เท้าบวม สัญญาณเบื้องต้นสารพัดโรคร้าย ควรทำอย่างไรเมื่อมีอาการเท้าบวม

บางคนมีอาการเท้าบวม ไม่ว่าจะช่วงตื่นนอน หรือเท้าบวมทั้งวัน จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่แค่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น แต่อาจเป็นสัญญาณโรคร้ายสารพัด

เท้าบวม สัญญาณเบื้องต้นสารพัดโรคร้าย ควรทำอย่างไรเมื่อมีอาการเท้าบวม

คนรอบตัวเริ่มบ่นว่าเท้าเริ่มบวมจนรู้สึกได้ถึงความผิดปกติ คือ "เท้าบวมเสียจนใส่รองเท้าไม่ได้ หรือรู้สึกบีบรัดตึง ใส่รองเท้าไม่สวยเหมือนเก่า แต่เราจะกังวลแค่เรื่องเท้าไม่สวยไม่ได้นะคะ เพราะเท้าบวมอาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคร้ายสารพัดเลยล่ะ Sanook Health จะอธิบายให้ฟังค่ะ

อาการเท้าบวม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. บวมแบบกดแล้วไม่บุ๋มค้าง โดยลองใช้นิ้วกดลงบริเวณที่บวม 5-10 วินาที เมื่อยกนิ้วออกแล้วไม่บุ๋มค้าง เป็นเนื้อแข็งๆ แน่นๆ หรือบางรายผิวอาจมีลักษณะของผิวที่ขรุขระเหมือนเปลือกส้ม

    สาเหตุ อาจมาจากการอุดตันของทางเดินน้ำเหลือง ถึงจะพบได้น้อย แต่ก็จำเป็นต้องพบแพทย์

  2. บวมแบบกดแล้วบุ๋มค้าง สาเหตุหลักๆ ของอาการบวมลักษณะนี้ มีอยู่ 5 สาเหตุ ได้แก่

- หลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน
- แพ้ยา หรือสารต่างๆ
- ได้รับอุบัติเหตุ หรือการติดเชื้อ
- บวมน้ำ จากน้ำหนักร่างกายที่มากเกินไป
- ผลข้างเคียงของยา

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโรคที่มีอาการเริ่มต้นด้วยอาการ “เท้าบวม” เช่น

- โรคไต
- โรคหัวใจ
- โรคตับแข็ง
- มะเร็งตับ
- ดีซ่าน
- เท้าช้าง
- เส้นเลือดขอด
- เบาหวาน
- ขาดอาหารประเภทโปรตีน

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อมีอาการเท้าบวม

  1. หากอยู่ในภาวะอ้วน น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ให้ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร

  2. ไม่ทานอาหารที่รสจัดจนเกินไป ทั้งหวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด และเผ็ดจัด

  3. ไม่ควรยืนนิ่งๆ นานๆ ควรมีการขยับแข้งขยับขา เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น

  4. ยกเท้าสูงขึ้นเล็กน้อยก่อนนอน ช่วยลดอาการบวมได้ดี

  5. หากบวมมากผิดปกติ และไม่มีทีท่าจะหาย หรือมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายกันเอาไว้ให้นะคะ เพราะแค่อาการเท้าบวมที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะไม่ได้เจ็บ ไม่ได้ปวดอะไร จริงๆ แล้วอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยถึงโรคร้ายอีกหลายๆ โรค ที่เรากำลังเผชิญโดยไม่รู้ตัวก็ได้

คุณกำลังดู: เท้าบวม สัญญาณเบื้องต้นสารพัดโรคร้าย ควรทำอย่างไรเมื่อมีอาการเท้าบวม

หมวดหมู่: รู้ทันโรค

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด