ขับยังไงไม่ให้เกียร์ออโต้พังเร็ว อ่าน....วิธีใช้งานเกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้อง
วิธีขับใช้งานเกียร์ออโต้เพื่อยืดอายุการใช้งาน
การขับรถเกียร์อัตโนมัติ ถ้าเป็นการใช้งานตามปกติทั่วไป ก่อนใส่เกียร์เพื่อเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นเกียร์ D เดินหน้า หรือเกียร์ R ถอยหลัง ต้องเหยียบเบรกทุกครั้ง รถเกียร์ออโต้รุ่นใหม่บางยี่ห้อถ้าไม่เหยียบเบรกก็จะไม่สามารถเลื่อนคันเกียร์ได้ เป็นการออกแบบการใช้งานเพื่อความปลอดภัย
1. เข้าเกียร์ถอยหลัง รถต้องหยุดนิ่ง
การเลื่อนคันเกียร์จาก D ไป R หรือจากตำแหน่งเดินหน้า
ไปที่ตำแหน่งเกียร์ถอย ต้องเหยียบเบรกให้รถหยุดนิ่งสนิทซะก่อน
แล้วค่อยเลื่อน หรือกดคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง R
ถ้ารถกำลังไหลไปข้างหน้าช้าๆ เนื่องจากไม่ได้เหยียบเบรกจนรถหยุดนิ่ง
จะทำให้เฟืองเกียร์สึกหรอเร็วกว่าปกติ
2. อย่าเข้าเกียร์ว่างขณะที่รถกำลังวิ่ง
เมื่อใส่เกียร์ว่างขณะที่รถกำลังวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงยาว
หรือทางลงเนิน ชิ้นส่วนท่ีเคลื่อนไหวของระบบเกียร์กำลังหมุนอยู่
แต่ไม่มีแรงดันของน้ำมันหล่อลื่นในระบบเข้าไปหล่อเลี้ยงจากการยัดเกียร์
N ซึ่งเป็นเกียร์ที่ใช้จอด เกียร์จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
และอาจเกิดความเสียหายตามมา ด้วยเหตุนี้เอง
จึงมีคำเตือนไม่ให้ลากรถเกียร์ออโต้ด้วยเกียร์ว่างหรือเกียร์ N
หากมีความจำเป็นจะต้องลากจริงๆ
เพราะหารถรถสไลด์ไม่ได้ก็ควรจะใช้ความเร็วต่ำในการลากจูง
ควรลากในระยะทางสั้นๆ
เท่านั้นและควรเติมน้ำมันเกียร์ลงไปเพิ่มก่อนลงมือลากจูง
ซึ่งเป็นเรื่องที่วุ่นวายมาก วิธีลากที่ปลอดภัยคือ
ยกส่วนที่ล้อขับเคลื่อนให้ลอยพ้นจากผิวถนน
รถเกียร์ออโต้ขับหน้าก็ให้ยกส่วนหน้า
รถเกียร์ออโต้ขับหลังก็ยกส่วนหลังขึ้นให้พ้นจากพื้น
เพื่อป้องกันเกียร์อัตโนมัติสึกหรอเสียหายขณะทำการลากจูงไปอู่หรือศูนย์บริการ
ทุกวันนี้ บริการรถสไลด์มีทั่วเกือบทุกจังหวัด
ช่วยป้องกันเกียร์พังได้หากรถเกิดปัญหาขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้
ต้องยกหรือลากจูงไปอู่อย่างเดียวก็ควรพึ่งพาบริการรถยกจะดีที่สุด
3. อย่าลดตำแหน่งเกียร์ลงต่ำ
หรือเชนเกียร์ลงไปที่เกียร์ต่ำเมื่อวิ่งด้วยความเร็วสูง
การขับบนเส้นทางภูเขาที่ต้องมีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์เพื่อให้รถมีกำลังในการวิ่งขึ้นเนินเขาที่สูงชันหรือขับลงมาจากเนินสูง
ตำแหน่งเกียร์ออโต้บนภูเขา ควรอยู่ในช่วงเกียร์ต่ำ
เกียร์อัตโนมัติ ในตำแหน่งเกียร์ 3-4
จะหน่วงความเร็วช่วยเมื่อรถวิ่งลงเนิน บางเนินสูงชันมาก
อาจต้องเปลี่ยนลงมาถึงเกียร์สอง
แต่ก็ไม่บ่อยครั้งนักที่ต้องใช้งานเกียร์ต่ำวิ่งลัดเลาะลงจากเส้นทางภูเขา
เมื่อขับลงเนินแล้วรถเริ่มมีความเร็วเพิ่มขึ้น
ไม่ควรเปลี่ยนลงไปยังตำแหน่งเกียร์ที่ต่ำมาก
ให้ใช้เบรกช่วยและขับด้วยความเร็วที่ไม่สูงมากจนเกินไป
การเปลี่ยนลงเกียร์ต่ำในขณะที่ใช้รอบสูง อาจเกิดความเสียหาย
นอกจากนั้นยังป้องกันเรื่องของแรงบิดสูงในเกียร์ต่ำที่อาจทำให้รถเกิดอาการลื่นไถล
4. จะเข้าเกียร์ P รถต้องหยุดนิ่งสนิทเท่านั้น
เช่นเดียวกับเกียร์ R หรือเกียร์ถอย เมื่อจะเข้าเกียร์ P เพื่อจอดรถ
ต้องเหยียบเบรกให้รถหยุดนิ่งซะก่อน ถึงจะเลื่อนคันเกียร์จาก D หรือ R
ไปที่ P หากรถยังไหลอยู่แล้วไม่เหยียบเบรกให้จอดนิ่งๆ ก่อน
เล่นยัดเกียร์ P สวนลงไปในขณะที่รถกำลังเคลื่อนตัวช้าๆ
คุณจะได้ยินเสียงเฟืองเกียร์ดังกึก
นั่นหมายถึงความสึกหรอที่เกิดขึ้นกับเฟืองเกียร์
ที่อาจตามมาด้วยความเสียหาย ต้องจ่ายค่าซ่อมโดยไม่จำเป็น
5. ไม่ขับแบบลากเกียร์
ยอมรับว่า สมัยวัยรุ่นเริ่มขับรถใหม่ๆ ก็จะมีความมันในอารมณ์
โดยเฉพาะการขับลากรอบลากเกียร์ ไปที่รอบเครื่องสูงๆ
โดยไม่ยอมเปลี่ยนเกียร์ขึ้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า ในการใช้การปกติ
โหมด D หรือ โหมดออโต้
เกียร์จะทำให้ทุกอย่างตามซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานของระบบเกียร์อัตโนมัติอยู่แล้ว
การเลื่อนคันเกียร์ไปตามจังหวะที่ตัวเองต้องการ
ในจังหวะที่รอบเครื่องยนต์สูงสุด เพื่อหวังผลในด้านอัตราเร่ง
การใช้เกียร์อัตโนมัติในลักษณะดังกล่าวจะทำให้เกียร์ออโต้สึกหรอเร็วกว่าปกติ
ตอนยังไม่พังก็สนุกดีอยู่หรอก แต่พอตอนที่เกียร์พังแล้วเห็นบิลค่าซ่อมเกียร์
ความสนุกแบบสะใจนั้นก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว
6. ไม่กดคันเร่งเพื่อคิกดาวน์บ่อยครั้ง
การคิกดาวน์หรือการใช้คันเร่งกดลงจนสุดในรถเกียร์อัตโนมัติ
เพื่อให้เกียร์ลดตำแหน่งลงไปสำหรับเร่งความเร็วเพื่อแซง
เหมาะสมกับการใช้งานเมื่อจะแซงรถช้าเท่านั้น เอาเป็นว่า
เมื่อจะแซงรถบรรทุกหรือรถพ่วง
ก็ไม่ควรอ้อยอิ่งใช้คันเร่งแบบค่อยเป็นค่อยไป
อันนั้นจะเป็นวิธีการขับแซงรถใหญ่ที่อันตราย เมื่อจะแซงรถช้า
ต้องควรแซงให้ขาด ให้การแซงพ้นรถช้าอย่างรวดเร็ว นั่นก็คือ รีบแซง
แล้วกลับมาใช้ความเร็วรวมถึงช่องทางหลังจากการแซงผ่านพ้นไปแล้วตามที่กฎหมายกำหนด
เมื่อแซงพ้นไปแล้ว ก็ให้ใช้ความเร็วปกติ การคิกดาวน์เล่นบ่อยครั้ง
เกียร์จะทำงานหนักและทำให้มีอุณหภูมิสูงเกินขีดจำกัดของเกียร์
ตามมาด้วยความสึกหรอของชุดคลัตช์ภายในและค่าซ่อมที่แพงจนสะดุ้งละครับ
7. สายพ่วงแบตเตอรี่ ของจำเป็นสำหรับรถยนต์เกียร์ออโต้
(ยกเว้นรถยนต์ไฟฟ้า)
รถเกียร์ออโต้ ถ้าแบตเตอรี่เกิดปัญหาไฟไม่พอ ไฟหมด
จะเข็นเพื่อทำการสตาร์ทไม่ได้เหมือนรถเกียร์ธรรมดา
คุณต้องเข็นจนความเร็วเกินกว่า 15 กิโลเมตร หรือมากกว่านั้น
สุดวิสัยที่จะทำได้ ควรหาสายพ่วงแบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐาน
สายต้องมีขนาดใหญ่ เพื่อให้ไฟไหลผ่านได้สะดวกกว่าสายพ่วงแบตฯ
ที่มีขนาดเล็กเกินไป เคราะห์ร้ายรถไฟหมดกลางทางยังของพ่วงแบตฯ
เพื่อสตาร์ทเครื่องได้ สตาร์ทได้แล้วก็ควรวิ่งไปร้านแบตเตอรี่ หาแบตฯ
ใหม่ใส่ซะให้เรียบร้อย มีแต่เรื่องเสียเงินทั้งนั้นละครับ
8. น้ำมันเกียร์
ของสำคัญที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบส่งกำลังนั่นก็คือน้ำมันเกียร์
ควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์เมื่อวิ่งใช้งานถึง 40,000 กิโลเมตร
ประเภทที่เคลมว่า ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้งาน
พอหมดการรับประกันก็เห็นว่าเกียร์พังกันเยอะ
เลือกเอาว่าจะเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่บอก หรือขับไปเรื่อยๆ
จนเกียร์พังต้องส่งซ่อม ซ่อมเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ก็ดีไป
แต่ถ้าพังทั้งลูกแล้วต้องยกเกียร์ใหม่
ราคามันไม่ใช่แค่แสนสองแสนนะครับ
รถยุโรปบางรุ่นเกียร์มีราคาทะยานไปถึง 5-6 แสนบาท
ถึงกับต้องควักเงินเปลี่ยนเกียร์ใหม่ รวยยังไงก็เสียดายเงินครับ.
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/
คุณกำลังดู: ขับยังไงไม่ให้เกียร์ออโต้พังเร็ว อ่าน....วิธีใช้งานเกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้อง
หมวดหมู่: เคล็ดลับยานยนต์