แมสก์กันโรค แต่ไม่กันฝุ่นจิ๋ว! หมอแนะสารพัดวิธีรับมือ PM 2.5

แมสก์กันโรค แต่ไม่กันฝุ่นจิ๋ว! หมอแนะสารพัดวิธีรับมือ PM 2.5

แมสก์กันโรค แต่ไม่กันฝุ่นจิ๋ว! หมอแนะสารพัดวิธีรับมือ PM 2.5

ภาพเมืองที่เต็มไปด้วยฝุ่นขาวโพลน ผู้คนพากันแสบตา แสบจมูก เป็นผื่นคันตามผิวหนัง หรือบางคนอาจยังไม่เป็นอะไร แต่อย่าคิดว่าจะไม่มีผลกระทบอะไร!

คนไทยอาจต้องอยู่กับภาวะฝุ่น PM 2.5 เป็นแรมสัปดาห์ แรมเดือน เผชิญสถานการณ์ทุกปี การมีความรู้เรื่องการดูแลตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะวิธีปรับตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยจากฝุ่นจิ๋ว

เริ่มที่ พญ.ชนัญญา ศรีหะวรรณ์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสมิติเวช PM 2.5 แนะนำผ่านสาระน่ารู้เรื่อง ‘ฝุ่นละอองเล็กจิ๋ว แต่ส่งผลเสีย (ต่อสุขภาพ) มหาศาล’ ว่า ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 สามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแสเลือด ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย

  • ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลต่ออวัยวะ-คนทุกช่วงวัย

ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจและปอด ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดหอบกำเริบ หรือคนปกติให้เป็นโรคหืดหอบ หากสูดไปนานๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้

อีกทั้ง ทำให้เกิดตะกอนในเลือด ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน ไม่เพียงเท่านั้น ยังส่งผลต่อระบบเลือด สะสมนานวันทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดลิ่มเลือดในสมอง เสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก อันเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาตและเสียชีวิต

ส่งผลกระทบต่อคนทุกช่วงวัย

“วัยเด็ก” สร้างความเสียหายให้เซลล์สมอง ทำให้เกิดความบกพร่องในการพัฒนาการสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ ที่อาจมีผลร้ายแรงตามมาต่อสวัสดิภาพและศักยภาพ ในการทำงานตลอดช่วงชีวิต

“หญิงตั้งครรภ์” ฝุ่นทำให้คลอดก่อนกำหนด เสี่ยงแท้งบุตร และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์ได้

“ผู้สูงอายุ” ลำพังระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมถอยอยู่แล้ว ฝุ่นยิ่งทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหอบหืด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญฝุ่นพิษให้มากที่สุด

“ผู้ป่วยหรือมีโรคประจำตัว” โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคปอด และโรคหัวใจชนิดต่างๆ การสูดฝุ่นผงเข้าสู่ร่างกายโดยตรงส่งผลให้โรคกำเริบ อาจถึงกับชีวิตได้

  • หน้ากากกันโรค ไม่กันฝุ่นจิ๋ว

ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ อาจแก้ไม่ได้ในเร็วๆ นี้ ฉะนั้นประชาชนต้องดูแลตัวเองไปก่อน
ซึ่ง พญ.ชนัญญา แนะนำการป้องกันพิษฝุ่นจิ๋วด้วยตัวเอง อย่างแรกคือ การสวมใส่ ‘หน้ากาก’ หรือแมสก์ โดยหน้ากากชนิด N95 สามารถกรองฝุ่นได้อย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์ หน้ากาก N99 กรองได้มากถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ต้องสวมอย่างถูกต้อง ไม่ให้หลวม และไม่ควรนำหน้ากากใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
ส่วนใครที่คิดว่าแมสก์ที่ใส่ป้องกันโควิด-19 เพียงพอแล้ว คิดผิด!

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วิบูลย์ศิริชัย อายุรแพทย์ โรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลบางโพ แนะนำในสาระน่ารู้เรื่อง ‘PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม’ ว่า การใส่หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หน้ากากชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย เป็นหน้ากากที่เหมาะสำหรับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอ หรือป้องกันผู้สวมใส่จากเชื้อโรคจำพวกเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราได้ แต่หากเป็นเชื้อไวรัสซึ่งมีอนุภาคเล็กระดับไมครอน จะไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เพียงพอหากต้องการป้องกันฝุ่นพิษ

เช่นเดียวกับ หน้ากากผ้า ที่นอกจากป้องกันฝุ่นจิ๋วไม่ได้แล้ว ยังไม่สามารถกรองเชื้อโรคขนาดเล็กมากๆ ได้ ฉะนั้นต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันฝุ่น PM 2.5

  • สารพัดวิธีเลี่ยงฝุ่น PM 2.5

นอกจากนี้ ยังมีวิธี ได้แก่ การดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเฝ้าระวังระดับมลพิษ อาทิ Asia Air Quality (แอนดรอยด์), Global Air Quality (แอนดรอยด์) และ Air Quality Index (ไอโอเอส),

หลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน เพราะการเดินทางกลางแจ้งส่งผลให้ต้องสัมผัสและสูดดมละอองฝุ่นจำนวนมาก จึงควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะผู้ที่นิยมออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรงดในช่วงที่มีภาวะหมอกควันและฝุ่นสูง เนื่องจากการใช้แรงมากหรือหายใจแรง อาจยิ่งเพิ่มการสูดเอาละอองฝุ่นผง PM2.5 เข้าสู่ทางเดินหายใจและปอดมากขึ้น,

งดสูบบุหรี่และกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน เพราะการสูบบุหรี่หรือสูดกลิ่นควัน อาจส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจและปอดอ่อนแอ เมื่อต้องเผชิญกับฝุ่นพิษในอากาศยิ่งส่งผลให้สุขภาพแย่ลง เพิ่มความเสี่ยงเกิดหอบหืดและมะเร็งปอด

อย่างไรก็ตาม ในบ้านก็ใช่ว่าปลอดภัย เพราะการเผาขยะ การสตาร์ทรถทิ้งไว้นานๆ การกวาดขยะมากองไว้หน้าบ้านหรือริมระเบียง รวมถึงการจุดเทียนหอม ธูปเทียน การทำอาหารด้วยเตาถ่านภายในบ้าน ก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านอย่างรวดเร็วได้

ฉะนั้นสมาชิกในครอบครัวควรช่วยกันดูแลบ้าน ด้วยการปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท เมื่อเข้าบ้านเรียบร้อยแล้ว พร้อมล้างเนื้อล้างตัวให้สะอาดทันทีที่ถึงบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงจากฝุ่น PM 2.5 ที่อาจติดมากับเสื้อผ้าหรือร่างกาย

รวมถึง เสริมเกราะป้องกันสีเขียวให้กับบ้าน ด้วยการปลูกต้นไม้ ด่านแรกในการช่วยดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยต้นไม้ที่มีคุณสมบัติในการฟอกอากาศ และดูดสารพิษที่เหมาะกับการปลูกภายในบ้านหรือพื้นที่อยู่อาศัย เช่น พลูด่าง ลิ้นมังกร ว่านหางจระเข้ และเบญจมาศ เป็นต้น

หรือการใช้เครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ ก็จะช่วยให้รับมือกับฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่หนาแน่นของมลพิษทางอากาศ หรือไม่แน่ใจการป้องกันตนได้ผลหรือไม่ โดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มเสี่ยง หากพบอาการ เช่น หายใจลำบาก หน้ามืด อ่อนแรง หรือไอติดต่อกันรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาให้ทันท่วงที

‘ฝุ่นจิ๋ว’ ผลกระทบไม่เล็กเลย

คุณกำลังดู: แมสก์กันโรค แต่ไม่กันฝุ่นจิ๋ว! หมอแนะสารพัดวิธีรับมือ PM 2.5

หมวดหมู่: สุขภาพ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด