วิธีการเขียนเรซูเม่ (Resume) ที่เน้นเนื้อหา สร้างความประทับใจให้กับผู้ว่าจ้างงาน
สิ่งที่สำคัญสำหรับการหางานนั้นก็คือ เรซูเม่ (Resume) ซึ่งเรียกว่าเป็นตัวแทนในการนำเสนอตัวตนของเราให้กับบริษัทที่เราสนใจได้รู้จักและศึกษาตัวตนของเราให้มากขึ้นเพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการคัดเลือกเราเข้าทำงานนั่นเอง
ในบางครั้งการเขียนเรซูเม่ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับบางคน ที่ยังไม่รู้และไม่เข้าใจว่าควรใส่อะไรลงไปในนั้นบ้าง ดังนั้น Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาศึกษากันหน่อย ว่าองค์ประกอบเรซูเม่มีอะไรบ้าง กับ วิธีการเขียน เรซูเม่ ที่เน้นเนื้อหา สร้างความประทับใจให้กับผู้ว่าจ้างงาน
วิธีเขียนเรซูเม่ (Resume)
องค์ประกอบของ เรซูเม่ (Resume) อาจแบ่งได้เป็น 7 ส่วน ดังนี้
- ประวัติส่วนตัว (Personal Information)
- ข้อมูลส่วนตัว ยศ/ตำแหน่ง ชื่อ-นามสกุล
- น้ำหนัก ส่วนสูง (จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่บางตำแหน่งต้องใช้)
- ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ e-mail address
- รูปถ่ายสุภาพ (ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องแบบ แต่ต้องแต่งกายและมีท่าทางสุภาพ)
- ประวัติการศึกษา (Education)
(เรียงลำดับจากสูงสุด)
- ปริญญาเอก
- ปริญญาโท
- ปริญญาตรี (ถ้ามีเกียรตินิยม ใส่ด้วย)
- ประกาศนียบัตรทีผ่านหลักสูตรอบรม
- ทุนการศึกษา ที่ได้รับ หรือทุนวิจัยในระดับอุดมศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษา
- ระดับประถมศึกษา
หมายเหตุ ระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษา ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้
- จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career
Objective)
กล่าวถึงความน่าสนใจของงานตำแหน่งงาน หรือเป้าหมายในการทำงานของผู้สมัคร ส่วนนี้อาจมีผลต่อการพิจารณาเงินเดือนและตำแหน่งงาน
- ประสบการณ์การทำงาน (Work Experience)
- ช่วงเวลา ตำแหน่งและบริษัทที่เคยร่วมงาน
- ช่วงเวลา ตำแหน่งและบริษัทที่เคยฝึกงาน
- ช่วงเวลา รายละเอียดงานที่เคยทำ
- ช่วงเวลา กิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่เคยทำตอนเรียน เช่น งานอาสา
งานออกค่าย โครงการประกวดไอเดียต่าง ๆ เป็นต้น
หมายเหตุ ควรลำดับช่วงเวลาจากปัจจุบัน ไปถึงอดีต
- ทักษะและความสามารถพิเศษ (Skills)
- การใช้ภาษา (ควรบอกระดับว่า ดี ปานกลาง หรือพอใช้ได้)
- การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
- การขับรถ
- ทักษะอื่น ๆ เช่น ดนตรี กีฬา งานอดิเรก เป็นต้น
หมายเหตุ พิจารณาการระบุรายละเอียดตามตำแหน่งงานที่สมัคร
- รางวัลแห่งความสำเร็จต่างๆ (Honors/
Awards)
- การประกวดแบบ
- การร่วมโครงการต่าง ๆ
หมายเหตุ ควรลำดับช่วงเวลาจากปัจจุบัน ไปถึงอดีต
-
บุคคลที่สามารถรับรองหรือให้ข้อมูล
ระบุชื่อบุคคลที่สามารถรับรองหรือให้ข้อมูลให้กับบริษัทที่สมัครงาน โดยต้องระบุ ชื่อ-นามสกุล และช่องทางการติดต่อต่าง ๆ
ส่วนใหญ่นักศึกษาจบใหม่ จะอ้างอิงถึงอาจารย์ หรือผู้ที่เคยทำงานแล้วสามารถอ้างอิงถึงผู้บังคับบัญชาในอดีตได้ แต่ไม่ควรอ้างอิงถึงบุคคลในครอบครัว
คำแนะนำ เรซูเม่ (Resume) ที่ดี ควรกระชับและจบใน 1 หน้า หรือถ้ายาวมากก็ไม่ควรเกิน 2 หน้า ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ส่วน ตัดออกได้
คุณกำลังดู: วิธีการเขียนเรซูเม่ (Resume) ที่เน้นเนื้อหา สร้างความประทับใจให้กับผู้ว่าจ้างงาน
หมวดหมู่: วัยรุ่น