วัคซีนโควิดคนท้อง ลงทะเบียนและเว้นระยะฉีดอย่างไร
วัคซีนโควิดคนท้องต้องฉีดไหม ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าหากประโยชน์ของการฉีดวัคซีนมีมากกว่าอาการแพ้และอาการติดเชื้อ คุณแม่ก็ควรพิจารณาเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดขณะตั้งครรภ์
โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบันมีวัคซีนที่ช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อ ป้องกันเชื้อลงปอด และป้องกันอาการหนักถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่สำหรับคนท้องเมื่อมี 2 ชีวิตที่ต้องดูแล จึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนและประสิทธิภาพที่อาจเกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว
วัคซีนโควิดคนท้อง มีอะไรบ้าง
ปัจจุบันวัคซีนโควิดที่ใช้ฉีดให้กับประชาชนในประเทศไทยมีหลายประเภท ได้แก่
1. วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) ได้แก่ ซิโนแวค (Sinovac) และ ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ใช้เชื้อโควิดที่ทำให้ตายแล้วไม่ก่อโรค เป็นเทคโนโลยีวัคซีนที่ใช้กันมานานนับ 100 ปี จึงผ่านการศึกษาด้านความปลอดภัยมาแล้ว
จุดแข็ง : เป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง
จุดอ่อน : มีประสิทธิภาพป้องกัน 50 - 70%
**การฉีดวัคซีนเชื้อตายเข็ม 1 และเข็ม 2 ควรฉีดเว้นระยะห่างกัน 4 สัปดาห์
2. วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ หรือ ไวรอลเวคเตอร์
(Recombinant Viral Vector Vaccine) ได้แก่ แอสตราเซเนกา
(AstraZeneca)
ผลิตด้วยกรรมวิธีนำสารพันธุกรรมของไวรัสโควิดเข้ากับไวรัสพาหะ
เพื่อฉีดเข้าร่างกาย
ให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเชื้อไวรัส
จุดแข็ง : กระตุ้นภูมิได้สูง (แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)
มีประสิทธิภาพป้องกันได้ 70 - 80%)
จุดอ่อน : ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีโรคประจำตัวภูมิคุ้มกันบกพร่อง
**การฉีดวัคซีนไวรอลเวคเตอร์เข็ม 1 และเข็ม 2 ควรฉีดเว้นระยะห่างกัน 12 สัปดาห์
3. วัคซีนชนิด mRNA หรือ ใช้สารพันธุกรรม (mRNA Vaccine) ได้แก่ ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โมเดอร์นา (Moderna) มีความสามารถกระตุ้นภูมิได้สูงจากภูมิคุ้มกันร่างกายของเราเอง โดยวัคซีนจะนำพา mRNA เข้าเซลล์ และกระตุ้นให้ร่างกายของเราสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ
จุดแข็ง : กระตุ้นภูมิได้สูงสุด 95%
จุดอ่อน : เป็นเทคโนโลยีวัคซีนแบบใหม่
มีผลข้างเคียงที่ยังต้องศึกษาอีกมาก
วัคซีนโควิดคนท้องฉีดได้ไหม
แม้ว่าการศึกษาวัคซีนที่ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ทั่วโลกจะเป็นเรื่องใหม่ แต่คนท้องทุกคนก็ควรศึกษาความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และประสิทธิภาพของวัคซีนต่างๆ รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับ เพื่อพิจารณาเข้ารับวัคซีน
วัคซีนโควิดคนท้อง ลงทะเบียนที่ไหนได้บ้าง
ช่องทางการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด ต่างจังหวัด
1. แจ้งรายชื่อได้ที่เจ้าหน้าที่ อสม., รพ.สต. ทุกจังหวัด
2. ติดตามประกาศของสาธารณสุขจังหวัดที่อาศัยอยู่
เพื่อแจ้งจุดฉีดวัคซีนแบบ Walk In และช่องทางลงทะเบียน
3. จองวัคซีนจากโรงพยาบาลเอกชน
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร ไทย-ญี่ปุ่น 08.00-16.00 น. (เปิดทุกวัน)
เงื่อนไข ประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไป ทุกสัญชาติ เตรียมเอกสารบัตรประชาชน หรือ พาสปอร์ต และหลักฐานการได้รับวัคซีนเข็มแรก
จองคิวผ่านแอป QueQ : Android ดาวน์โหลดได้ที่นี่, iOS ดาวน์โหลดได้ที่นี่
- ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิดสถานีกลางบางซื่อ 09.00-16.00 น. (เปิดทุกวัน)
สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนแห่งใหญ่ รองรับผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนจำนวนมาก ตั้งแต่เด็กอายุ 5-11 ปี และผู้ใหญ่ เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 09.00-16.00 น. โดยสามารถเดินทาง Walk In และลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านค่ายโทรศัพท์มือถือ
- ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดผ่านค่าย AIS : คลิกที่นี่
- ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดผ่านค่าย True : คลิกที่นี่
- ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดผ่านค่าย Dtac : คลิกที่นี่
- ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดผ่านค่าย บมจ.โทรคมนาคม (NT) : คลิกที่นี่
ศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อจะหยุดให้บริการช่วงวันหยุดสงกรานต์ตั้งแต่วันที่ 7-17 เมษายน 2565 และจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 เป็นต้นไป
- ลงทะเบียนวัคซีนโควิดคนท้อง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถลงทะเบียนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ที่สถานเสาวภาได้ โดยเปิดรับเป็นรอบๆ วัคซีนที่ได้รับจะเป็นวัคซีนโมเดอร์นา
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิดที่สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เปิดรับหญิงตั้งครรภ์อายุ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนโควิดมาก่อน หรือ ผู้ที่เคยฉีดครบแล้ว 2 เข็มที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิดโมเดอร์นาเป็นเข็ม 3 เป็น Booster Dose ดังนี้
1. วัคซีนโควิดคนท้อง เข็ม 1 ฉีดตั้งแต่วันที่ 15-17 มีนาคม 2565
2. วัคซีนโควิดคนท้อง เข็ม 2 ฉีดตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 เป็นต้นไป
3. วัคซีนโควิดคนท้อง เข็ม 3 ฉีดตั้งแต่วันที่ 15-18 มีนาคม 2565 โดยจะได้รับวัคซีนโมเดอร์นา 1 เข็ม สำหรับผู้ที่มีเงื่อนไขดังนี้
- ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาครบ 2 เข็ม ภายใน 10 ธันวาคม 2564
- ฉีดวัคซีนซิโนแวค หรือซิโนฟาร์มครบ 2 เข็ม ภายใน 10 กุมภาพันธ์ 2565
- ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคแอสตราเซเนกา ภายใน 10 ธันวาคม 2564
- ฉีดวัคซีนโควิดราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แบ่งออกเป็นวัคซีนหลัก และวัคซีนทางเลือก โดยวัคซีนหลักคือวัคซีนที่สาธารณสุขจัดสรร ณ ช่วงเวลานั้น ส่วนผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนทางเลือก คือ 1) วัคซีนซิโนฟาร์ม และ 2) วัคซีนโมเดอร์นา ต้องชำระค่าบริการ ซึ่งรวมประกันคุ้มครองผลข้างเคียงแล้ว ลงทะเบียนได้ที่นี่ >> https://vaccinecovid19.cra.ac.th
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิดที่ต้องพบแพทย์
ไม่ว่าจะเป็นหญิงตั้งครรภ์ หรือบุคคลทั่วไป หากมีอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในลักษณะต่อไปนี้ ควรพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา
- มีไข้ หนาวสั่น
- ปวดศีรษะรุนแรง
- แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
- อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง
- ผิวหนังลอก ผื่นขึ้นทั้งตัว
- มีจุดจ้ำเลือด
- ใบหน้าหรือปากเบี้ยว
- แขนขาอ่อนแรง
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- ชักหรือหมดสติ
หญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด ต้องจดบันทึกวันที่เข้ารับการฉีด เพื่ออนาคตจะได้ใช้ประกอบพิจารณาการรักษาโรคโควิด หรือใช้ตัดสินใจรับวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นในรอบถัดไป
ที่มา : theptarin.com, phyathai.com, synphaet.co.th
คุณกำลังดู: วัคซีนโควิดคนท้อง ลงทะเบียนและเว้นระยะฉีดอย่างไร
หมวดหมู่: แม่และเด็ก