“นาฬิกาชีวิต” ใช้ชีวิตตามเวลา สุขภาพดีทันตาเห็น

เวลาไหนควรตื่น เวลาไหนควรกิน ควรนอน หากทำตามเวลาเหล่านี้ได้ โรคภัยไม่ถามถึงแน่นอน

“นาฬิกาชีวิต” ใช้ชีวิตตามเวลา สุขภาพดีทันตาเห็น

นาฬิกาชีวิต คือ คือวงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ หรือการหลั่งฮอร์โมน แม้แต่การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย โดยนาฬิกาชีวิตนั้นจะมีรอบเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ตามเวลาโดยทั่วไป ซึ่งนาฬิกาชีวิตจะถูกควบคุมโดยแสงและอุณหภูมิภายในร่างกาย ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับแสงแดดและมีอุณหภูมิในระดับที่เหมาะสม ร่างกายก็จะเริ่มทำงานตามวงจรในแต่ละวัน โดยวงจรดังกล่าวมีชื่อเรียกว่าจังหวะเซอร์คาเดียน (Circadian Rhythms)

การทำความรู้จักกับนาฬิกาชีวิตและพยายามปรับไลฟ์สไตล์ของเราให้แมทช์กับการทำงานของอวัยวะต่างๆก็เป็นเคล็ดลับสุขภาพดีแบบง่ายๆ ที่ได้ประโยชน์มากเลยทีเดียว

นาฬิกาชีวิตทำงานอย่างไร ?

  • 05.00 - 07.00 เวลาของลําไส้ใหญ่ ตื่นมาขับถ่ายกันดีกว่า

"ตื่นนอน และดื่มน้ำมากๆ เพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย" ลำไส้ใหญ่จะทำงานได้ดีในเวลานี้ ทำให้ของเสียและกากอาหารถูกขับออกจากร่างกายได้ดีที่สุด ถ้าเราไม่ถ่าย ร่างกายจะดูดซึม ของเสียเข้าสู่ร่างกายอีกรอบ ส่งผลกระทบมากมาย เช่น เป็นหวัด ไอ สิว  ร้อนใน ท้องผูก แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ริดสีดวงทวาร มะเร็งลําไส้ เป็นต้น

  • 07.00 - 09.00 เวลาของกระเพาะอาหาร มาทานอาหารเช้ากัน

"ร่างกายต้องการพลังงาน ฉะนั้นอาหารเช้าจําเป็นสุดๆ" ห้ามงดอาหารเช้าเด็ดขาด ช่วงนี้กระเพาะอาหารจะแข็งแรง สามารถย่อยอาหาร และดูดซึมได้ดีที่สุด ถ้าเราไม่ทานอาหาร กระเพาะ และม้ามจะอ่อนแอ ประกอบกับร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จําเป็น ทําให้ร่างกายสร้างเลือดได้น้อย เลือดที่จะไปเลี้ยงสมองอาจไม่พอ มีผล ต่อสมาธิ ความจํา การตัดสินใจซ้า ขี้กังวล แก่เร็ว ระยะยาวอาจจะอ้วนได้

  • 09.00 - 11.00 เวลาของม้าม และตับอ่อน ร่างกายกระปรี้กระเปร่า พร้อมทำงานแล้วล่ะ

"ช่วงเวลานี้ร่างกายตื่นตัวมาก กระปรี้กระเปร่า การทํางานหรือทํากิจกรรมอะไรจะได้ผลดี" เพราะม้ามจะดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ จากอาหารเช้า และส่งสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพราะฉะนั้นถ้าเราทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ ม้ามก็จะนําสารอาหารดี ๆ ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ทําให้ร่างกายสดชื่น สมองทํางานได้ดี

  • 11.00 - 13.00 เวลาของหัวใจ ผ่อนคลาย นั่งทานข้าวเที่ยงแบบชิลล์ๆ

"เป็นช่วงเวลาของหัวใจ ที่ทําหน้าที่สูบฉีดเลือด และสารอาหารไปเลี้ยงทั้งร่างกาย" ซึ่งจะทํางานหนักที่สุด ช่วงนี้ระดับความดันเลือดในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ฉะนั้นช่วงเวลานี้ ห้ามเครียดเด็ดขาด ถ้าเราทําจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย ถือเป็นการดูแล ทะนุถนอมหัวใจให้แข็งแรงอีกด้วย

  • 13.00 - 15.00 เวลาของลําไส้เล็ก งดอาหารด้วยนะ

"ช่วงเวลานึ้งดอาหารทุกชนิด อย่าทานของจุกจิก เพราะจะเป็นการรบกวนการทํางานของลําไส้เล็ก" ซึ่งมีหน้าที่ย่อย แยกแยะ และดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น วิตามินซี, วิตามินบี, โปรตีน ซึ่งทําหน้าที่สร้างกรดอะมิโน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างเซลล์สมอง เวลานี้สมองซีกขวาทํางานดี ทั้งเรื่องความจํา จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การวางแผน เป็นต้น

  • 15.00 - 17.00 เวลาของกระเพาะปัสสาวะ ดื่มน้ำบ่อยๆ และออกกําลังกาย

"ช่วงเวลานี้กระเพาะปัสสาวะ รอกําจัดของเสียออกจากร่างกาย" เพราะฉะนั้นช่วงนี้ควรดื่มน้ำเยอะ ๆ อย่ากลั้นปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะจะทําให้ปัสสาวะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด มีผลในเรื่องความจํา ไทรอยด์ และระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งจะทําให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบอีกด้วย และช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจ และกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง เหมาะที่จะ ออกกําลังกาย ทําให้เหงื่อออก เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกายอีกทางหนึ่ง

  • 17.00 - 19.00 เวลาของไต สดชื่น แจ่มใส

ช่วงเวลานี้ยังไม่ควรเข้านอน เพราะจะทําให้ไตทํางานหนัก ควรออกกําลังกายหรือทํางานบ้าน เพื่อให้ร่างกายสดขึ้น แอคทีฟ เพิ่มความดันเลือด แถมช่วยให้ผิวสดใสแข็งแรง เปล่งปลั่งอีกด้วย ช่วงนี้ไตทําหน้าที่หนักในการกรองของเสียออกจากเลือด และรักษาสมดุลในร่างกาย 

  • 19.00 - 21.00 เวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ทําจิตใจให้ผ่อนคลาย เข้าสู่โหมดธรรมะ นั่งสมาธิ

ช่วงเวลานี้ร่างกายต้องการความสงบ หยุดนิ่ง จะช่วยให้จิตใจ และร่างกายพร้อมที่จะเข้านอน ไม่ควรทําอะไร ตื่นเต้น หรือใช้พลังงานเยอะ เช่น ออกกําลังหนักๆ หรือทานอาหารปริมาณมาก เพราะจะทําให้นอนไม่หลับ เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจเป็นส่วนประกอบสําคัญของหัวใจ และช่วงเวลานี้มีความสําคัญในการทํางานของระบบ หมุนเวียนเลือด และส่งอาหาร ออกซิเจน เม็ดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  • 21.00 - 23.00 เวลาการทํางานของระบบอุณหภูมิในร่างกาย นอนกันเถอะ

ทําร่างกายให้อบอุ่น ห้ามอาบน้ำเย็นในช่วงนี้ จะทําให้ป่วยง่าย อ่อนแอ เพราะช่วงนี้ร่างกายต้องการความอบอุ่น ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ระบบหายใจ (หัวใจ ปอด), ระบบย่อยอาหาร (กระเพาะอาหาร ม้าม ตับ) และระบบขับถ่าย (ไต กระเพาะปัสสาวะ ลําไส้เล็ก) พร้อมปรับสมดุลในร่างกาย อุณหภูมิในร่างกายจะค่อยๆ ลดลง ร่างกายเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงควรนอนหลับพักผ่อน อย่าลืมจิบน้้ำนิดหน่อยก่อนนอนด้วยนะ

  • 23.00 - 01.00 เวลาของถุงน้ำดี

ที่ต้องจิบน้ำก่อนนอนช่วง 21.00 - 23.00 น. ก็เพราะช่วงเวลานี้จะมีผลกับถุงน้ำดี เพราะถุงน้ำดีเป็นถุงสํารอง เก็บน้ำดีที่ได้จากตับ พร้อมส่งไปช่วยย่อยไขมันในลําไส้เล็ก หรือถ้าอวัยวะใดในร่างกายขาดน้ำ จะดึงน้ำจากถุงน้ำดี ถ้ามีการดึงมากเกินไป ทําให้น้ำดีข้น เป็นผลทําให้สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ปวดหัว

  • 01.00 - 03.00 เวลาของตับ หลับให้สนิท ช่วยให้อ่อนกว่าวัย

เป็นเวลาที่ต้องพักผ่อน เพื่อให้เลือดไหลเวียนมาที่ตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตับจะหลั่งสารที่ช่วยฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย เพราะขณะที่เรานอนหลับ ตับจะกําจัดของเสียออกจากร่างกาย พร้อมเก็บสะสมเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยนำมาสกัด และเก็บในรูปของไกลโคเจน

เพราะฉะนั้นถ้าช่วงเวลานี้เราไม่หลับ จะทำให้เลือดในตับน้อย ส่งผลให้ตอนเช้าเวียนหัว มึนหัว อ่อนเพลีย กลายเป็นคนขี้หงุดหงิดได้ และตับยังมีหน้าที่ดูแลเส้นผม ขน เล็บของเราให้แข็งแรงสวยงามอีกด้วย

  • 03.00 - 05.00 เวลาของปอด เตรียมตื่น รับอากาศให้เต็มปอด

ใครอยากมีผิวเด้ง หน้าใส ต้องตื่นช่วงเวลานี้นะ เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้า ทำให้ระบบหายใจทำงานเต็มที่ เป็นช่วงเวลาที่ปอดทำหน้าที่ฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่ พร้อมแจกจ่ายไปยังเซลล์ต่างๆ ใหได้รับออกซิเจนเพียงพอ


การปรับพฤติกรรมให้ได้ตามหลัก นาฬิกาชีวิต อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย หรืออาจจะลองช่วงเวลาที่เราคิดว่าทำได้ง่ายสุดดูก่อน จากนั้นค่อยๆ ปรับพฤติกรรมให้ได้ตามช่วงเวลาอื่นๆ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง

คุณกำลังดู: “นาฬิกาชีวิต” ใช้ชีวิตตามเวลา สุขภาพดีทันตาเห็น

หมวดหมู่: สุขภาพ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด