รู้ไว้! แยก "ตุ่ม" อย่างไรให้รู้ว่าเป็นไข้เลือดออก
ตุ่มยุงกัดแบบไหนที่เป็นสัญญาณของโรคไข้เลือดออก
ลักษณะอย่างหนึ่งของผู้ที่ป่วยเป็น โรคไข้เลือดออก
ก็คงจะเป็น ตุ่ม ที่ผุดขึ้นจนสังเกตเห็นได้
ไม่ว่าจะด้วยการเกา หรือเกิดอาการแพ้ยุงที่มาสัมผัสกับผิวหนังของเรา
แต่ไข้เลือดออกก็ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่จะทำให้เกิดตุ่มดังกล่าวได้
เพราะในความเป็นจริง ตุ่มอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุได้อีก อาทิ
แมลง สัตว์กัดต่อย หรือมีผลพวงมาจากโรคอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบมีไข้และไม่มีไข้ แล้วผู้ป่วย
หรือคนใกล้ชิดจะต้องสังเกตอย่างไรล่ะ
ว่าตุ่มแบบไหนที่บ่งบอกได้ชัดว่าเกิดมาจากไข้เลือดออก
แยกลักษณะของ “ตุ่ม” กับการเกิด “ไข้เลือดออก”
ตุ่มที่เกิดจากแมลงกัด ต่อย
ส่วนมากตุ่มที่เกิดจากกรณีนี้มักเป็นตุ่มนูน
หรือเป็นตุ่มเห่อขึ้นมาเป็นจุดๆ
ตามผิวหนังของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่เดียวกัน บริเวณกัน
แผ่กระจายออกไป แต่ก็ยังเป็นจุดเดียวกัน ส่วนตำแหน่งอื่นๆ
กลับไม่พบกับตุ่มลักษณะนี้ บางครั้งตุ่มก็ขึ้นเห่อคล้ายกับเป็นลมพิษ
บางรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย
ส่วนใหญ่การกัดของแมลงแล้วเกิดเป็นตุ่มจะไม่มีไข้
นอกจากจะเป็นแมลงที่มีพิษ แล้วเกิดอาการแพ้
ตุ่มที่เกิดจากโรคมือเท้าปาก
ลักษณะการเกิดตุ่มจากโรคมือเท้าปากนี้
จะมีความใกล้เคียงกับตุ่มที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกออกตรงที่จะมีไข้ร่วม
พร้อมกับอาการเจ็บปาก ทานอาหารได้น้อย เกิดเป็นแผลที่กระพุ้งแก้ม เพดา
หรือปาก ส่วนตุ่ม หรือผื่นแดงนั้นจะเกิดขึ้นที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า
อวัยวะเพศ ผิวหนังของก้น นอกจากนั้นก็ยังอาจพบได้ตามลำตัว แขน และขา
โดยอาการจะคงอยู่ 2 - 3 วัน แล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายเป็นปกติภายใน 1
สัปดาห์
ตุ่มที่เกิดจากไข้เลือดออก
ควรสังเกตอาการไข้ที่อาจมีเมื่อเกิดตุ่มขึ้นตามร่างกาย โดยให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าน่าจะเกิดจาก โรคไข้เลือดออก หากมีไข้สูงนำมาประมาณ 2 - 7 วัน ไข้เริ่มลดลง แต่กลับมาตุ่ม หรือผื่นแดงขึ้นมาแทน ให้จัดว่าผื่นเหล่านี้อยู่ในกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกได้ โดยตุ่มจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดง มีขนาดเล็ก กระจายอยู่ทั่วทั้งตัว ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา ลำตัว หรือบริเวณใบหน้า
โรคไข้เลือดออก นับว่าเป็นโรคที่เข้าข่ายร้ายแรงหากไม่ดูแลสุขภาพและสุขลักษณะการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ให้ดี อีกทั้ง เรื่องของสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ โดยตามจุดต่างๆ อย่าปล่อยให้น้ำท่วมขัง ควรขจัดจุดอับต่างๆ ภายในบ้านให้สะอาด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นที่มาของไข้เลือดออกได้ เพราะหากเกิดแล้วระวังตัวไม่ทัน ผลลัพธ์อาจจะมากกว่าผลดีก็เป็นได้
คุณกำลังดู: รู้ไว้! แยก "ตุ่ม" อย่างไรให้รู้ว่าเป็นไข้เลือดออก
หมวดหมู่: รู้ทันโรค