รับมือโลกอนาคต ศึกษาเทรนด์การทำงานปี 2566

รับมือโลกอนาคต ศึกษาเทรนด์การทำงานปี 2566

ในระหว่างที่การทำงานที่บ้านดูเหมือนจะกลายเป็นสิ่งที่อยู่ถาวรในหลายบริษัทของอเมริกา แต่ปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจที่ส่อแววถดถอยในปี 2023 อาจเป็นแรงขับเคลื่อนให้พนักงานต้องกลับมาตอกบัตรเข้าสำนักงานกันมากขึ้นอีกก็ได้ ซึ่งแม้จะผ่านพ้นช่วงวิกฤติของโควิด-19 ที่สะเทือนวัฒนธรรมและรูปแบบการทำงานในหลายองค์กรทั้งในอเมริกาและทั่วโลกมาแล้ว แต่ขณะนี้ ความต้องการระหว่างนายจ้างและลูกจ้างยังคงแตกต่างกัน เพราะในปี 2022 นายจ้างพยายามเร่งให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ ขณะที่ฝั่งลูกจ้างยังต้องการการทำงานที่มีความยืดหยุ่น

การทำงานที่ให้พนักงานเข้ามาทำในออฟฟิศ สลับกับทำงานจากที่ไหนก็ได้ ถือเป็นวิธีประนีประนอมที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แม้ว่าบางบริษัทจะต้องการให้พนักงานกลับมาทำงานแบบเต็มเวลาที่สำนักงาน แต่ลูกจ้างบางส่วนยังคงพยายามที่จะทำงานในรูปแบบผสมอยู่ดี

ทว่าในปี 2023 นี้ โลกเป็นยุคที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และยังมีข่าวเรื่องการปลดพนักงาน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่ไม่ขาด ลองมาเรียนรู้ทิศทางโลกการทำงานปี 2023 และทักษะที่คนทำงานควรมีติดตัว เพื่อก้าวสู่อนาคตที่ต้องการได้อย่างมั่นคงสวยงาม โดย TUXSA – หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์อันดับ 1 ของไทย ได้รวมเทรนด์โลกการทำงานปี 2566 ว่า จะหมุนไปทางไหน ดังนี้

คนทำงานจะเปลี่ยนงานบ่อยได้ยากขึ้น
ชีวิตของคนทำงานพ้นช่วง honeymoon ที่คนลาออกและเปลี่ยนงานได้อย่างที่ต้องการมาแล้ว เพราะหลายบริษัทอาจยับยั้งการจ้างคนเพิ่มเนื่องจากกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยนิตยสาร Forbes ได้วิเคราะห์ตลาดงานอเมริกาในปี 2566 ไว้ว่า คนทำงานจะเปลี่ยนงานบ่อย ๆ ได้ยากขึ้น และข้อเสนอดี ๆ ก็จะมีน้อยลง พนักงานยังคงมีอำนาจต่อรองในระยะยาว เพราะในหลายประเทศจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่มีคนวัยทำงานและผู้อพยพลดลง ทำให้องค์กรจ้างและรักษาพนักงานเอาไว้ได้ยากกว่าเดิม

งานรูปแบบเก่าที่คนทำงานคุ้นเคยกำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี พร้อมกับมีงานใหม่ ๆ เกิดขึ้น ส่งผลให้คนทำงานที่พัฒนาทักษะตอบโจทย์ตลาดแรงงานไม่ทันต้องตกงาน สิ่งที่คนทำงานควรทำคือ การพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่บริษัทยังคงต้องการเสมอ และเมื่อมีโอกาส ก็ก้าวสู่เส้นทางใหม่ได้ทันที

ควรมีทักษะการทำงานที่โลกอนาคตต้องการ
ในโลกที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้ หากเราเป็นผู้ปฎิบัติงานที่ยังไม่อยากโดนหมายหัวต่อการเลิกจ้าง เราควรพัฒนาทักษะอะไรเพื่อตอบโจทย์งานในอนาคตกันบ้างนั้น เป็นเรื่องที่คนวัยทำงานจำเป็นต้องตื่นรู้ และเรียนรู้ตลอดเวลา หลายทักษะไม่ใช่สิ่งที่คุณเคยเรียนรู้ตอนปริญญาตรี และอีกหลายทักษะคือสิ่งที่ต้องอัปเดตเพื่อตอบโจทย์งานใหม่ ๆ ในตลาด คือ

  • business management ทักษะเฉพาะทางในการดำเนินธุรกิจ การวางกลยุทธ์ การบริหารจัดการ และสภาวะการเป็นผู้นำ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในทีมและองค์กร สามารถนำไปใช้ได้กับกลุ่มงานอย่าง บริหารคนและวัฒนธรรมองค์กร และการตลาด
  • data science ทักษะการนำข้อมูลซึ่งเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการตัดสินใจทางธุรกิจมาวิเคราะห์เชิงลึก และคาดการณ์ความเป็นไปได้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมถึงสร้างความเชี่ยวชาญในการวางนโยบาย และการบริหารจัดการเทคโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับข้อมูลจำนวนมาก ทักษะนี้ใช้ได้กับกลุ่มงานอย่าง data and AI และ product development
  • product marketing ทักษะการวางแผนเชิงกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่ตลาดและสร้างจุดยืน พร้อมนำเสนอจุดเด่นและเรื่องราวของผลิตภัณฑ์นั้น ทักษะนี้เหมาะกับกลุ่มงานอย่าง product development และ data and AI
  • digital marketing ทักษะการทำการตลาดบนโลกโซเชียล ใช้ได้กับกลุ่มงานอย่างการตลาด และ data and AI
  • artificial intelligence ทักษะด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มงานด้าน data and AI และ cloud computing

หาสิ่งที่ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่
ไม่ใช่แค่โลกการทำงานที่เปลี่ยนไป โลกการศึกษาก็หมุนเร็วเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนให้ทัน ทุกวันนี้ มีการเรียนออนไลน์แบบ self-paced learning ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนเมื่อไรก็ได้ตามจังหวะของตัวเอง ผู้เรียนไม่ต้องจัดเวลาตามตารางของสถานศึกษาหรือลาออกจากงานประจำเพื่อเรียนต่อ

นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยชื่อดังร่วมทำกับเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ช่วยให้เราเข้าถึงความรู้จากสถานศึกษาคุณภาพได้สะดวก โดยรูปแบบการเรียนที่มีทั้งเรียนเพื่อรับประกาศนียบัตร และเรียนเพื่อรับปริญญาออนไลน์

ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากปริญญาจากการเรียนในสถานที่จริง อาทิ TUXSA หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์แบบ self-paced โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์อันดับ 1 ของไทย ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งมอบทักษะที่สำคัญสำหรับอนาคตให้คนไทย โดยมีหลักสูตรที่สามารถเลือกเรียนได้ทั้งแบบรายวิชาที่สนใจและแบบปริญญาเต็มหลักสูตร ปัจจุบันเปิดสอนอยู่ 2 สาขาวิชาคือ

  • ปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation: เป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และได้รับการรับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาจากสำนักงาน ก.พ.
  • ปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation: ผ่านการรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
    หลังการเปิดตัวโครงการในปี 2562 TUXSA กลายเป็นที่นิยมของผู้เรียน มีผู้ลงเรียนแล้วกว่า 18,000 คน และมีนักศึกษารุ่นแรกจบการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตแล้ว รวมถึงในอนาคตกำลังจะมีเปิดสอนเพิ่มอีก 2 หลักสูตรคือปริญญาโทศึกษาศาสตร์สาขาวิชา นวัตกรรมการเรียนรู้ M.Ed. (Learning Innovation) และปริญญาโท Applied AI

ถึงโลกการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คนไทยที่อยากเพิ่มหรือลับคมทักษะจึงมีช่องทางเข้าถึงความรู้รับมือโลกอนาคตอยู่เสมอ บนโลกออนไลน์ใกล้ตัวเรานั่นเอง

คุณกำลังดู: รับมือโลกอนาคต ศึกษาเทรนด์การทำงานปี 2566

หมวดหมู่: ผู้ชาย

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด