เพิ่งรู้ความหมาย! 7 สติ๊กเกอร์แปะท้ายรถยอดฮิต มีที่มาแบบนี้
ข้อความเหล่านี้กลายเป็นสติ๊กเกอร์ยอดฮิตที่ถูกเจ้าของรถนำมาติดไว้ที่หลังรถของเขา จนกลายเป็นสิ่งที่คุ้นตาของคนทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่าสติ๊กเกอร์ยอดฮิตเหล่านี้มีความหมายหรือมีที่มาอย่างไรกันบ้าง
คณะเรา
คือสติ๊กเกอร์ที่หมายถึงศิษย์เก่าของโรงเรียนอำนวยศิลป์ โรงเรียนเอกชนชื่อดังที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2469 ถือเป็นคำที่ใช้เรียก ‘คนอำนวยศิลป์’ ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด
วัดท่าไม้
เป็นสติ๊กเกอร์ที่จัดทำโดยวัดท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เพื่อจุดประสงค์คือให้รู้ว่าบุคคลดังกล่าวเคยเดินทางมาทำบุญที่วัดนี้ โดยจำแนกเป็น 2 สี คือ สีเหลืองหมายถึงคนที่เดินทางมาปฏิบัติธรรม และสีขาวหมายถึงคนที่เดินทางไปไหว้พระทำบุญ
เศรษฐีเรือทอง
มีที่มาจากวัดพุน้อย จังหวัดลพบุรี ที่โด่งดังจากการประกอบพิธียกเรือแม่ตะเคียน โดยเริ่มแรกผู้ที่เช่าวัตถุมงคลจะได้สติ๊กเกอร์นี้ และชื่อกันว่าหากผ่านพิธีดังกล่าวจะทำให้กิจการการค้าเจริญรุ่งเรือง
พุทธวจน
คำว่า พุทธวจน (อ่านว่า พุท ธะ วะ จะ นะ) แปลว่า คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ส่วนสติ๊กเกอร์คำดังกล่าว จุดเริ่มมาจากวัด วัดนาป่าพง จ.ปทุมธานี โดยทางวัดได้จัดทำขึ้นให้ผู้ที่มาทำบุญหรือฟังธรรมสามารถหยิบฟรีเพื่อไปแจกญาติโยมหรือนำไปติดตามสิ่งของต่างๆ ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งความนิยมในการนำไปติดท้ายรถ
สัญลักษณ์ WAKABA
สติ๊กเตอร์ลูกศรชี้ลง ฝั่งซ้ายสีเหลืองและฝั่งขวาสีเขียว แท้จริงแล้วเป็นป้ายที่มีผลทางการหมายในการขับรถที่ญี่ปุ่น โดยเป็นป้ายที่ทางการญี่ปุ่นบังคับให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ภายในระยะเวลา 1 ปี ติดเอาไว้ที่ท้ายรถ เพื่อให้รถคันอื่นรู้ว่าเป็นมือใหม่หัดขับนั่นเอง
SPOON
ที่มาของสติ๊กเกอร์นี้ คือการยืนยันว่ารถคันดังกล่าวผ่านการแต่งจาก SPOON SPORTS สำนักแต่งรถชื่อดังของญี่ปุ่น ที่มีความเก่าแก่มากว่า 30 ปี โดยเป็นสำนักแต่งรถยนต์ฮอนด้าหลากหลายรุ่น อาทิ Honda Civic ( 1985 ) Civic type R (2000) Jazz Fit Race car (2003) รวมถึง CR-Z (2010)
Baby in Car
คือสัญลักษณ์ที่หลายคนทราบกันอยู่แล้วว่า มีเด็กเล็กโดยสารอยู่บนรถคันนั้นๆ แต่ที่มาของสติ๊กเกอร์ดังกล่าว เกิดขึ้นในปี 1985 เมื่อชายชาวอเมริกันนามว่า ไมเคิล เลอร์เนอร์ ทำป้ายข้อความ ‘Baby on board’ เนื่องจากโกรธเคืองกลุ่มวัยรุ่นในแมสซาชูเซตส์ ที่ขับรถไม่ระมัดวังจนหลายชายของเขาเสียชีวิต ก่อนที่จะมีการผลิตสติ๊กเกอร์นี้ในกันอย่างแพร่หลาย ส่วนในยุโรปและเอเชียมีการปรับคำเล็กน้อยด้วยการใช้คำว่า ‘Baby in Car’ แทน
คุณกำลังดู: เพิ่งรู้ความหมาย! 7 สติ๊กเกอร์แปะท้ายรถยอดฮิต มีที่มาแบบนี้
หมวดหมู่: รถยนต์