ย้อนอดีตเครื่องยนต์ V12 แบบไร้ระบบอัดอากาศ
จิตวิญญาณเร้าใจของ Lamborghini ย้อนอดีต....เครื่องยนต์ V12 ไร้ระบบอัดอากาศ ก่อนก้าวสู่ยุคไฮบริด
Sant’Agata Bolognese - เครื่องยนต์ V12 แบบไม่มีระบบอัดอากาศ เป็นขุมกำลังสำคัญของ Lamborghini มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 จนถึงทุกวันนี้ มีการผลิตเครื่องยนต์ V12 เพียงแค่ 2 รุ่นที่ถูกวางอยู่ในรถซุปเปอร์สปอร์ตคาร์ รุ่นแรกเป็นเครื่องยนต์พื้นฐานสำหรับรถแข่งที่ถูกปรับแต่ง สำหรับใช้วิ่งบนถนน เป็นผลงานการออกแบบของ Giotto Bizzarrini เปิดตัวครั้งแรกในรถยนต์ Lamborghini รุ่นแรกอย่าง 350 GT ส่วนเครื่อง V12 รุ่นที่สอง ถูกออกแบบใหม่ทั้งหมด แต่ยังคงยึดแนวคิดเชิงเทคนิคดั้งเดิม ติดตั้งครั้งแรกในรถสปอร์ตรุ่นใหญ่อย่าง Aventador เปิดตัวในปี ค.ศ. 2011 ถือเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีครั้งสำคัญของแบรนด์กระทิงเปลี่ยว สร้างมาตรฐานใหม่ทั้งในด้านกำลังเครื่องยนต์และประสิทธิภาพ
เครื่องยนต์รุ่นแรก ผ่านการปรับแต่งพัฒนาต่อยอดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ให้สูงขึ้น มีการคำนึงถึงเรื่องการประหยัดเชื้อเพลิง ลดการปล่อยไอเสีย ช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1963-2010 เครื่องยนต์รุ่นนี้ ครั้งแรกถูกวางด้านหน้าของรถสปอร์ตรุ่น 350 GT, 400 GT และ Espada การพัฒนาวัสดุอะลูมิเนียมในส่วนฝาสูบ ข้อเหวี่ยง และลูกสูบ ลดน้ำหนักให้เหลือ 232 กิโลกรัม ต่อมาถูกวางหลังคนขับบริเวณกลางตัวรถ โดยหมุนแกน 90 องศาตามแนวขวาง ในรถสปอร์ตเครื่องวางกลางลำรุ่น Miura ต่อมาเครื่องยนต์ถูกปรับให้วางทำมุม 90 องศา โดยวางเอาไว้กลางตัวถังส่วนท้ายตามแนวยาว เริ่มใช้ในรถสปอร์ตเครื่องวางกลางลำรุ่น Countach เพื่อเพิ่มสมดุลของการกระจายน้ำหนักให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อเครื่องยนต์ถูกพัฒนาให้มีความจุมากขึ้น จาก 3.5 ลิตรในรุ่น 350 GT เป็น 6.5 ลิตรในรุ่น Murciélago ทำให้มีความจำเป็นจะต้องลดน้ำหนักลง Lamborghini เริ่มใช้วัสดุน้ำหนักเบาและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อลดน้ำหนักของเครื่องยนต์บนโครงแชสซี ทุกวันนี้ เครื่องยนต์ V12 ยังคงเป็นหัวใจของ Aventador, Sián และ Countach LPI 800-4 รวมถึง Essenza SCV12 รถสปอร์ตเจ้าสนามที่ให้กำลังเครื่องสูงถึง 830 แรงม้า
จุดกำเนิด
นับตั้งแต่จุดเริ่มต้น เครื่องยนต์ V12 ของ Lamborghini
ถูกยกย่องให้เป็นขุมพลังที่มีความประณีตและทำหน้าที่ส่งแรงบิดได้อย่างยอดเยี่ยมถูกนำมาวางในรถรุ่นต่าง
ๆ ของ Lamborghini โดยบิซซารินี รังสรรค์เครื่องยนต์ V12
เพื่อสร้างโอกาสให้บริษัทฯ ก้าวเข้าสู่การแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต แต่
Ferruccio Lamborghin
ได้นำมาทำเป็นเครื่องยนต์สำหรับการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่
จนกลายเป็นเรื่องราวแห่งขุมกำลังที่น่าหลงใหลและใกล้จะถึงเวลาสูญพันธุ์จากปัญหาด้านมลพิษ
เรื่องราวของ Lamborghini เริ่มต้นขึ้นจากเครื่องยนต์ V12 Maurizio Reggiani อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค Lamborghini กล่าว เห็นได้ชัดว่าในช่วงทศวรรษ 1960 เครื่องยนต์ V12 เป็นตัวแทนด้านเทคโนโลยี ความหรูหรา และคุณลักษณะของรถยนต์สปอร์ตที่แท้จริง หลังจากถูกนำมาใช้ใน Lamborghini 350 GT และรถสปอร์ตรุ่นต่อยอด เครื่องยนต์ V12 ถูกนำมาวางไว้ในรถสปอร์ตรุ่น Miura ในปี 1966 และ Countach ในปี 1971 รวมถึง Diablo ในปี 1990 ก่อนที่จะถูกใช้ในรถยนต์รุ่นสุดท้าย นั่นก็คือ Murciélago เครื่องยนต์รุ่นนี้ พิสูจน์ให้เห็นถึงสมรรถนะที่ดีเยี่ยม ทีมวิศวกร ออกแบบเครื่องยนต์ในเวอร์ชันความจุ 5.2 ลิตร สำหรับใช้ในซุปเปอร์เอสยูวีรุ่นแรกของลัมโบร์กินีอย่าง LM 002 ในปี 1986 และต่อมามีการผลิต LM 002 เวอร์ชั่นพิเศษซึ่งเป็นเครื่องยนต์ V12 ขนาด 7.2 ลิตร ที่ให้กำลังเครื่องถึง 700 แรงม้า ซึ่งโดยปกติจะใช้ใน เรือยนต์สำหรับการแข่งขันนอกชายฝั่งเท่านั้น
การคิดค้นเพลาลูกเบี้ยวคู่ ซึ่งเป็นการออกแบบเพลาลูกเบี้ยวแบบใหม่สำหรับเครื่องยนต์เป็นครั้งแรก เพิ่มมุมองศารูปตัว “V” ของเครื่องพร้อมจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำลง โดยเลือกติดตั้งเครื่องยนต์แนวขวางบริเวณกลางส่วนท้ายของรถยนต์ Miura เพื่อให้มีการกระจายน้ำหนักที่ดีขึ้นและทำให้ระยะช่วงล้อสั้นลง โครงของกระปุกเกียร์และเฟืองท้ายยังถูกผสานเป็นหนึ่งเดียวกับระบบส่งกำลัง เพื่อช่วยให้การประกอบชิ้นส่วนต่างๆ โดยรวมของซุปเปอร์สปอร์ตคาร์ระดับตำนานนี้มีความกะทัดรัดและมั่นคงยิ่งขึ้น
การกระจายน้ำหนัก
เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการกระจายน้ำหนักใน Lamborghini Countach
ทำให้ทีมนักออกแบบเลือกใช้เครื่องยนต์แบบเดิม
แต่เปลี่ยนตำแหน่งติดตั้ง มาเป็นบริเวณกลางลำ โดยวางทำมุม 90 องศา
เป็นการปรับมุมจาก 350 GT ถึง 180
องศามีการติดตั้งกระปุกเกียร์ที่ด้านหน้าเครื่องยนต์
ในทางปฏิบัติก็คือ “ชุดเกียร์อยู่กึ่งกลางของรถ” เวอร์ชั่นสุดท้าย
เครื่องยนต์ของ Countach เพิ่มความจุเป็น 5.2 ลิตร ต่อมาเครื่องยนต์
V12 ใน Countach รุ่นปี 1986 ก็ได้รับการอนุญาตให้ขายใน สหรัฐอเมริกา
เหตุการณ์ครั้งสำคัญนี้
สำเร็จได้ด้วยการใช้ระบบหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งนำมาทดแทนการใช้คาร์บูเรเตอร์
เพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดเรื่องการลดมลพิษที่เข้มงวดมากกว่าในสหรัฐอเมริกา
ความจุที่เพิ่มขึ้น ทำให้เครื่องยนต์ยาวขึ้น ซึ่งหมายความว่า ต้องย้ายจุดศูนย์ถ่วงไปที่ส่วนท้ายของตัวรถ การทำเช่นนั้น ทำให้เกิดความยากลำบากในการขับรถอาจเกิดอาการท้ายปัดมากขึ้น Lamborghini ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการวางตำแหน่งเครื่องยนต์ใหม่ทั้งหมด โดยใช้เครื่องยนต์ เป็นอุปกรณ์สำคัญเพื่อเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของรถ ทำให้เครื่องยนต์ V12 ใน Countach ยังคงถูกนำมาปรับใช้จนถึงทุกวันนี้
การพัฒนาต่อยอดเครื่องยนต์ V12 เริ่มขึ้นในปี 1985 เพื่อนำไปติดตั้งกับซุปเปอร์สปอร์ตคาร์รุ่นใหม่อย่าง Diablo ซึ่งเปิดตัวในปี 1990 ความจุเครื่องยนต์ที่เพิ่มขึ้นเป็น 5.7 ลิตร ให้กำลังถึง 492 แรงม้าที่ 6,800 รอบต่อนาที Lamborghini Diablo เวอร์ชั่น VT เผยโฉมในปี 1993 กลายเป็นซุปเปอร์สปอร์ตคาร์รุ่นแรกของ Lamborghini ที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ AWD ในขณะเดียวกัน Diablo SV-R ก็ได้ถูกพัฒนาเพื่อลงแข่งขันในรายการ Super Sport Trophy โดยเปิดตัวครั้งแรกในฐานะรถแข่งของรายการ 24 Hours of Le Mans ปี 1996 ซึ่งมีกองทัพ Diablo SV-R กว่า 32 คันเข้าร่วมแข่งขัน ถือเป็นโปรแกรมที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ Lamborghini เคยเข้าร่วม ก่อนที่จะกลายเป็นรายการ Super Trofeo Championship ซึ่งจัดครั้งแรกในปี 2009
Diablo GT รุ่นปี 1998 โดยพื้นฐานเป็น Diablo รุ่นแรก ก่อนรุ่นที่สอง ซึ่งเปิดตัวในปี 1999 มีการอัปเกรดทางเทคนิคของระบบส่งกำลัง ใช้ลิ้นปีกผีเสื้อ (Throttle Body) สำหรับแต่ละกระบอกสูบ จุดประสงค์เพื่อเพิ่มการตอบสนองของคันเร่ง การเปลี่ยนแปลงนี้ เหมือนก้าวสู่อนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาติดตั้งใน Huracán GT3 รุ่นใหม่ที่กำลังจะลงทำการแข่งขันในปี 2023
หลังจาก Audi เข้าควบรวมกิจการของ Lamborghini ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงก็เริ่มต้นขึ้น Audi รู้ดีว่า Lamborghini ต้องการรักษาอัตลักษณ์และความโดดเด่นระดับเอ็กซ์คลูซีฟเอาไว้ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Audi และ Lamborghini ที่ชัดเจนก็คือ เคารพความต้องการของกันและกัน นับตั้งแต่วันแรกของการผนวกแบรนด์เข้าไปอยู่ภายใต้ร่มเงาของ Audi เป้าหมายสร้างสมดุลให้ทั้งสองบริษัทสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ยานยนต์ผ่านการส่งเสริมจุดเด่นที่แตกต่างกันของทั้งสองแบรนด์ เอกลักษณ์ที่แตกต่างของ Lamborghini เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของ Audi สิ่งที่นำเสนอผ่านการพัฒนาเครื่องยนต์ V12 สามารถยกระดับประสิทธิภาพเครื่องยนต์ V10 ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในรถสปอร์ตรุ่น Gallardo รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆบนแนวทางอันเป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของ Lamborghini
เมื่ออยู่ภายใต้เจ้าของรายใหม่ จึงมีการใช้แนวทางที่แตกต่างเพื่อพัฒนาต่อยอดเครื่องยนต์ V12 ซึ่งจากการพยายามเพิ่มกำลังเครื่องให้ได้สูงสุด ก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญในด้านประสิทธิภาพเชิงปริมาณเพื่อให้สอดคล้องตามกฎข้อบังคับที่เริ่มมีความเข้มงวดมากขึ้น ตัวอย่างหนึ่งคือรถยนต์ Murciélago ซึ่งเผยโฉมในปี 2001 ด้วยเครื่องยนต์ V12 ความจุ 6.2 ลิตร ที่ให้กำลังเครื่อง 580 แรงม้า และต่อมาได้รับการอัปเดตในปี 2007 เป็นเครื่องยนต์ความจุ 6.5 ลิตร และมอบกำลังเครื่องได้อย่างน่าประทับใจถึง 670 แรงม้าเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังสามารถทำให้ตัวรถเบางลงได้ถึง 100 กก. รวมถึงมีการอัปเกรดเครื่องยนต์ในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ดรายปั๊ม ซึ่งช่วยให้ลัมโบร์กินีสามารถลดระยะระหว่างเพลาข้อเหวี่ยงและด้านล่างของตัวรถ จึงช่วยปรับปรุงการบังคับรถให้ดียิ่งขึ้น
การพัฒนาเครื่องยนต์ V12 ใน Murciélago ทำให้ Lamborghini ค้นพบตำแหน่งที่ชัดเจนของตัวเองภายในอาณาจักรของ Audi การตัดสินใจออกแบบเครื่อง V12 ใหม่ทั้งหมด ทำให้ทีมนักออกแบบของ Lamborghini ตั้งเป้าหมายและสร้างประโยชน์จากโอกาสใหม่ ในช่วงเวลา 45 ปีที่ผ่านมา
งานออกแบบใหม่ทุกรายละเอียดของ Aventador
“เมื่อคุณเริ่มออกแบบเครื่องยนต์ใหม่หมดตั้งแต่ต้น
สิ่งที่คุณต้องพิจารณาตั้งแต่เริ่มแรกคือเงื่อนไขขอบเขตที่คุณต้องรักษาสภาพการใช้งานในทุกรูปแบบและจากทุกมุมมอง”
เรจจิอานี กล่าว Aventador เปรียบเสมือนการพิสูจน์ว่า Lamborghini
สามารถบรรลุเป้าหมาย ทั้งในด้านกำลังเครื่อง น้ำหนัก และประสิทธิภาพ
รวมถึงความทนทานที่บริษัท ฯ ต้องการ ผลลัพธ์เห็นได้ชัด เพราะ
สามารถจำหน่าย Aventador ได้มากเป็นสองเท่า
จากที่คาดการณ์เอาไว้ในช่วงแรก ถือเป็นตัวชี้วัด ความสำเร็จของ
Aventador แม้มีการปรับแต่งและเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเวลานานหลายปี
แต่จากมุมมองทางวิศวกรรมแล้ว เครื่องยนต์V12
ยังคงศักยภาพเหมือนเดิมทุกประการ”
ในช่วงที่เริ่มทำงานกับรถยนต์ Murciélago มีเครื่องยนต์ 6.2 ลิตร และกำลังเครื่องเฉลี่ย 620-640 แรงม้า แต่กับ Aventador มีการเริ่มต้นด้วยเครื่อง 6.5 ลิตร กำลังเครื่องถึง 700 แรงม้า ตลอดอายุของรถยนต์รุ่นนี้ จำเป็นต้องเพิ่มกำลังเครื่องยนต์อย่างน้อย 10% ถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เนื่องจาก Lamborfhini ต้องผลักดันให้เครื่องยนต์ไซส์ยักษ์ ผ่านมาตรฐานการปล่อยไอเสีย Euro 5 อย่าลืมว่านี่เป็นโครงการผลิตเครื่องยนต์ Lamborghibi รูปแบบใหม่โครงการแรก ภายใต้ร่มเงาของ Audi ทำให้ Lamborfhini ต้องเจอกับข้อกำหนดต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นโดยกลุ่ม VW”
เครื่องยนต์ของ Aventador เปิดตัวในปี 2011 ให้กำลังเครื่องยนต์ 690 แรงม้า ที่ 8,250 รอบต่อนาที ความจุ 6.5 ลิตร ต่อมามีการปรับแต่งสำหรับใช้กับ Lamborghini รุ่น LP 700-4 ในปี 2013 รุ่น LP 750-4 ในปี 2015 และรุ่น Superveloce ในปี 2016 รุ่น SVJ ในปี 2019 กำลังเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นเป็น 759 แรงม้า ในปี 2021 รุ่น Ultimae ซุปเปอร์คาร์สายถนนรุ่นสุดท้ายในตระกูล Aventador มีกำลังเครื่อง 780 แรงม้า เครื่องรุ่นเดียวกันนี้ยังถูกติดตั้งใน Essenza ซึ่งใช้วิ่งในสนามแข่งเท่านั้นและไม่ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดด้านมลพิษสำหรับการใช้งานบนถนน ในการปรับแต่ง เพิ่มกำลังเครื่องเป็น 830 แรงม้า เป็นความประทับใจในแวดวงวิศวกรรมยุคใหม่อย่างแท้จริง การนำเสนอเครื่องยนต์ V12 รุ่นสูงสุดท้ายอยู่ใน Essenza V12 เครื่องยนต์แบบเดียวกัน แต่ให้กำลัง 830 แรงม้า เครื่องยนต์ยังเหมือนเดิม แต่แรงดันย้อนกลับของท่อไอเสียลดลง เนื่องจากไม่ต้องติดฟิลเตอร์และอุปกรณ์ฉนวนกันเสียงส่วนฟิลเตอร์อากาศเข้า ทำให้มีอัตราการลดความดันที่น้อยลง ได้ประสิทธิภาพเชิงปริมาณที่สูงขึ้น จากมุมมองด้านการผลิต เครื่องยนต์ V12 คือข้อพิสูจน์ว่าการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น สามารถสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์ ทั้งแง่สุนทรียศาสตร์ และกำลังเครื่องยนต์ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยอดเยี่ยม
Aventador
เป็นรถยนต์รุ่นสุดท้ายของLamborghiniที่มาพร้อมเครื่องยนต์ V12
แบบไม่มีระบบอัดอากาศ ก่อนที่แบรนด์กระทิงเปลี่ยว
จะก้าวเข้าสู่ยุคเครื่องยนต์ไฮบริด ซึ่งจะเปิดตัวรถรุ่นใหม่
ในไตรมาสแรกของปี 2023 นี้.
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/
คุณกำลังดู: ย้อนอดีตเครื่องยนต์ V12 แบบไร้ระบบอัดอากาศ
หมวดหมู่: รถยนต์