เปิดภาพ C/2022 E3 ดาวหางดวงแรกของปี 66 เข้าใกล้โลกที่สุด 1-2 ก.พ.นี้

เปิดภาพ C/2022 E3 ดาวหาง ดวงแรกของปี 66 เข้าใกล้โลกที่สุด 1-2 ก.พ.นี้ วันที่ 19 มกราคม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) หรือ NARIT เปิด ภาพดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) จากดอยเสมอดาว จ.น่าน  บันทึกผ่านเล...

เปิดภาพ C/2022 E3 ดาวหางดวงแรกของปี 66 เข้าใกล้โลกที่สุด 1-2 ก.พ.นี้

เปิดภาพ C/2022 E3 ดาวหาง ดวงแรกของปี 66 เข้าใกล้โลกที่สุด 1-2 ก.พ.นี้

วันที่ 19 มกราคม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) หรือ NARIT เปิด ภาพดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) จากดอยเสมอดาว จ.น่าน  บันทึกผ่านเลนส์ทางยาวโฟกัส 300 มม. เมื่อ ช่วงเช้ามืดวันที่ 17 มกราคม 2566 เวลาประมาณ 04:30 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในภาพปรากฏชั้นโคมา (Coma) เป็นชั้นของฝุ่นแก๊สที่ฟุ้งรอบใจกลางดาวหาง เรืองแสงออกไปทางสีเขียว และหางจาง ๆ ของดาวหางที่ทอดยาวออกมา

ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) โคจรเข้าสู่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด (Perihelion) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา และจะเข้าใกล้โลกที่สุดระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2566 คาดว่าช่วงดังกล่าวดาวหางจะมีส่วนหางที่ฟุ้งกระจายและส่องสว่างมากที่สุด หากเป็นไปตามคาดการณ์ จะสามารถสังเกตเห็นดาวหางดวงนี้ด้วยตาเปล่าได้จาง ๆ ในสภาพท้องฟ้าที่มืดสนิท

ทั้งนี้ ความสว่างของดาวหางเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก เพราะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายครั้งพบว่ามีความสว่างเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่จะสังเกตเห็นผ่านกล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ 2566

สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) คือวันที่ดวงจันทร์ไม่สว่างมาก (จันทร์ดับ หรือดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบาง ๆ) ในเดือนมกราคม 2566 จันทร์ดับจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม ดังนั้น หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ฟ้าเปิด และไม่มีเมฆบัง จะสามารถสังเกตเห็นดาวหางดังกล่าวบริเวณกลุ่มดาวมังกร (Draco) ตั้งแต่เวลาประมาณ 01:00 จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น

คุณกำลังดู: เปิดภาพ C/2022 E3 ดาวหางดวงแรกของปี 66 เข้าใกล้โลกที่สุด 1-2 ก.พ.นี้

หมวดหมู่: เทคโนโลยี

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด