้น ทำให้การตรวจวินิจฉัยวัณโรคด้วยวิธีดังกล่าว ได้รับการอนุมัติให้เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ และเพิ่มการเข้าถึงบริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของยา terlipressin ร่วมกับ albumin (T+A) เพื่อใช้ในการรักษาภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยตับแข็ง ศึกษาความต้องการของ Health Technology Assessment Unit, Department of Health (DOH) หน่วยงานการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของการรักษาเสริมด้วยยา trastuzumab ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และวางมาตรการเพื่อลดราคายาดังกล่าว ซึ่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศฟิลิปินส์สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทั้งหมด

s__9683565

2. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำรา เป็นรางวัลที่มอบให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีผลงานการแต่งตำราที่มีความโดดเด่นครบทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อเรื่อง รูปแบบ ความชัดเจนและถูกต้องของภาษา การสนองความขาดแคลนของตำราในสาขานั้น ๆ และการเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชนิกา ศรีธรา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการแต่งตำรา เรื่อง “หลักการและการประยุกต์ใช้เครื่องรังสีเอกซ์สองพลังงาน (Principles and Clinical Applications of Dual-Energy X-Ray Absorptiometry)” ตำราภาษาไทยเล่มแรกที่รวบรวมองค์ความรู้ของเครื่อง DXA (เครื่องตรวจวิเคราะห์ความหนาแน่นของกระดูก) ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เหมาะสำหรับรังสีแพทย์ และแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก การติดตามความหนาแน่นของกระดูก การตรวจองค์ประกอบของร่างกาย การเตรียมผู้ป่วย การวิเคราะห์ค่า โดยมีการนำภาพประกอบแสดงวิธีการตรวจ การแปลผลภาพสแกนของผู้ป่วย การควบคุมคุณภาพของเครื่อง และภาพประกอบกรณีศึกษา รวมทั้งมีแนวทางการแก้ไข ดำเนินการตรวจและแปลผลการตรวจได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตรวจทางรังสีอื่นได้

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการแต่งตำรา เรื่อง “Carotid and Peripheral Vascular Interventions Textbook: Step-by-step Technique” ปัจจุบันแพทย์ที่มีความชำนาญทางด้านการขยายหลอดเลือดคาโรติดและหลอดเลือดส่วนปลายมีไม่มากนัก และไม่มีการฝึกอบรมที่เป็นมาตรฐานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จึงได้รวบรวมองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการดูแลและรักษาผู้ป่วย ตลอดระยะเวลา 20 ปี ถ่ายทอดไปยังบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านตำราในรูปแบบ E-book ภาษาอังกฤษ สามารถสืบค้นได้ทางสื่อออนไลน์ และลงทะเบียนเข้าอ่านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้อายุรแพทย์อนุสาขาการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Interventional Cardiologists) ศัลยแพทย์หลอดเลือด (Vascular Surgeons) และรังสีแพทย์รักษา (Intenventional Radiologists) ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้เรียนรู้ มีความเข้าใจ และสามารถให้การดูแลรักษาและขยายหลอดเลือดแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง นอกจากนี้ยังพิมพ์เป็นแบบรูปเล่มจำนวน 100 เล่ม มอบให้แก่ห้องสวนหัวใจและหลอดเลือดทั่วประเทศ ห้องสมุดโรงเรียนแพทย์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด สาขาวิชารังสีรักษาต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระจายความรู้ และนำไปใช้ในรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดคาโรติดและโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

3. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ ที่มอบให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลผู้มีผลงานการให้บริการ มุ่งมั่นอุทิศตนให้แก่งาน มีความสามารถครบพร้อม ทั้งในด้านครองงาน ครองตน และครองใจ สำหรับในปีนี้ มีผู้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ มีผู้ได้รับรางวัล จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

รองศาสตราจารย์ ดร.นาวิน ห่อทองคำ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการบริการ “การบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลศิริราช และการบริการทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลศิริราช” อาจารย์ที่ปรึกษาหน่วยงานบริการอณูจุลชีววิทยา ทำการตรวจวินิจฉัย จำแนกสายพันธุ์ของไวรัส การเกิดโรคระบาดของไวรัสต่าง ๆ ในประเทศไทย บริหารจัดการห้องปฏิบัติการทางอณูจุลชีววิทยาให้มีความทันสมัย และตอบสนองต่อแพทย์ และรองรับการรระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ผู้ทุ่มเทเสียสละงานบริการวิชาการ ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รองศาสตราจารย์ ดร.นาวิน วางแผนจัดทำชุดทดสอบสำหรับการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อไวรัสในห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลศิริราช ตรวจคัดกรอง แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้อย่างทันท่วงที บริหารจัดการเปิดให้บริการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แบบ 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์ในการวางแผนรักษาผู้ป่วย และเพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้เข้ารับการรักษา ลดความแออัดของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ร่วมกับสถาบันวิทยสิริเมธี พัฒนาชุดตรวจสารพันธุกรรมแบบรวดเร็ว ถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับห้องปฏิบัติการที่อยู่ห่างไกล เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ความต้องการชุดน้ำยาทดสอบมีการแข่งขันสูง ป้องกันการขาดแคลนน้ำยาของวิธีมาตรฐาน (real time PCR) โดยชุดทดสอบดังกล่าวได้ทำการประเมินทางคลินิก (Clinical validation) ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ และได้ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564

s__9683553

ดร.ณพล อนุตตรังกูร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการบริการ “การรับใช้สังคมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์” จัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (ชื่อปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ) ประสานงานระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่บึงบอระเพ็ด ลดความขัดแย้งบนฐานข้อมูลวิชาการ โดยดำเนินการจัดการที่ดิน จัดทำแผนการจัดการบึงบอระเพ็ดเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา เกิดการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน กำหนดเขตให้ เขตหวง และเขตห้ามให้แก่ชาวบ้าน ลดปัญหาการบุกรุกบึงบอระเพ็ด นำไปสู่การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ทำให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดอย่างแท้จ

คุณกำลังดู: มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566

หมวดหมู่: วัยรุ่น

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด