อันตรายจาก “ยาคลายกล้ามเนื้อ” หากกินไม่ถูกวิธี
ปวดเมื่อยได้ยาคลายกล้ามเนื้อช่วยไว้ทุกครั้ง แต่หากกินบ่อยๆ ก็อันตรายได้เหมือนกัน
ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ก็อาจเสี่ยงมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ทั้งจากการออกกำลังกาย การทำงาน อุบัติเหตุ และอื่นๆ ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยมีทั้งแบบกิน ทา ฉีด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะราคาไม่สูง และได้ผลดี คือยาคลายกล้ามเนื้อแบบกิน จนหลายคนอาจ “เสพติด” การกินยาคลายกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ ปวดเมื่อไร กินเมื่อนั้น แต่การกินยาคลายกล้ามเนื้อบ่อยๆ อาจเสี่ยงอันตรายในแบบที่เราไม่รู้ตัวได้
อันตรายจาก “ยาคลายกล้ามเนื้อ”
ยาคลายกล้ามเนื้อที่นิยมกันในประเทศไทย มีทั้ง Orphenadrine, Tolperisone, Eperisone และ Baclofen มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวด ตึง หด ของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย การวางท่าทางของร่างกายไม่ถูกต้อง เช่น เอี้ยวตัวผิดจังหวะ และการอยู่ในท่าทางเดิมนานเกินไป เช่น ยืนขาข้างเดียวนานเกินไป ยกของหนักนานเกินไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ยาคลายกล้ามเนื้อเหล่านี้มักมีผลข้างเคียง เช่น
- มึนงง ง่วงซึม
- ท้องผูก
- ปาก และคอแห้ง
นอกจากนี้ การรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงเป็นพิษต่อไต และหากไตได้รับสารพิษจากยาเป็นจำนวนมากและการสะสมที่ยาวนาน ก็ทำให้เกิดโรคไตที่รุนแรงถึงขั้นไตวายได้อีกด้วย
ดังนั้น หากมีการรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ จึงมีข้อควรระวังที่ควรปฏิบัติตาม ดังนี้
- แจ้งแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้ง
หากมียาตัวไหนที่แพ้
-
ระมัดระวังในการรับประทานยาหากต้องทำงานกับเครื่องจักร ขับรถ
หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิสูง ควรปรึกษาแพทย์ว่าควรรับประทานยาอย่างไร
ตอนไหน เพื่อไม่ให้ยาออกฤทธิ์ขณะทำงาน
หรือเลี่ยงใช้ยาตัวอื่นที่ผลข้างเคียงน้อยกว่า
(แม้ว่าอาจจะออกฤทธิ์เบากว่า แต่จะปลอดภัยในการรับประทานมากกว่า)
- หากลืมกินยาตามเวลาที่แพทย์ระบุ
ให้กินทันทีที่นึกขึ้นได้ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดของยา
- หากอาการปวดลดลง
ไม่จำเป็นต้องกินยาต่อจนหมด สามารถหยุดกินยาได้ทันทีที่หายปวด
-
ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถกินยาคลายกล้ามเนื้อได้
แต่ควรแจ้งแพทย์ และสอบถามวิธีการกินอย่างละเอียด
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
คุณกำลังดู: อันตรายจาก “ยาคลายกล้ามเนื้อ” หากกินไม่ถูกวิธี
หมวดหมู่: รู้เรื่องยา