วิธีคำนวณค่าโดยสาร BTS แบบใหม่ คำนวณง่ายๆ ไม่สับสนอย่างที่คิด

วิธีคำนวนค่าโดยสาร BTS แบบใหม่ คิดแบบส่วนต่อขยาย ต้องคิดยังไง มาหาคำตอบกัน

วิธีคำนวณค่าโดยสาร BTS แบบใหม่ คำนวณง่ายๆ ไม่สับสนอย่างที่คิด

รถไฟฟ้า BTS แบ่งออกเป็น 6 ส่วน แบ่งออกเป็น

  • ส่วน 1
  • ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต)
  • ส่วน 2
  • BTS ส่วนสัมปทานเริ่มแรก ซึ่งเปิดบริการตั้งแต่ปี 2542 มี 2 สาย คือสายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) และสายสีลม (สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน)
  • ส่วน 3
    ส่วนต่อขยายสายสีลม (กรุงธนบุรี-วงเวียนใหญ่)
  • ส่วน 4
    ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (บางจาก-แบริ่ง)
  • ส่วน 5
    ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (สำโรง-เคหะฯ)
  • ส่วน 6
    ส่วนต่อขยายสายสีลม (โพธิ์นิมิตร-บางหว้า)

การคำนวณค่าโดยสารแบบใหม่ จะแบ่งเป็น 4 โซน คือ

  • โซนที่ 1 รถไฟฟ้า BTS ส่วนหลัก สายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) และ สายสีลม (สนามกีฬาฯ-วงเวียนใหญ่)
  • โซนที่ 2 ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงสถานีคูคต 16 สถานี
  • โซนที่ 3ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีบางจากถึงสถานีเคหะฯ 14 สถานี
  • โซนที่ 4 ส่วนต่อขยายสายสีลม ตั้งแต่สถานีโพธิ์นิมิตรถึงสถานีบางหว้า 4 สถานี

1190x1612_map01_n17

การคำนวณค่าโดยสารแบบใหม่ จะสามารถคำนวณได้ตามนี้

โซนที่ 1 รถไฟฟ้า BTS ส่วนหลัก สายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) และ สายสีลม (สนามกีฬาฯ-วงเวียนใหญ่)

คิดค่าโดยสาร 16-44 บาท โดยอิงราคาตามประกาศของ BTS (เนื่องจากยังเป็นสัมปทานของ BTS อยู่)

โดยคิดเป็น จำนวนสถานีดังนี้

0-1 สถานี 2 สถานี 3 สถานี 4 สถานี 5 สถานี 6 สถานี 7 สถานี 8 สถานีขึ้นไป
16 บาท 23 บาท 26 บาท 30 บาท 33 บาท 37 บาท 40 บาท 44 บาท

 

โซนที่ 2 ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงสถานีคูคต

คิดค่าโดยสารแรกเข้า 15 บาท บวกค่าระยะทางสถานีละ 3 บาท สูงสุด 45 บาท

โซนที่ 3 ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีบางจากถึงสถานีเคหะฯ

คิดค่าโดยสารแรกเข้า 15 บาท บวกค่าระยะทางสถานีละ 3 บาท สูงสุด 45 บาท

โซนที่ 4 ส่วนต่อขยายสายสีลม ตั้งแต่สถานีโพธิ์นิมิตรถึงสถานีบางหว้า

คิดค่าโดยสารแรกเข้า 15 บาท บวกค่าระยะทางสถานีละ 3 บาท สูงสุด 24 บาท

เมื่อมีการเดินทางข้ามโซน จะมีการคิดค่าโดยสารตามระยะทางของแต่ละโซนมาบวกกัน แล้วทำการหักลบด้วยค่าแรกเข้า เพื่อให้มีการเก็บค่าแรกเข้าระบบครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น หากเดินทาง 2 โซน จะได้ลดค่าแรกเข้า 15 บาท หากเดินทาง 3 โซน จะได้ลดค่าแรกเข้า 30 บาท

ยกตัวอย่างวิธีคำนวณค่าโดยสาร BTS แบบใหม่

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ-ทองหล่อ

  • N17 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ > สถานีห้าแยกลาดพร้าว N9 นับเป็น 1 โซน
    ฟรีค่าแรกเข้าจาก 15 บาท + 27 บาท (9 สถานี สถานีละ 3 บาท คิดค่าแรกเข้ากับอัตราค่าบริการรถไฟฟ้า BTS ส่วนหลัก)
  • N8 สถานีหมอชิต > สถานีทองหล่อ E6 นับเป็น 1 โซน
    ค่าโดยสารตามอัตรา BTS 8 สถานีขึ้นไป ราคา 44 บาท

รวมกันเป็น 2 โซน ราคา 71 บาท

สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-สถานีห้าแยกลาดพร้าว

  • N13 สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ > N9 สถานีห้าแยกลาดพร้าว นับเป็น 1 โซน
    ค่าแรกเข้า 15 บาท + 12 บาท (4 สถานี สถานีละ 3 บาท)

รวมกันเป็น 1 โซน ราคา 27 บาท

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ-สถานีสำโรง

  • N17 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ > สถานีห้าแยกลาดพร้าว N9 นับเป็น 1 โซน
    ฟรีค่าแรกเข้าจาก 15 บาท + 27 บาท (9 สถานี สถานีละ 3 บาท คิดค่าแรกเข้ากับอัตราค่าบริการรถไฟฟ้า BTS ส่วนหลัก)
  • N8 สถานีหมอชิต > สถานีอ่อนนุช E9 นับเป็น 1 โซน
    ค่าโดยสารตามอัตรา BTS 8 สถานีขึ้นไป ราคา 44 บาท
  • E10 สถานีบางจาก > E15 สถานีสำโรง
    ฟรีค่าแรกเข้าจาก 15 บาท + 18 บาท (6 สถานี สถานีละ 3 บาท คิดค่าแรกเข้ากับอัตราค่าบริการรถไฟฟ้า BTS ส่วนหลัก)

รวมกันเป็น 3 โซน ราคา 89 บาท

คุณกำลังดู: วิธีคำนวณค่าโดยสาร BTS แบบใหม่ คำนวณง่ายๆ ไม่สับสนอย่างที่คิด

หมวดหมู่: วัยรุ่น

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด