“ยา วิตามิน อาหารเสริม” ตัวไหน ควร-ไม่ควรกินคู่กัน

ยา วิตามิน อาหารเสริมบางตัว ทานคู่กันก็เสริมกัน แต่บางตัวก็ต่อต้านกัน หรือเสริมเพิ่มมากเกินไปจนเป็นอันตรายได้

“ยา วิตามิน อาหารเสริม” ตัวไหน ควร-ไม่ควรกินคู่กัน
  • ปัญหาที่เกิดจากการใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่พบได้บ่อยคือ รับประทานเกินขนาดหรือต่อเนื่องเกินไปจนส่งผลเสียต่อตับ อาการไม่พึงประสงค์ของผู้ที่รับประทานสมุนไพรร่วมกับยาที่ใช้ในการรักษาโรคประจำตัวหรือยาแผนปัจจุบันบางประเภท ซึ่งบางครั้งก็อาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต

  • น้ำเกรปฟรุต ทำให้ระดับยาลดความดันโลหิต และ ยาลดไขมันในเลือด สูงขึ้นหลายเท่าในกระแสเลือด จนส่งผลให้เกิดพิษจากยาได้

  • ในปัจจุบัน สามารถตรวจระดับวิตามินแร่ธาตุในร่างกายได้โดยการเจาะเลือด เพื่อค้นหาวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการจริง นำไปสู่การเลือกรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่เหมาะสมในแบบเฉพาะบุคคล

นพ. ภาณุวัฒน์ พุทธเจริญ แพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ระบุว่า สมุนไพรคือจุดกำเนิดตของพืชที่นำมาใช้ทางยาเพื่อรักษาอาการต่างๆ เมื่อหลายพันปีก่อน ในปัจจุบัน ความนิยมของการใช้ยาสมุนไพรยังคงแพร่หลาย โดยหลายคนมีความเชื่อว่าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตมาจากธรรมชาตินั้นมีประสิทธิภาพที่ดีและมีความปลอดภัยมากกว่ายาแผนปัจจุบัน

ปัญหาที่เกิดจากการใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เช่น รับประทานเกินขนาดหรือต่อเนื่องเกินไปจนส่งผลเสียต่อตับ รวมถึงผลข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดจากการใช้สมุนไพรที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ อาการไม่พึงประสงค์ของผู้ที่รับประทานสมุนไพรร่วมกับยาที่ใช้ในการรักษาโรคประจำตัวหรือยาแผนปัจจุบันบางประเภท ซึ่งบางครั้งก็อาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้น ก่อนที่จะรับประทานยา วิตามิน สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ร่วมกัน จึงควรศึกษาให้ดีก่อน ว่าแต่ละอย่างมีสรรพคุณอย่างไร ถ้ารับประทานร่วมกันแล้วจะก่อให้ประโยชน์หรือโทษอย่างไรบ้าง

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ไม่ควรรับประทานร่วมกัน

ยา

ไม่ควรรับประทานกับ

เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงดังนี้

ยารักษาเบาหวานหรือ อินซูลิน (Insulin)

มะระขี้นก ว่านหางจระเข้  โสม แมงลัก พืชตระกูลลูกซัด ผักเชียงดา และ อาหารเสริมที่มีแร่ธาตุโครเมียม (Chromium)

จะเสริมการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป อาจเกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ สายตาพร่า เหงื่อออกมาก หิวบ่อย อ่อนเพลีย

Nifedipine, Felodipine (ยาลดความดันโลหิต) และ Simvastatin, Atorvastatin (ยาลดไขมันในเลือด)

น้ำเกรปฟรุต

ทำให้ปริมาณยาสูงหลายเท่าในกระแสเลือด อาจส่งผลให้เกิดพิษจากยาได้

ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Aspirin, Warfarin)

น้ำมันคานูล่า (canola oil) หรือน้ำมันดอกคำฝอย (safflower oil) น้ำมันปลา (Fish oil) น้ำมันดอกอีฟนิ่ง (Evening primrose oil) ตังกุย (Dong quai), กระเทียม (Garlic), แปะก๊วย (Ginkgo), ขิง (Ginger)

เสริมฤทธิ์ของยาทำให้เลือดออกง่ายขึ้น หากทานปริมาณที่มาก (ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น ปรุงในอาหารได้ตามปกติ แต่ไม่ควรทานในรูปของอาหารเสริมหรือสารสกัดเข้มข้น)

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin

ผักใบเขียว ยอ ชาเขียว ถั่วเหลือง บรอกโคลี และ อาหารเสริมโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10)

ลดฤทธิ์ของยาหรือต้านการออกฤทธิ์ของยาทำให้ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา

ยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone เช่น ยา norfloxacin, ciprofloxacin และยาปฏิชีวนะกลุ่ม tetracycline

นม โยเกิร์ตหรือยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และแคลเซียม

ยาสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับประจุบวกของธาตุแคลเซียม (ในนมและโยเกิร์ต) และแคลเซียม แมกนีเซียม อลูมิเนียม (ในยาลดกรด) ทำให้ยาดูดซึมได้ลดลง ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา

 

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ควรรับประทานร่วมกัน

ส่วนที่ละลายได้ดีในไขมัน ควรรับประทานพร้อมมื้ออาหารที่มีไขมัน และถ้าต้องรับประทานวิตามินในมื้อเดียว ให้เลือกมื้อที่ใหญ่ที่สุดของวัน หรือรับประทานครึ่งหนึ่งหลังอาหารเช้า ครึ่งหนึ่งหลังอาหารเย็นก็ได้เช่นกัน

ยา

ควรรับประทานกับ

เพราะ

วิตามินเอ ดี อี หรือเค

หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช หรืออาหารเสริมกลุ่มน้ำมันปลา

ช่วยให้วิตามินดูดซึมได้ดีในร่างกาย

ธาตุเหล็ก

วิตามินซี หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น

แคลเซียม

วิตามินดี หรืออาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี เช่น เห็ด  นม ปลา ชีส

ช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีขึ้นในลำไส้เล็ก

คอลลาเจนเปปไทด์ ชนิดโมเลกุลเล็ก

วิตามินซี

ช่วยเสริมการทำงานของกันและกันในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวพรรณ

โคเอนไซม์คิวเท็น

หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช

ช่วยให้โคเอนไซม์คิวเท็นดูดซึมได้ดีในร่างกาย

คุณกำลังดู: “ยา วิตามิน อาหารเสริม” ตัวไหน ควร-ไม่ควรกินคู่กัน

หมวดหมู่: รู้เรื่องยา

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด