“ปากเบี้ยว-หน้าเบี้ยวครึ่งซีก” สัญญาณอันตรายโรคระบบประสาท
หากมีอาการปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวเพียงซีกใดซีกหนึ่ง อาจกำลังเสี่ยงอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) เป็นผลมาจาก เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ผิดปกติ
กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา แนะหากอ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว มีน้ำไหลที่มุมปาก และอาจพูดไม่ชัด การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูอื้อข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ดื่มน้ำลำบากพูดไม่ชัด เป็นผลมาจาก เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ผิดปกติ
ปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) คือภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นประสาทบนใบหน้า โดยยังไม่สามารถทราบสาเหตุของอาการอักเสบของเส้นประสาทได้แน่ชัด แต่อาจมีแนวโน้มมาจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะปากเบี้ยว ได้แก่ โรคงูสวัส เป็นต้น ส่งผลให้หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นผลมาจากเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ตรงใบหน้าแต่ละข้างทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ยิ้ม ทำหน้าบึ้ง หรือหลับตา รวมทั้งรับรสจากลิ้นและส่งต่อไปยังสมองเกิดการอักเสบส่งผลต่อการรับรส การผลิตน้ำตา และต่อมน้ำลาย
กลุ่มเสี่ยงอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
ปากเบี้ยวถือเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทันที และมักจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปากเบี้ยว เช่น หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่อายุครรภ์มาก หรือหลังคลอดภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วย ที่เป็นโรคเบาหวานติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด
อาการของ Bell’s palsy
แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณใบหน้าครึ่งซีก
ทำให้หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
- หลับตาไม่สนิท
- มีน้ำไหลที่มุมปาก
- อาจพูดไม่ชัด
- การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ
- ปวดศีรษะ
-
หูได้ยินเสียงดังขึ้นข้างเดียว
- ดื่มน้ำลำบาก
ดังนั้นผู้ป่วยควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเพื่อรีบรักษา ซึ่งการรักษา อาการปากเบี้ยว ประกอบด้วยการรักษาด้วยยา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าเดิม
การรักษาอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
การรักษาอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) แบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
- การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น
กระตุ้นเส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้า หรือนวดใบหน้า
ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อตึงเกร็ง
- การผ่าตัด
การป้องกันอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจน เนื่องจากสาเหตุเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้าที่มักจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายภายในระยะเวลาเป็นสัปดาห์ถึงเดือน แต่จะมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่อาจกลับเป็นปกติต่ำกว่าหรือใช้ระยะเวลานานกว่า เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ
- แขนขาชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว สัญญาณอันตราย "หลอดเลือดสมอง"
- 5 สัญญาณอันตราย “หลอดเลือดสมอง” รีบส่งรพ. ภายใน 4.30 ชม.
คุณกำลังดู: “ปากเบี้ยว-หน้าเบี้ยวครึ่งซีก” สัญญาณอันตรายโรคระบบประสาท
หมวดหมู่: รู้ทันโรค