อันตรายจาก “ผงชูรส” หากกินมากเกินไป เสี่ยงใจเต้น-อัมพาตชั่วคราว
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการผิดปกติเมื่อกินผงชูรสจำนวนมาก แต่หากแพ้ ก็อันตรายมากกว่าที่คิด
“ผงชูรส” ไม่ใช่เครื่องปรุงที่อันตรายต่อร่างกายในแง่ของส่วนผสม เพราะอย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าผงชูรสแท้ผลิตด้วยการหมักกากน้ำตาลจากอ้อย หรือน้ำตาลจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติ แต่ผงชูรสก็มีผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ในกรณีที่คนกินมีอาการแพ้ หรือกินมากเกินไป
>> ผงชูรสไม่อั้น! แชร์ว่อนคลิปแม่ค้าส้มตำ เทเกือบหมดถุง
ผู้โพสต์แจงตำครกใหญ่-หลายจาน
ทำไมคนถึงนิยมใส่ผงชูรสลงไปในอาหาร ?
นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ความนิยมในการใส่ผงชูรสในอาหาร โดยเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยขึ้นนั้น ความจริงผงชูรสมีชื่อเรียกว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมต ซึ่งมีส่วนประกอบของโซเดียมด้วย ผงชูรสจะละลายไขมันให้ผสมกลมกลืนกับน้ำ ทำให้มีรสเหมือนน้ำต้มเนื้อและกระตุ้นปุ่มปลายประสาทของลิ้นกับคอทำให้อาหารมีรสหวานอร่อย
อันตรายจาก “ผงชูรส”
ในกรณีที่มีอาการแพ้ต่อผงชูรส หรือรับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสมากเกินไป อาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ดังนี้
- รู้สึกชาที่ปาก ลิ้น หรือบริเวณใบหน้า
และหู
- ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ
หน้าอก
- หัวใจเต้นช้าลง
- หายใจไม่สะดวก
- ปวดท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- กระหายน้ำ
- วิงเวียนศีรษะ
- หากมีอาการแพ้มาก ๆ
หัวใจอาจเต้นเร็วขึ้นผิดปกติ
-
อาจอันตรายถึงขั้นเป็นอัมพาตชั่วคราวได้
- หญิงมีครรภ์อาจส่งอันตรายถึงลูกในครรภ์ได้
นอกจากนี้ ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนนั้น
หากได้กินผงชูรสเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองในเด็กวัยนี้
ยังไม่รวมถึงภาวะที่ได้รับเกลือโซเดียมมากเกินไปทำให้ไตเกิดการทำงานมากขึ้นอีกด้วย
>> "ผงชูรส"
ทำให้ผมร่วงจริงหรือ?
การป้องกันอันตรายจากผงชูรส
ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงร้านค้าที่ใส่ผงชูรสมากเกินไป และร้านค้าเองควรใส่ผงชูรสในปริมาณน้อย หรือทางที่ดีที่สุดคือการใช้น้ำซุปที่ต้มจากกระดูกสัตว์แทนการใส่ผงชูรส หรือผงปรุงรส นอกจากนี้การใส่เครื่องปรุงรสอื่น ๆ ก็ให้รสชาติกลมกล่อมได้อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ผงชูรสจำนวนมากเพื่อเพิ่มรสชาติแต่อย่างใด
>> 6 “ผงชูรส” จากธรรมชาติ อร่อยลิ้น โดยไม่อันตรายต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการซื้อผงชูรสไปทำอาหารที่บ้านเอง รวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหาร ควรเลือกซื้อผงชูรสแท้ที่หีบห่อหรือกระป๋องบรรจุขอบผนึกต้องไม่มีรอยตำหนิ ฉลากพิมพ์เป็นตัวหนังสือภาษาไทยชัดเจน ไม่เลอะเลือน และต้องระบุชื่ออาหารแสดงคำว่า “ผงชูรส” ตลอดจน มีเลขทะเบียนตำรับอาหาร (อย.) ระบุชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต เดือนปีที่ผลิต รวมทั้งน้ำหนักสุทธิอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันผงชูรสปลอม
>> “ผงชูรส” ทานแบบไหน ปลอดภัย-เสี่ยงอันตราย
>> 3 ประโยชน์ของ “ผงชูรส” ที่คุณอาจไม่รู้
คุณกำลังดู: อันตรายจาก “ผงชูรส” หากกินมากเกินไป เสี่ยงใจเต้น-อัมพาตชั่วคราว
หมวดหมู่: สุขภาพ