วันอัฏฐมีบูชา 2566 อ่านประวัติและหลักธรรมของวันอัฏฐมีบูชา
วันอัฏฐมีบูชา คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ อ่านประวัติ กิจกรรมที่ควรทำ และหลักธรรมของวันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566
วันอัฏฐมีบูชา 2566 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนเจ็ด(7) ปีเถาะ
วันอัฏฐมีบูชา คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องด้วยอัฏฐมีคือ วันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน 6) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา" ในปี 2566 วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนเจ็ด(7) ปีเถาะ
นอกจากนั้น วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย
ประวัติวันอัฏฐมีบูชา
วันอัฏฐมีบูชา
เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ
เดือน 6 หรือวันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ หรือ แรม 8
ค่ำ เดือน 7 ในปีอธิกมาส วันอัฐมีบูชา
เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ
เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน
คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว 8 วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า
วันอัฏฐมีบูชานี้ ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว
จะมีเพียงบางวัดเท่านั้น ที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้
วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
(เผาศพพระพุทธเจ้า) วันนี้จึงเรียกว่า
“วันอัฏฐมีบูชา”
ซึ่งประวัติความเป็นมาของวันอัฏฐมีบูชา คือ เมื่อวันเพ็ญ ขึ้น 15
ค่ำ เดือน 3 ในพรรษาที่ 45 พระพุทธเจ้าได้ทรงประชวรหนัก
ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
ได้ทรงปลงมายุสังขาร โดยพระพุทธเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ”
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว 7 วัน มัลลกษัตริย์
แห่งนคร กุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์
อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน
ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์
กรุงกุสินารา เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
และภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว กษัตริย์และ
ผู้ครองแคว้นต่าง ๆ
รวม 7 แคว้น ได้แก่
(๑.) พระเจ้าอชาตศัตรู
เมืองมคธ
(๒.) กษัตริย์ลิจฉวี
เมืองเวสาลี
(๓.) กษัตริย์ศากยะ
เมืองกบิลพัสดุ์
(๔.) กษัตริย์ถูลี
เมืองอัลกัปปะ
(๕.) กษัตริย์โกลิยะ
เมืองรามคาม
(๖.) มหาพราหมณ์
เมืองเวฏฐทีปกะ และ
(๗.) กษัตริย์มัลละ
เมืองปาวา
ได้ส่งทูตมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
ตอนแรกพวกเจ้ามัลละ แห่งนครกุสินารา ไม่ยอมแบ่งให้จนเกือบจะเป็นชนวน
ให้เกิดสงครามระหว่างพวกเจ้ามัลละกับกษัตริย์และพราหมณ์ทั้ง 7
แคว้นที่มาขอส่วนแบ่ง แต่เหตุการณ์ความขัดแย้งก็ระงับลงได้โดยมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ
“โทณะ” เข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างกษัตริย์ และพราหมณ์เหล่านั้น
ความว่า “ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ขอพวกท่านจงฟังคำอันเอกของข้าพเจ้าพระพุทธเจ้าของเรา ทั้งหลาย
เป็นผู้กล่าวสรรเสริญขันติ การจะสับประหารกันเพราะส่วนพระสรีระ ของ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุคคลเช่นนี้ไม่ดีเลย ขอเราทั้งหลายทั้งปวง
จงยินยอมพร้อมใจยินดีแบ่งพระสรีระออกเป็นแปดส่วนเถิด
ขอพระสถูปจงแพร่หลายไป ในทิศทั้งหลาย
ชนผู้เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุมีอยู่มาก ฯ”
ด้วยวาทะของโทณะพราหมณ์ ทำให้มัลละกษัตริย์ยอมปรองดองกับกษัตริย์และพราหมณ์ โดยตกลงกันให้โทณะพราหม์เป็นผู้จัดการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่แคว้นต่าง ๆ โดยเท่ากัน ซึ่งโทณะพราหมณ์ด้รับทะนานทองที่ใช้ในการตวงพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นที่ระลึก
ในวันอัฏฐมีบูชาหรือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระนั้น นับเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียประทีปที่นำทางให้มวลมนุษย์ก้าวล่วงสังสารวัฏ ดังนั้นเมื่อวันอัฏฐมีบูชาเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาในแต่ละวัด จะได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้นเป็นการเฉพาะภายในวัด แต่วิถีการปฏิบัติกัน มาแต่เมื่อใดนั้น ไม่พบหลักฐาน ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่
ความสำคัญของวันอัฏฐมีบูชา
ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล
หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา
เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลงพระพุทธสรีระ ในวันนี้พุทธศาสนิกชนควรได้ตระหนักว่า ชีวิตมนุษย์คืออะไร และเข้าใจว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นของไม่เที่ยง การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครหนีพ้น จะได้ไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น
ความจริงเหล่านี้เป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงเน้น เป็นของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องที่ควรศึกษามีมากมาย ดังตัวอย่าง เช่น ขันธ์ 5 หลักไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่องความไม่ประมาท
หลักธรรมเรื่องความไม่ประมาท
เป็นอีกเรื่องที่ควรศึกษาและนำมาปฏิบัติ เพราะความไม่ประมาท คือ ความเป็นผู้มีสติอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคุณของความไม่ประมาทและโทษของความประมาทอยู่เสมอว่า ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางนำไปสู่ความตาย บุคคลที่ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย ส่วนผู้ที่ประมาทย่อมเป็นเสมือนผู้ที่ตายแล้ว"
ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทโดยเฉพาะในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานทุกอย่าง โดยเฉพาะนักเรียนหากไม่ประมาท ดูตำราอย่างสม่ำเสมอ ก็จะประสบความสำเร็จในด้านการเรียน และจะเจริญรุ่งเรืองในชีวิตการงานในอนาคตข้างหน้าสืบไป
หลักธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สุจริต 3 หมายถึง ความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งส่งผลให้ผู้กระทำประสบแต่ความสงบสุข สุจริตแสดงออกได้ 3 ทาง คือ
ทางกาย เรียกว่า กายสุจริต หมายถึง ความประพฤติดีที่แสดงออกทางกาย ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์
ทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต หมายถึง ความประพฤติที่เกิดทางวาจา ได้แก่ การเว้นจากการพูดโกหก การเว้นจากการพูดส่อเสียด
ทางใจ เรียก ว่า มโนสุจริต หมายถึง ความประพฤติดีทีเกิดทางใจ ได้แก่ การไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น และเห็นถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม
กิจกรรมวันอัฏฐมีบูชา และการบำเพ็ญกุศลเนื่องในพิธีวันอัฏฐมีบูชา
การบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฏฐมีบูชานี้ มีไม่กี่แห่งที่จัด เพราะในเมืองไทยมักไม่เป็นที่นิยม แม้สมัยก่อน อาจจะ มีงานฉลองในพิธีวันอัฏฐมีบูชาบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ก็เลิกราไปมากแล้ว คงมีไม่กี่วัด เฉพาะในกรุงเทพ ที่ยังจัดพิธี เฉลิมฉลอง ในวันนี้อยู่ เช่นวัดราชาธิวาส ส่วนการบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ก็เหมือนกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ ในบางวัด อาจจะมีการแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดทั้งคืน
บางวัดในบางจังหวัด ยังมีการนิยมบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฎฐมีบูชานี้อยู่บ้าง บางแห่งถึงกับจัดเป็นงานใหญ่ มีการจำลองเหตุการณ์วันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลด้วย เช่น วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
ความเป็นมาของประเพณีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ในบ้านเรานั้น พบว่าเคยมี มานานแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มในสมัยใด โดยสถานที่ที่จัดพิธีนี้อย่างยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกันดี ก็คือ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งในปี 2546 นี้ ประเพณีอัฐมีบูชารำลึก กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-23 พฤษภาคม
ณ เมืองทุ่งยั้งนี้ จะได้รับการสมมติว่าเป็นเมืองกุสินารา ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งจะถูกตกแต่งอย่างสวยงามก่อนถึงวันงานที่ยิ่งใหญ่นี้ มีการสร้างพระบรมศพจำลองของ พระพุทธเจ้า ในพระอิริยาบถ “ไสยาสน์” ด้วยไม้ไผ่สาน พอกด้วยปูนปลาสเตอร์ผสมกระดาษ ห่มพระวรกายด้วย จีวรสีเหลือง ยาว 9 ศอก ประดิษฐานอยู่ภายใต้พระเมรุมาศ ที่สร้างขึ้นอย่างสวยงามสีแดงสลับเหลือง ด้วยฝีมือ ช่างอาวุโสชาวเมืองลับแล
พิธีการสำคัญจะเริ่มขึ้นในวันที่ 23 พ.ค. ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ในช่วงกลางวัน จะมีพิธีสงฆ์การทำบุญตักบาตร พิธีการถวายสลากภัต การสวดพระอภิธรรม เมื่อถึงเวลาค่ำ ประมาณ 20.00 น. จะเริ่มพิธี การจำลองถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการแสดงแสงสีเสียง อย่างยิ่งใหญ่สวยงาม
บรรดาชาวเมืองทุ่งยั้งจะได้รับการสมมติว่าเป็นชาวเมืองกุสินาราในสมัยพุทธกาล ต่างถือดอกไม้ธูปเทียนเข้าร่วมพิธี ภายในงานจะมีโฆษกบรรยายพุทธประวัติ ในช่วงที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน และการถวายพระเพลิง พระบรมศพ มีผู้แสดงเป็นพราหมณ์ เทวดา ตั้งขบวนมาถวายความเคารพ พร้อมอุบาสกอุบาสิกา และที่ขาดไม่ได้ก็คือ พระมหากัสสปะ ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยไว้ว่า หากพระอริยกัสสปะยังไม่มาถวายความเคารพพระบรมศพ พระเพลิงก็จะไม่ไหม้เลย ดังนั้น เมื่อพระสงฆ์ผู้สมมติเป็นพระมหากัสสปะมาเคารพพระบรมศพจำลองแล้ว พระบรมศพจำลอง จะเกิดไฟลุกท่วมขึ้นทันที พลุหลายหลากสีจะถูกจุดทะยานขึ้นเต็มท้องฟ้าอย่างงดงาม ขณะที่เพลิงซึ่งไหม้ พระสรีระจำลองของพระพุทธเจ้ามอดลงทีละน้อย ก็เป็นอันเสร็จพิธี
คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา
ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ.
อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, ปุปผาทิสักกาเร คะเหตวา, อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ถูปัง(ปะฏิมาฆะรัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา.
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา, สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ญาตัพเพหิ คุเณหิ, อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต, สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.
คุณกำลังดู: วันอัฏฐมีบูชา 2566 อ่านประวัติและหลักธรรมของวันอัฏฐมีบูชา
หมวดหมู่: วัยรุ่น