“รอยย่นที่ติ่งหู” สัญญาณเสี่ยงโรคอันตราย

“รอยย่นที่ติ่งหู” สัญญาณเสี่ยงโรคอันตราย

“รอยย่นที่ติ่งหู" อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่บอกถึงความเสี่ยงของโรคร้ายได้ ลองสังเกตดูว่ามีรอยย่นแบบนี้ที่หูตัวเองหรือไม่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ (หมอเจี๊ยบ) อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง จากเฟซบุ๊กเพจ HELLO SKIN by หมอผิวหนัง ระบุไว้ในเฟซบุ๊กเพจ HELLO SKIN by หมอผิวหนัง ถึงเรื่องรอยย่นที่ติ่งหู ที่เรียกว่า เรียกว่า Frank's sign หรือ Diagonal earlobe crease (DELC) เอาไว้ ดังนี้

Frank's sign หรือ Diagonal earlobe crease (DELC)

Frank's sign หรือ Diagonal earlobe crease (DELC) คือ การมีรอยเส้นที่ลากจากบริเวณ Tragus เฉียงออกไปทางขอบติ่งหู (Earlobe) ยาวอย่างน้อย 2 ใน 3 ของความยาวติ่งหู ส่วนมากจะทำมุมประมาณ 45° โดยอาจพบมี 1 เส้นหรือมากกว่า และอาจพบที่หูข้างเดียวหรือสองข้าง โดยไม่ใช่รอยที่เกิดจาก การเจาะหู การนอนทับเป็นประจำ หรือเกิดตามหลังบาดแผลอื่นใด

รอยที่หูดังกล่าว เชื่อว่าอาจเกิดจากกลไกของกระบวนการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง  (arteriosclerotic process) โดยอาจมีผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม โครงสร้างของหลอดเลือดเล็ก (Microvascular structure) หรือ ระบบการไหลเวียนโลหิต (vessel hemodynamics)

istock-1087718518

รอยย่นที่ติ่งหู สัญญาณอันตรายโรคร้าย

มีรายงานพบว่า รอยย่นที่ติ่งหูแบบ Frank’s sign พบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) มากกว่าคนที่ไม่เป็นโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีรายงานเรื่องเหล่านี้

  • อัตราการรอดชีวิตต่ำ 
  • มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจสูงกว่า
  • เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดภายในและหลังผ่าตัด

โดยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีรอยนี้ พบว่าสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้มากกว่ากลุ่มที้ไม่มีรอย

  • อายุเยอะ
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดสมองตีบ

อาจบ่งบอกได้ว่า รอยนี้สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเป็นเวลานาน (long-standing arteriosclerosis)

พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology) ของ Frank's sign มีอธิบายไว้หลายอย่างในหลายงานวิจัย แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกับ โรคหลอดเลือดโคโรนารี และโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น  

  • เลือดไปเลี้ยงติ่งหูน้อย เนื่องจากไม่มีหลอดเลือดแดงปลายใบหูส่วนล่าง
  • การเสื่อมสภาพของอีลาสติน จากการทำการตรวจชิ้นเนื้อติ่งหู
  • ความหนาของ adventitia reticularis ในหลอดเลือดขนาดเล็กของติ่งหู
  • ความผิดปกติของเยื่อบุผนังหลอดเลือด จากการตรวจมีการขยายตัวของหลอดเลือดที่ไหลผ่านส่วนล่าง และการขยายตัวของหลอดเลือดที่เกิดจากไนโตรกลีเซอรีน
  • ความหนาตัวของผนังชั้นในและชั้นกลางของเส้นเลือดแดงแคโรทิด
  • ค่าแคลเซียมสูงจากการเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

ซึ่งจากการตรวจพบลักษณะข้างต้นนี้ จึงเป็นไปได้ว่า อาจสัมพันธ์กับเรื่องอายุ และกระบวนการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง

หากมีรอยย่นที่ติ่งหู ควรทำอย่างไร? 

คนที่ยังไม่เป็นโรคต่างๆ แต่มีรอยนี้ ควรให้ความสำคัญเพิ่มเติมกับการมองหาความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแข็งตัว และแนะนำให้ปรับพฤติกรรมในการดูแลตัวเอง การรับประทานอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ หากมีโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหรือไขมันสูงอยู่ด้วยแล้ว ก็ควรต้องรักษาตัวให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในอนาคต

คุณกำลังดู: “รอยย่นที่ติ่งหู” สัญญาณเสี่ยงโรคอันตราย

หมวดหมู่: รู้ทันโรค

แชร์ข่าว