ทั่วโลกคุมกำเนิดอย่างไรท่ามกลางโควิด-19 ระบาดไม่หยุด

ทุกวันนี้ทั่วโลกยังคงต้องเฝ้าระวังโควิด-19 และประชาชนยังคงตระหนกกลัวภัยมาถึงตัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็พุ่งเป้าดูแลผู้สูงอายุ เด็ก และคนท้อง เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่หากติดเชื้อแล้ว อาจจะฟื้นตัวช้า หรือเชื้อโควิด-19 อาจมีผลต่อพัฒนาการของร่างกายในอนาคต

ทั่วโลกคุมกำเนิดอย่างไรท่ามกลางโควิด-19 ระบาดไม่หยุด

ทุกวันนี้ทั่วโลกยังคงต้องเฝ้าระวังโควิด-19 และประชาชนยังคงตระหนกกลัวภัยมาถึงตัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็พุ่งเป้าดูแลผู้สูงอายุ เด็ก โดยเฉพาะคนท้อง เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่หากติดเชื้อแล้ว อาจจะฟื้นตัวช้า หรือเชื้อโควิด-19 อาจมีผลต่อพัฒนาการของร่างกายในอนาคต


เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคใหม่ จึงยังไม่พบข้อมูลว่าเชื้อไวรัสตัวนี้ทำลายระบบร่างกายแค่ไหน ดังนั้นหลายประเทศทั่วโลกจึงเพิ่มความรัดกุมในบริการด้านสุขภาพ โดยให้ความรู้และช่วยเหลือคุมกำเนิดให้กับประชากร ให้ผ่านพ้นช่วงเวลาเชื้อโควิดระบาดได้อย่างปลอดภัย

แต่ความช่วยเหลือก็ไปไม่ถึงทุกชุมชน บางประเทศก็ไม่นิยมใช้ถุงยางอนามัย หรือยาคุมกำเนิด กลายเป็นว่าอาจมีเด็กเกิดใหม่เยอะขึ้นในปลายปี 2563 ถึงปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงที่โควิด-19 ยังไม่มา


มาตรการคุมกำเนิดของแต่ละประเทศทั่วโลก

ภาพคนในครอบครัวต้องเยี่ยมทารกแรกเกิดผ่านห้องกระจกเพื่อเว้นระยะห่างตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ในประเทศ Mexico 31 ก.ค. 63 (ภาพโดย Daniel Becerril)
ภาพคนในครอบครัวต้องเยี่ยมทารกแรกเกิดผ่านห้องกระจกเพื่อเว้นระยะห่างตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ในประเทศ Mexico 31 ก.ค. 63 (ภาพโดย Daniel Becerril)

สหรัฐอเมริกา คู่รักแห่ซื้อถุงยางอนามัย

FOX NEWS ได้นำเสนอข่าวว่า ในช่วงโควิด-19 ระบาด เหล่าบรรดาคู่รักเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัย จนกลายเป็นสินค้ายอดนิยม และ Corona กลายเป็นชื่อเด็กทารกที่ติดเทรนด์ปีนี้ไปแล้วส่วนเรื่องที่ว่าเด็กเกิดใหม่ในปี 2563 นี้มีเยอะหรือไม่ ต้องวัดจากการยื่นขอใบเกิดจากทะเบียนราษฎร เพราะว่าคุณแม่ไม่นิยมคลอดที่โรงพยาบาล เนื่องจากครอบครัวกลัวรับโควิดมาจากสถานพยาบาล

อิตาลีและประเทศอื่นในยุโรป เดินหน้าปั๊มลูก

อิตาลีและหลายประเทศในยุโรป มีแผนคุมกำเนิดที่สวนทางกับกระแสโลก แม้ว่าชาวยุโรปจะกลัวว่าโควิด-19 ว่าอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ แต่เนื่องด้วยจำนวนประชากรภาพรวมที่มีน้อย ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงต้องเร่งวางแผนมีลูกกันต่อไป

อินโดนีเซีย แจกยาคุมฟรี เพราะไม่นิยมถุงยาง

The Washington Post นำเสนอข้อมูลว่า อินโดนีเซียให้บริการคุมกำเนิดแก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้วยการแจกยาคุมกำเนิดฟรี เพราะการใช้ถุงยางอนามัยไม่เป็นที่นิยมเท่าการฉีดฮอร์โมนและการกินยา เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียต้องการป้องกันภาวะทุพโภชนาการในเด็กเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยังควบคุมไม่ได้ และได้วางแผนให้บริการสาธารณสุขด้านการผดุงครรภ์หากมีจำนวนการคลอดมากขึ้นตามที่รัฐคาดการณ์ว่าจะมีเด็กเกิดใหม่มาก

มาตรการคุมกำเนิดช่วงโควิดของประเทศไทย

คนไทยได้รับข้อมูลประชาสัมพันธ์เรื่องโรคโควิด-19 จากกระทรวงสาธารณสุข แต่ไม่ได้มีข้อห้ามว่าไม่ควรตั้งครรภ์ มีการแจกหน้ากากอนามัย แต่ไม่ได้แจกยาคุมกำเนิดกับถุงยางอนามัย

ข้อมูลทางด้านสายด่วนสุขภาพจิต 1663รวบรวมจากผู้ที่โทรเข้ามาปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์ตั้งแต่มีนาคม - เมษายน 63 พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

  • การกักตัวช่วงโควิดทำให้เกิดผู้ที่ท้องไม่พร้อมเพิ่มขึ้น 41.3% และต้องการยุติการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น 22%
  • ผู้ท้องไม่พร้อม 565 คน ได้รับผลกระทบจากมาตรการกักตัวและลดการเดินทางของรัฐ ทำให้ยากต่อการเดินทางไปยุติการตั้งครรภ์
  • ผู้ท้องไม่พร้อม 79 คน จำเป็นต้องท้องต่อ เพราะไม่สามารถเดินทางไปยุติการตั้งครรภ์ได้

ท้องไม่พร้อมจากโควิด-19 ทำให้มีเด็กเกิดใหม่เยอะขึ้นจริงไหม

ทารกอายุ 16 วันที่เกิดในช่วงโควิด พร้อมครอบครัวตั้งแคมป์ที่จัตุรัสวิกตอเรียในใจกลางกรุงเอเธนส์เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2563 ภาพจาก AFP
ทารกอายุ 16 วันที่เกิดในช่วงโควิด พร้อมครอบครัวตั้งแคมป์ที่จัตุรัสวิกตอเรียในใจกลางกรุงเอเธนส์เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2563 ภาพจาก AFP


ทั่วโลกมีความกังวลว่าโควิด-19 จะเป็นภัยพิบัติที่ส่งผลให้อัตราการตั้งครรภ์สูง แต่สำหรับประเทศไทย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลพิจิตร และดำรงตำแหน่งกรรมการแพทยสภาให้ข้อสังเกตว่า เรายังสรุปไม่ได้ เนื่องจากยังไม่มีการเก็บตัวเลขหญิงตั้งครรภ์ที่ชัดเจน “ถ้าเราจะนับจำนวนเด็กที่เกิดจากเหตุโควิดระบาด ก็ต้องดูจำนวนผู้ที่คลอดช่วงพฤศจิกายน - ธันวาคม 63 เทียบกับปีก่อน” พญ.ชัญวลี กล่าว

เมื่อพิจารณาภาพรวม “อัตราการเกิด” ในประชากรไทยปี 2563จํานวนประชากรไทยในปี 2563 มีทั้งหมด 69.7 ล้านคน และอัตราการเกิดของประชากรไทยปี 2563 (ต่อประชากรพันคน) อยู่ที่ 10.7 และเว็บไซต์วิเคราะห์สถิติ Worldmeters.info ได้แสดงข้อมูลว่าหญิงไทยคลอดบุตรเพียง 1 - 2 คนเท่านั้น ซึ่งข้อมูลนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่าโควิด-19 จะมีผลต่ออัตราการเกิดของประชากรไทยในปี 2563 - 2564 หรือไม่

อัตราการคลอดบุตรของผู้หญิงไทย 1 คน

กราฟแสดงข้อมูลอัตราการคลอดบุตรจากผู้หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ 1 คน จากเว็บไซต์ www.worldometers.info
กราฟแสดงข้อมูลอัตราการคลอดบุตรจากผู้หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ 1 คน จากเว็บไซต์ www.worldometers.info

ช่วงที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้หน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ปิดบริการชั่วคราว 62 แห่ง จาก 144 แห่ง ทำให้ผู้ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ต้องเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้ไม่สะดวกเข้ารับบริการ ตัวเลขนี้จึงเป็นสัญญาณส่งต่อให้กระทรวงสาธารณสุขเตรียมมาตรการให้บริการเข้าถึงสิทธิ์การคุมกำเนิดควบคู่กับการป้องกันโรคโควิด-19

ไทยการ์ดอย่าตก "คุมกำเนิด" ก็ต้องเน้น

สรุปได้ว่าปัญหา “ท้องไม่พร้อม” ของประเทศไทย อิงข้อมูลจากสายด่วนสุขภาพจิตข้างต้น สอดคล้องกับข้อสังเกตขององค์การกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และองค์กรพันธมิตรว่า การปิดเมืองในช่วง 2-4 เดือนของแต่ละประเทศ ทำให้ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งครรภ์อย่างไม่ตั้งใจ จาก 2 เหตุผล คือ

1. เด็กหญิงสูญเสียความสามารถในการวางแผนครอบครัวและป้องกันสุขภาพร่างกายของตนเอง และ
2. การปิดเมืองทำให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการคุมกำเนิดจากสถานพยาบาลได้ยาก

UNFPA คาดการณ์จำนวนของผู้ที่ท้องไม่พร้อมทั่วโลกอยู่ที่ 7 ล้านคน และหากโควิด-19 ยังระบาดไม่หยุด ทั่วโลกต้องจริงจังกับมาตรการคุมกำเนิดมากขึ้น เพราะส่งผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงเวลาต่อจากนี้

สุดท้ายนี้สาวๆ ทุกคนที่ตั้งครรภ์ ติดต่อฝากครรภ์ได้ฟรีกับโครงการ “ฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์” ได้จนถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดใกล้บ้าน เพราะในช่วงที่เรายังเฝ้าระวังโควิด-19 กันอยู่ คุณแม่ทุกคนควรได้รับการดูแลที่ดีที่สุดจากครอบครัวและรัฐ

ผู้เขียน : สีวิกา ฉายาวรเดช
ที่มา :www.foxnews.com, www.washingtonpost.com, www.boi.go.th,www.dmh.go.th

คุณกำลังดู: ทั่วโลกคุมกำเนิดอย่างไรท่ามกลางโควิด-19 ระบาดไม่หยุด

หมวดหมู่: แม่และเด็ก

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด