10 สาเหตุที่ทำให้ “เท้าบวม”

มีตั้งแต่อาการผิดปกติเล็กน้อย ไปจนถึงโรคร้ายแรงที่ควรเข้ารับการวินิจฉัยโดยด่วน

10 สาเหตุที่ทำให้ “เท้าบวม”

แม้ว่าเท้าจะเป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย เพราะเราใช้งานเท้าในแต่ละวันค่อนข้างหนัก และน้อยคนที่จะดูแลเอาใจใส่เท้าได้ดีเท่ากับอวัยวะอื่นๆ นอกจากเราจะใช้เท้าในการก้าวเดิน และคอยรองรับน้ำหนักของเราทั้งตัวทุกวันแล้ว เท้ายังเป็นอวัยวะที่ส่งสัญญาณผิดปกติของร่างกายเราได้อย่างแม่นยำอีกด้วย เมื่อเท้าบวมขึ้นมา แสดงว่าร่างกายของคุณมีอะไรผิดปกติแล้วล่ะ

 

10 เหตุผลที่ทำให้ “เท้าบวม”

  1. นั่ง หรือยืนนานเกินไป

อาชีพที่ต้องยืน หรือนั่งนานๆ โดยไม่ค่อยได้มีโอกาสขยับร่างกาย เช่น แพทย์ พยาบาล เชฟ ช่างทำผม เด็กเสิร์ฟ พนักงานรักษาความปลอดภัย อาจทำให้ขาของคุณไม่ค่อยได้มีการขยับเขยื้อน มีความเสี่ยงที่ระบบไหลเวียนโลหิตจะไม่ค่อยได้ทำงาน เมื่อเลือดไหลเวียนไปที่ขา และเท้าช้าลง จึงเป็นสาเหตุให้เท้าดูบวมมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่นั่งไขว่ห้าง ส่วนที่ขาทับกันยิ่งทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไปที่ขาช่วงล่างยิ่งแย่ไปกว่าเดิม จึงมีส่วนทำให้เท้าบวมได้มากขึ้นอีกด้วย

 

  1. ทานโซเดียมมากเกินไป

นอกจากการทานโซเดียมมากเกินไปจะทำให้หน้าบวมเหมือนอย่างที่สาวๆ หนุ่มๆ หลายคนเคยทราบกันมาบ้างแล้ว ยังทำให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น เท้า บวมได้อีกด้วย (เป็นอาการบวมน้ำ) องค์กรโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า เราควรทานโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือวันละไม่เกิน 1 ช้อนชาเท่านั้น นอกจากโซเดียมจะมาจากเกลือในอาหารปกติที่เราทานแล้ว ยังมาพร้อมกับขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มบางชนิด รวมไปถึงอาหารสำเร็จรูปต่างๆ ด้วย ดังนั้นหากหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ได้ก็จะช่วยลดอาการบวมของเท้าจากโซเดียมได้เช่นกัน

>> 3 วิธีลด “โซเดียม” ในร่างกายฉบับด่วนจี๋ หลังทานเค็มมากโดยไม่ได้ตั้งใจ

>> 20 อาหารโซเดียมสูงปรี๊ด กินมากๆ เสี่ยง “ความดันสูง”

3. ผลข้างเคียงจากการทานยา

ยาที่ช่วยลดค่าน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เช่น Avandia หรือ Actos ก็สามารถส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย โดยทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมได้ เพราะตัวยาเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายกำจัดโซเดียมส่วนเกินได้น้อยลงนั่นเอง นอกจากนี้ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอย่าง Loniten และ Apesoline ที่ทำหน้าที่ขยายหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้นนั้น ก็อาจส่งผลทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้เช่นกัน

 

  1. ตั้งครรภ์

มีหลายสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราอาจกำลังตั้งครรภ์ (>>10 อาการเบื้องต้นว่าเราอาจกำลัง “ตั้งครรภ์”) อาการเท้าบวมเป็นหนึ่งในอาการนั้น โดยเฉพาะช่วงสามเดือนแรกจะสามารถเห็นได้ชัดเจนว่าเท้าบวมกว่าปกติ และเท้าจะยิ่งบวมยิ่งขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไปนานขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่ตั้งครรภ์อยู่ และยังยิ่งบวมชัดเจนในช่วงเย็นของวัน หรือช่วงที่ออกไปอยู่ข้างนอกท่ามกลางอากาศร้อนๆ เป็นอาการที่ไม่ได้เป็นอันตรายอะไรกับร่างกาย เพราะจะมีทั้งช่วงบวม และช่วงที่หายบวมไปเองโดยไม่ต้องทำอะไร แต่หากพบว่ามีอาการบวมทั้งมือและเท้ามากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา และตรวจสุขภาพอย่างละเอียด

 

  1. น้ำหนักมากเกินไป

เมื่อเท้าเป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดเอาไว้ตลอดทั้งวัน และอาการเท้าบวมจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมักเป็นสาเหตุต้นๆ ที่พบบ่อยมากที่สุดในบรรดาสาเหตุทั้งหมด หากเริ่มต้นออกกำลังกายจนน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติได้แล้ว เท้าจะหายบวมได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ

 

  1. ข้อเท้า หรือเท้ามีอาการบาดเจ็บ

อาการเท้าบวมที่มาพร้อมอาการบาดเจ็บ มักมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับข้อเท้า หรือเท้าหลังออกกำลังกาย หรืออุบัติเหตุต่างๆ เช่น เท้าแพลง (>> อันตรายจาก "ข้อเท้าแพลง" ที่เราไม่ควรชะล่าใจ) เมื่อเท้าเกิดอาการอักเสบ จึงมีอาการปวดบวมตามมา อาการบวมจะขึ้นเมื่อประคบน้ำแข็งภายใน 48 ชั่วโมง และเมื่อผ่านไปสักระยะสามารถประคบน้ำอุ่นเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการอักเสบให้ดีขึ้นได้ หรือจะทายา หรือทานยาลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อร่วมด้วยก็ได้ (แต่ยาทานเพื่อคลายกล้ามเนื้อควรใช่เมื่อจำเป็นเท่านั้น)

 

  1. ฮอร์โมนกำลังเปลี่ยนแปลง

ช่วงที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงปั่นป่วนเล็กน้อย คือช่วงกำลังมีประจำเดือนนั่นเอง และช่วงนี้เองที่เราจะสังเกตเห็นความแตกต่างของตัวเองได้ในหลายๆ ด้าน ทั้งรู้สึกว่าตัวบวมขึ้น หน้าอกใหญ่ขึ้น สิวขึ้น รวมไปถึงเท้าที่อาจบวมขึ้นได้เช่นกัน หากอยากลดอาการบวมในช่วงนี้ ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น ลดการทานอาหารที่มีโซเดียมสูง และออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดอาการบวมของร่างกายทั้งหมดได้

 

  1. เกิดภาวะบวมน้ำเหลือง

เมื่อระบบน้ำเหลืองมีอาการผิดปกติ ร่างกายอาจมีอาการเตือนด้วยอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่บวมขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย โดยภาวะบวมน้ำเหลืองอาจเกิดขึ้นกับคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในช่วงติดเชื้อได้ แต่หากคุณไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ แล้วมีอาการบวมทั้งตัวอย่างหาสาเหตุไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

  1. ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขาสามารถเกิดขึ้นได้กับหลายๆ คนที่นั่งทำงานนานเกินไปโดยไม่ขยับขา หรืออาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้นานๆ เมื่อลิ่มเลือดอุดตันทำให้เลือดไหลเวียนได้ลำบาก จนอาจเกิดอาการบวมที่ขา และเท้าได้ มีทั้งแบบที่กดแล้วเจ็บ และกดแล้วไม่เจ็บ รวมไปถึงสีของขา และเท้าอาจเปลี่ยนแปลงเป็นสีที่เข้มขึ้น หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา

>> "ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ" โรคอันตรายถึงชีวิตที่น้อยคนจะรู้จัก

 

  1. ภาวะไต/ตับวาย

เมื่อไตเป็นอวัยวะที่รับผิดชอบดูแลปริมาณของเหลวภายในร่างกาย หากไตไม่สามารถขับของเหลวที่ไม่ต้องการออกจากร่างกายได้ จึงทำให้ร่างกายบวมน้ำ และเป็นสาเหตุของอาการเท้าบวมได้ เช่นเดียวกับตับที่อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จนทำให้เข้าสู่ภาวะตับแข็ง และส่งผลให้ขา และเท้าบวมได้ ดังนั้นหากคิดว่ามีความเสี่ยงที่สุขภาพของไต และตับไม่ค่อยจะดี เช่น เป็นคนทานรสเค็มจัด สูบบุหรี่จัด หรือดื่มแอลกอฮอล์จัด ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายโดยละเอียดต่อไป

คุณกำลังดู: 10 สาเหตุที่ทำให้ “เท้าบวม”

หมวดหมู่: รู้ทันโรค

แชร์ข่าว