“ย้อมผม-ทำสีผม” บ่อย อันตรายแค่ไหน ?
ใครที่ชอบทำสีผมบ่อย ๆ ฟังทางนี้ ทำบ่อยแค่ไหนถึงเรียกว่า “อันตราย”
เทรนด์การเปลี่ยนสีผมไม่ได้เป็นที่นิยมเฉพาะกับคุณผู้หญิง แต่ยังเป็นเทรนด์ที่คุณผู้ชายหลายคนให้ความสนใจเช่นเดียวกัน ยิ่งด้วยเทคโนโลยีในการเปลี่ยนสีผมทำได้ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น สามารถทำที่ร้านก็ได้ ซื้อมาทำเองที่บ้านก็ได้ จึงทำให้การเปลี่ยนสีผมทำได้ดั่งใจมากขึ้น
แต่การเปลี่ยนสีผมบ่อย ๆ จะเกิดอันตรายอะไรกับสุขภาพของเราหรือไม่ ?
“ย้อมผม-ทำสีผม” บ่อย อันตรายแค่ไหน ?
ข้อมูลจาก พญ. ศกุนี นิรันดร์วิชย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาตจวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช ระบุว่า การย้อมสีผมบ่อย ๆ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนี้
- อาจเกิดการกระตุ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาว
ทำให้เกิดการอักเสบ หรือผื่นแพ้สัมผัสได้
- สารในน้ำยาย้อมผม
ยิ่งมีความเข้มของสีมาก ยิ่งทำให้เกิดการแพ้ได้มาก
- ควรหลีกเลี่ยงยาย้อมผมที่มีสาร
Resorcinol และพาราฟีนีลีนไดอะมีน PPD ในปริมาณมาก
เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัสได้
- หากมีปัญหากับผิวหนังบนนังศีรษะ เช่น มีแผล มีรังแคมาก ควรหลีกเลี่ยงการทำสีผม เพราะสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มักอยู่ในยาย้อมผม อาจทำให้หนังศรีษะเกิดอาการระคายเคืองมากขึ้น
อาการของโรคผื่นแพ้สัมผัส
นพ. รัศม์วัฒน์ ดีสม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจตวิทยา ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์ เฉลิมพระเกียรติ ระบุไว้ในรายการ ThaiPBS รู้เท่ารู้ทัน (12 ก.พ.62) ว่า หากมีอาการแพ้สารเคมีในน้ำยาย้อมผม อาจมีอาการผื่นแพ้สัมผัส ที่สามารถพบได้ ดังนี้
- บวม แดง คันหนังศรีษะ
และผิวหนังบริเวณรอบศรีษะ
- อาจเกิดเป็นผื่นลมพิษ
หรือตุ่มน้ำพอง
- อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังจากสัมผัสสารเคมีตัวเดิม ๆ
หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง
ย้อมผม เสี่ยงมะเร็ง ?
ในอดีตราว 20-30 ปีก่อน น้ำยาย้อมผมอาจมีสารเคมีที่ค่อนข้างอันตราย แต่อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ แต่ในปัจจุบันสารดคมีที่ใช้ในน้ำยาย้อมผมค่อนข้างปลอดภัยได้มาตรฐาน จึงมั่นใจได้ว่าไม่มีการพบสารก่อมะเร็งดังกล่าวอีกต่อไป แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากอาการแพ้สารเคทีเกิดขึ้นได้ในบางรายอยู่ดี
ย้อมผมบ่อยแค่ไหน อันตราย-ปลอดภัย ?
ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการวิจัยที่ระบุได้อย่างชัดเจนว่า การย้อมผมบ่อยครั้งแค่ไหนถึงจะเป็นอันตรายต่อร่างกายจริง ๆ แต่แนะนำให้ทำสีผม 1 ครั้งพักผม 3 เดือน ก่อนจะเริ่มทำสีผมได้ใหม่อีกครั้ง (ในกรณีที่เป็นการทำผมสีผมถาวร และกึ่งถาวร ที่เส้นผมผ่านสารเคมีมาอย่างหนัก) และระหว่างพักผมควรบำรุงเส้นผมด้วยการใช้คอนดิชันเนอร์หลังสระผมทุกครั้ง และลดการใช้ความร้อนกับเส้นผม รวมถึงหนังศีรษะด้วย
วิธีดูแลรักษาเส้นผม และหนังศีรษะอย่างถูกต้อง
- ทำความสะอาดเส้นผม
และหนังศีรษะด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพเส้นผมของเรา เช่น
ยาสระผมที่เน้นเรื่องการบำรุงผมแห้ง ผมทำสี ขจัดรังแค
หรือลดความมันบนหนังศรีษะ ฯลฯ
- ไม่ใช้น้ำอุ่นจัดในการสระผม
เพราะอาจทำให้เส้นผม และหนังศีรษะแห้งจนเกินไป
- สระผมวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน
เพื่อรักษาความสะอาดของเส้นผม และหนังศีรษะ โดยไม่ทำให้เส้นผม
และหนังศีรษะแห้งจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการเป่าผมด้วยความร้อน
เพราะอาจทำให้เส้นผม และหนังศีรษะแห้ง และถูกทำลายได้ง่าย
- รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผม
โดยเฉพาะอาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น นมถั่วเหลือง ไข่ ถั่ว เนื้อสัตว์
รวมถึงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักใบเขียว และเครื่องในสัตว์
เป็นต้น
- งดการสูบบุหรี่
เพราะควันบุหรี่อาจทำให้เส้นผมเปราะหักขาดง่าย
และเพิ้มความเสี่ยงในการเกิดผมหงอก
- ไม่ทำสีผมบ่อยจนเกินไป เพื่อลดการรบกวน และทำลายเส้นผม และหนังศีรษะจนเกินไป
คุณกำลังดู: “ย้อมผม-ทำสีผม” บ่อย อันตรายแค่ไหน ?
หมวดหมู่: สุขภาพ