กินเท่าไรก็ไม่อ้วน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรค!
เหมือนจะเป็นโชคดี แต่จริงๆ อาจจะเป็นโชคร้ายก็ได้
อาการ “กินเท่าไรก็ไม่อ้วน” ทั้ง ๆ ที่เป็นคนกินจุ กินเยอะ จัดบุฟเฟ่ต์บ่อย ๆ แต่น้ำหนักกลับไม่ขึ้น ต่างกับบางคนทั้งออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร น้ำหนักก็ไม่ลงให้ง่าย ๆ เห็นแบบนี้ อย่าเพิ่งอิจฉาคนที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วนเลย เพราะจริง ๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้กินเยอะ แต่น้ำหนักยังอยู่กับที่ นั่นกำลังบ่งบอกว่า คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพอยู่ก็ได้
ส่วนต้นตอของปัญหาสุขภาพของเหล่าคนที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วน อาจมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้
-
มีพยาธิมากเกินไป
ใครที่คิดว่า “พยาธิ” ไม่น่ากลัว ขอให้เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ นั่นเพราะพยาธิ คือ ปรสิตชนิดหนึ่งที่คอยแย่งอาหารในร่างกายของคุณ ยิ่งหากในร่างกายของคุณมีพยาธิอยู่เป็นจำนวนมาก นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณกินเท่าไรก็ไม่อ้วนได้
สำหรับการเช็กตัวเองแบบเบื้องต้นว่า มีอาการปวดท้องอยู่เป็นประจำ ท้องเสียบ่อย และกินอาหารมากเท่าไรน้ำหนักก็ไม่ขึ้นหรือไม่ ถ้าใครที่มีอาการเช่นนี้อยู่ แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจอุจจาระดูพยาธิในลำไส้ ซึ่งแพทย์อาจให้คุณลองกินยาถ่ายพยาธิก่อน จากนั้นจึงดูว่า อาการกินเท่าไรก็ไม่อ้วนยังมีอยู่หรือไม่ หากยังมีอาการนี้อยู่อาจจะต้องเช็กสาเหตุอื่นกันต่อไป
-
ขาดสารอาหาร
เป็นอาการที่เกิดจากภาวะโภชนาการบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่านั้น โดยอาการดังกล่าวมักเกิดกับผู้ที่ลดน้ำหนักแบบผิด ๆ หรือรักสุขภาพแบบผิด ๆ เน้นกินแต่ผักผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งหรือเนื้อสัตว์ จนทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเหมาะสม ซึ่งนอกจากจะกินเท่าไรก็ไม่อ้วนแล้ว ยังอาจจะมีอาการอ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรงร่วมด้วย
-
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)
หรืออาจเรียกว่า “ไทรอยด์ชนิดผอม” เกิดจากความบกพร่องของต่อมไทรอยด์ ทำให้ระดับฮอร์โมนต่อมไร้ท่อในร่างกายถูกกระตุ้นให้เผาผลาญเกินความจำเป็น ส่งผลให้คุณมีอาการหิวบ่อย กินจุ แต่ถึงจะกินมากแค่ไหนก็ไม่อ้วน และหากปล่อยอาการนี้ทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ มีอาการนอนไม่หลับ หัวใจเต้นแรง หรือท้องเสียได้ง่าย แต่ที่ร้ายแรงที่สุด คือ อาจทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน
-
กลุ่มอาการชีแฮน ซินโดรม (Sheehan Syndrome)
“โรคซีแฮน” หรือ “โรคกลุ่มอาการชีแฮน” ส่วนใหญ่จะเกิดกับคุณแม่ที่มีอาการตกเลือดรุนแรงระหว่างคลอดบุตร ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงต่อมใต้สมองไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อบริเวณต่อมใต้สมองตายถาวร จนกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนไปควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คิดช้า และร่างกายซูบผอมในบางราย
อย่างไรก็ดี คุณแม่บางคนจะมี “อาการชีแฮน” หลังคลอดไม่กี่วัน ในขณะที่คุณแม่บางคนอาจคลอดผ่านมาแล้วเป็นปี ๆ จึงรู้ตัวว่ามีภาวะชีแฮน
เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงประคองอาการให้ดีขึ้นเท่านั้น โดยอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย “โรคเบาหวาน” นั้น คือ ผู้ป่วยสามารถกินอาหารได้มากขึ้น แต่น้ำหนักกลับไม่เพิ่มตาม แถมน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
เหตุที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีน้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากในร่างกายของผู้ป่วยมีระดับอินซูลินในเลือดสูง เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลเข้าไป ก็จะขับออกผ่านทางปัสสาวะ เป็นผลให้ไตทำงานหนัก ร่างกายของผู้ป่วยจึงเกิดกระบวนการเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้นตามไปด้วย
-
วัณโรค
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่กับผู้ป่วยวัณโรคเป็นเวลานาน โดยผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำ รู้สึกเหนื่อยง่าย และน้ำหนักลดลง หากคุณมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
-
ลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Irritable bowel disease หรือ IBD)
คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร โดยผู้ป่วยลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังมักมีอาการท้องเสียเป็นหลัก เหมือนลำไส้ต่อตรง กินแล้วถ่าย ๆ แต่ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ ขาดสารอาหาร ถ่ายเป็นเลือด หรือน้ำหนักลดลง ซึ่งใครที่มีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์ทันทีเนื่องจากโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังไม่ใช่โรคที่สามารถหายเองได้ หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้กลายเป็นโรคมะเร็ง หรืออาจร้ายแรงถึงขึ้นเสียชีวิต
-
มะเร็ง
เกิดจากการผิดปกติของเซลล์ในร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตหรือการตายตามธรรมชาติของเซลล์ปกติได้
ทำให้เซลล์ร่างกายมีการเจริญเติบโต
หรือแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็ว จนมีอาการก้อนเนื้อโตขึ้น
โดยอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น จะมีอาการท้องผูกสลับกับการท้องเสีย
และในช่วง 6 เดือนแรก น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะลดลงอย่างชัดเจน
คุณกำลังดู: กินเท่าไรก็ไม่อ้วน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรค!
หมวดหมู่: สุขภาพ