ผมร่วงแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ผมร่วง” มากจริงๆ?
วิธีทดสอบผมร่วงด้วยตัวเองแบบง่ายๆ
หวีผม สระผม เอามือสางผม ถอดหมวก สะบัดผม ทุกกิริยาเหล่านี้ล้วนแต่ก่อให้เกิดผมร่วงได้ทั้งนั้น แต่ผมร่วงมากแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าผมร่วงจนต้องเข้ารับการรักษาจริงๆ Sanook! Health มีวิธีสังเกต และทดสอบง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านมาให้ลองทำตามกันดูค่ะ
- สังเกตจำนวนเส้นผมที่หลุดระหว่าง และหลังอาบน้ำ
หากผมหลุดร่วงไหลตามน้ำเป็นแพทุกวัน ทุกครั้ง หรือหลายวันติดต่อกัน ทั้งวันที่สระผม และไม่ได้สระผม สันนิษฐานได้ว่าคุณอาจกำลังประสบภาวะผมร่วง
- สังเกตจำนวนเส้นผมที่ร่วงในแต่ละครั้ง
ถึงขั้นนับทีละเส้นก็คงไม่ไหว แต่ทุกครั้งที่สระผม หวีผม เสยผม ก็ลองกะประมาณดูคร่าวๆ ว่าผมร่วงหลุดติดมือออกมามากกว่า 50-100 เส้นต่อวันหรือไม่ ถ้าเกินกว่านั้นก็คงต้องเริ่มเป็นกังวลเล็กๆ ได้แล้วล่ะ
- ลองดึงผม
วิธีทดสอบความแข็งแรงของรากผมง่ายๆ เพียงแบ่งช่อผมออกมาประมาณ 50-60 เส้น แล้วใช้นิ้วสางผมโดยออกแรงดึงๆ เล็กน้อย หากมาเส้นผมหลุดร่วงออกมามากกว่า 15-20 เส้น แสดงว่ารากผมของคุณไม่ค่อยแข็งแรง อาจเสี่ยงต่อภาวะผมร่วงได้
วิธีลดผมร่วง
- ไม่หวีผมขณะผมเปียก ไม่ใช้หวีซี่ถี่เกินไป
และไม่หวีผมกระชากแรงๆ
- ไม่สระผมบ่อยจนเกินไป
และไม่ปล่อยให้หนังศีรษะมันจนมีรังแคทุกครั้ง ควรสระผมราวๆ วันเว้นวัน
หรือ 2 วันครั้ง เพื่อป้องกันหนังศรีษะแห้ง หรือมันมากเกินไป
- ใช้ปลายนิ้วนวดศีรษะเบาๆ ขณะสระผม
ไม่ใช้เล็บขูดจนหนังศรีษะจนเป็นรอย
นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงที่ผมจะขาดหลุดร่วงมากขึ้นแล้ว
หากเกิดบาดแผลบนหนังศีรษะ
ยังอาจมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลติดเชื้อได้
- ไม่สระผมด้วยน้ำร้อนจนเกินไป เพราะจะทำให้เส้นผม
และหนังศีรษะแห้งเสียได้
- หลีกเลี่ยงการจัดแต่งทรงผมด้วยความร้อน เช่น
การใช้ไดร์เป่าผมด้วยลมร้อนเป็นประจำ
ควรเป่าผมด้วยลมเย็นจะดีที่สุด
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับผมบ่อย และมากเกินไป เช่น การดัด ย้อม
ยืดเส้นผม
- ไม่มัดผมแน่นจนเกินไป เพราะเป็นการเพิ่มการดึงผม
ทำให้รากผมอ่อนแอได้
- ทานอาหารที่มีโปรตีนมากขึ้น เพื่อช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
- ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะท่าโยคะที่ต้องก้มหัวลง จะช่วยให้โลหิตไหลเวียนไปที่ศีรษะ ช่วยบำรุงหนังศีรษะ และเส้นผมได้ดียิ่งขึ้น
คุณกำลังดู: ผมร่วงแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ผมร่วง” มากจริงๆ?
หมวดหมู่: สุขภาพ