รู้จักโรค "กลัวทะเล" มีอยู่จริง
คุณเคยรู้สึกความหวาดกลัวเมื่อมองแหล่งน้ำที่มีบริเวณกว้างใหญ่อย่างทะเลหรือเปล่า คุณอาจเป็นโรค "กลัวทะเล" ก็ได้นะ
ทะเลประกอบด้วยธรรมชาติที่สวยงาม รายล้อมไปด้วยน้ำสีคราม ทรายสีนวลที่นุ่มละมุน ท้องฟ้าอันสดใส และต้นมะพร้าวที่พลิ้วไสว ทำให้ดึงดูดผู้คนมาตากแดดอาบลม เซลฟี่เก็บความทรงจำ แต่สงสัยกันไหมทำไมมีผู้คนบางกลุ่มถึงไม่ยอมลงเล่นน้ำบ้างเลย อาจเป็นเพราะว่าพวกเขากำลังเป็น โรคกลัวทะเล อยู่ก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับโรคแปลกนี้กัน
โรคกลัวทะเล (Thalassophobia)
สำหรับผู้ที่มีอาการกลัวทะเล เพียงมองจากภาพถ่ายก็กลัวจนตัวสั่นแล้ว เพราะจินตนาการไปไกลว่าภายใต้ท้องทะเลจะมีอะไรซุกซ่อนอยู่จากพื้นผิวที่เราไม่มองเห็นหรือเปล่า
โรคกลัวทะเล (Thalassophobia) คือโรคที่จัดอยู่ในประเภทของความหวาดกลัวเฉพาะเมื่อมองดู หรือสัมผัสกับแหล่งน้ำที่มีบริเวณกว้างใหญ่ ลึก และมืด ทำให้การทำงานด้านจิตใจ รวมถึงสมองของคุณนั้นเกิดอาการวิตกกังวลทันที สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) เผยว่าโรคนี้เป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางจิตไม่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งพบได้ในหมู่ประชากรทั่วไปที่กลัวสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคกลัวชุมชน โรคกลัวที่แคบ โรคกลัวรู
อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง "กลัวทะเล"
- อัตราการเต้นหัวใจถี่ขึ้น หรือหายใจเร็ว
- เหงื่อออกทั่วร่างกาย
- วิงเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้
- เกิดอารมณ์เกลียดชัง หงุดหงิด
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- กระสับกระส่าย วิตกกังวลมากกว่าปกติ
- เสียขวัญจนทำให้การนอนหลับผิดปกติ (นอนไม่หลับ)
หากคุณจำเป็นที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ ขอให้คุณอยู่ในระยะที่พอเหมาะเพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างต้น
สาเหตุที่ทำให้คุณ "กลัวทะเล" อย่างไม่มีเหตุผล
มีหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้คุณเกิดอาการกลัวทะเล มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำลึก อาจเป็นเพราะคุณเคยมีความทรงจำฝังใจที่ไม่ดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้
ปัจจัยทางพันธุกรรม : การที่คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวของคุณเป็นโรคกลัวทะเล จนนำมาสู่การถ่ายทอดอาจเป็นในรูปแบบบอกเล่า เพื่อสร้างความปลอดภัย คุณจึงจดจำสิ่งที่ถูกถ่ายทอด และทำให้ติดตัวคุณมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : คือสิ่งที่คุณเคยประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนไม่ว่าในรูปแบบที่พบเจอด้วยตัวเอง หรือตามแหล่งข่าว เช่น เหตุการณ์เกือบจมน้ำ เห็นคนจมน้ำทุรนทุราย ดูสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ใต้ทะเลมากเกินไป เมื่อพบเห็นสถานที่นั้นจึงไปกระตุ้นด้านความคิด และจิตใจ ทำให้เกิดอาการสั่นกลัว
ปัจจัยการพัฒนาของสมอง : เมื่อไม่ได้รับการบำบัดช่วยเหลือ การพัฒนาของสมองอาจตอบสนองต่อความกลัวโดยอัตโนมัติ และการทำงานของระบบประสาทวนอยู่ที่เดิมทำให้ไม่สามารถควบคุมต่อความกลัวนี้ได้ รู้ไหม โรคกลัวทะเล สามารถรักษาให้หายได้นะ
วิธีรักษาโรค "กลัวทะเล"
คุณควรลองเช็กอาการของคุณ และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางแพทย์อาจให้คุณเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดจิตใจที่ผิดปกติ (CBT) ตามโปรแกรมการบำบัด ซึ่ง นักจิตวิทยาจะสอนให้คุณควบคุมอารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรมบางอย่าง และเปลี่ยนวิธีการคิดให้จากลบเป็นบวกอย่างมีระบบ การบำบัดนี้ยังเหมาะกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย
ในแหล่งข้อมูลการศึกษาที่น่าเชื่อถือแห่งหนึ่ง ปี 2013 นักวิจัยใช้เทคนิค การสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เพื่อตรวจสอบผลกระทบของ (CBT) ต่อความผิดปกติบางประการของอาการกลัว นักวิจัยพบว่าการบำบัดด้วยวิธีนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางประสาทของสมอง มีผลในเชิงบวกด้านความคิด และการไตร่ตรองเหตุผล
สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบภายในจิตใจ นักบำบัดอาจให้คุณเผชิญกับสิ่งที่คุณกลัวโดยตรง เช่น การดูวิดิโอเกี่ยวกับข้องกับมหาสมุทร หรือพาคุณไปชายหาดนั่งจุ่มเท้า โดยมีนักบำบัดอยู่ใกล้ ๆ เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายคุณอาจคุ้นชิน และสามารถสลายความกลัวของโรคนี้เองได้
คุณกำลังดู: รู้จักโรค "กลัวทะเล" มีอยู่จริง
หมวดหมู่: สุขภาพใจ-สมอง