คลายข้อสังสัย ทำไมเด็กถึงไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 (COVID-19)
7 มิ.ย. 64 ไทยมีวาระแห่งชาติคือการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 (COVID-19) ให้แก่ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จึงเกิดคำถามในใจผู้ปกครองที่อยากฉีดวัคซีนโควิดให้แก่บุตรหลาน ว่าทำไมเด็กเล็กๆ
7 มิถุนายน 2564 ไทยมีวาระแห่งชาติคือการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 (COVID-19) ให้แก่ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จึงเกิดคำถามในใจผู้ปกครองที่อยากฉีดวัคซีนโควิดให้แก่บุตรหลาน ว่าทำไมเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถฉีดวัคซีนได้
เด็กฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม
เด็กแรกเกิด และเด็กวัยเข้าโรงเรียน มักจะต้องเข้ารับวัคซีนจำเป็น และ วัคซีนเสริม เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันกับโรคอุบัติใหม่ แต่ในกรณีโควิด-19 หลายประเทศชะลอการฉีดวัคซีนแก่เด็ก เนื่องจากเป็นการพัฒนาวัคซีนเร่งด่วน ผลวิจัยยืนยันความปลอดภัยเมื่อใช้กับเด็กนั้นยังมีออกมาไม่ครบทุกยี่ห้อวัคซีน ปัจจุบันมีบางยี่ห้อที่ยืนยันผลว่าใช้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ จึงถือว่าการใช้วัคซีนโควิด-19 ในเด็กยังไม่แพร่หลาย ทั่วโลกจึงยังจับตามองการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่กลุ่มเด็ก
การป้องกันโควิด-19 ด้วยวัคซีน ประเทศต่างๆ จึงเลือกใช้วิธีการฉีดในกลุ่มผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองยังเป็นการลดการแพร่เชื้อสู่เด็ก รวมถึงในชุมชนหรือในประเทศ หากมีการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมได้มากพอจะทำให้คนอื่นๆ ที่มีข้อจำกัดในการฉีดวัคซีน สามารถป้องกันการติดโรคไปได้ด้วยเช่นกัน
คุณหมอจึงอยากขอแนะนำวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยแทนการฉีดวัคซีน
- รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยง หรือมีผู้คนแออัด
เด็กฉีดวัคซีนตัวอื่นทดแทน เพื่อป้องกันวัคซีน COVID-19 ได้ไหม
สำหรับวัคซีนที่ป้องกันแทนได้โดยตรง ปัจจุบันยังไม่มี แต่ในเด็กทุกคนหมอแนะนะว่าควรได้รับวัคซีนหลักและวัคซีนเสริมป้องกันตามตารางทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดมาเรื่อยๆ รวมถึงเพื่อลดการติดเชื้อรุนแรงเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจซึ่งจะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ เช่น
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากในทุกๆ ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ได้บ่อย ตลอดเวลา จึงแนะนำให้ฉีดปีละครั้ง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- การฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ (IPD)
ซึ่ง 2 ตัวนี้ เป็นวัคซีนที่ช่วยระบบทางเดินหายใจ ลดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน
วิธีการเช็กอาการเบื้องต้นโรค COVID-19
อาการของโรค COVID-19 และการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ
เช็กกันทางอาการแทบไม่ได้เลย แต่สิ่งสำคัญคือการเช็กประวัติเสี่ยง
เช่น
คนในครอบครัว คนใกล้ชิดเป็น COVID-19 หรือไปในพื้นที่เสี่ยง
โดยอาการเบื้องต้นที่สามารถพบได้ว่าเด็กมีอาการติดเชื้อ COVID-19 คือ
- มีไข้
- ไอ
- คัดจมูก
- หอบเหนื่อย
- ท้องเสีย
- มีผื่นตามตัว
- เหนื่อยเพลีย
เปอร์เซ็นต์การติดโรค COVID-19 ของเด็กเท่ากับผู้ใหญ่หรือไม่
ทุกกลุ่มอายุมีโอกาสเสี่ยงติด COVID-19 ได้หมด แต่ในกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง คือ กลุ่มที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยรวมแล้วเด็กจะมีอาการเสี่ยงน้อยกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันการติด COVID-19 ในเด็กอยู่ที่ 8% แต่หากมีการกลายพันธุ์แพร่เชื้อมากขึ้น เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อในเด็กก็อาจจะมากขึ้นตาม
การที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ นอกจากจะเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ยังเป็น การช่วยลดความสับสนในการตรวจคัดกรองภาวะติดเชื้อร่วมระหว่างโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย มีผลให้ลดความรุนแรงของโรค เมื่อติดเชื้อ และลดอัตราการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือหากจำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลระยะเวลาก็จะสั้นกว่าผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เลย
อย่างไรก็ดี อนาคตอันใกล้ อาจได้รับข่าวดี ยืนยันผลวัคซีนโควิด-19 ที่สามารถฉีดให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีได้ จึงควรติดตามข่าวสารวัคซีนตัวนี้ต่อไป.
บทความโดย : พญ.เรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์แพทย์เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อในเด็กศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2
คุณกำลังดู: คลายข้อสังสัย ทำไมเด็กถึงไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 (COVID-19)
หมวดหมู่: แม่และเด็ก