6 วิธีป้องกันเชื้อหวัด แพร่กระจายในที่ทำงาน
ช่วงนี้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในออฟฟิศต่างก็มีอาการไอ จามกันคนละทีสองที สลับกันไอเป็นพักๆ เพราะช่วงปลายปีแบบนี้ อากาศเปลี่ยนทีไร เชื้อไวรัสก็เริ่มทำงานทุกที จริงๆ แล้วถ้าป่วยก็ควรนอนพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน แต่ถ้าจำเป็นต้องมาทำงานจริงๆ ก็ควรป้องกันการแพร่เชื้อหวัดของตัวเอง เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพเพื่อนร่วมงาน และตัวเองด้วย
เป็นหวัด เมื่อไรถึงควรหยุดงาน?
เรามาเริ่มกันที่สิ่งนี้ก่อน นั่นคือ ป่วยมากแค่ไหนถึงควรจะต้องหยุดงาน เอาอะไรเป็นมาตรฐาน ตามความเห็นของแพทย์แล้ว หากพบว่าตัวเองมีไข้ ก็ควรพักผ่อนอยู่ที่บ้านจนกว่าไข้จะลดลงจนถึงอุณหภูมิปกติมากกว่า 24 ชั่วโมง การมาทำงานทั้งๆ ที่ยังมีไข้ นอกจากจะเป็นการทรมานตัวเองไปเปล่าๆ ทำให้ไข้ลดลงช้ากว่าเดิม ใช้เวลาในการรักษาตัวนานกว่าเดิมแล้ว ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เพิ่ม อาจทำให้อาการแย่ลงไปกว่าเดิมอีกด้วย แทนที่จะเป็นไข้หวัดธรรมดาๆ อาจเป็นไข้หวัดใหญ่จนอาจต้องเข้าโรงพยาบาล เสียเงินเสียเวลาเยอะกว่าเดิมก็ได้
iStock
ไม่อยากแพร่เชื้อหวัดให้เพื่อนร่วมงาน ควรทำอย่างไร?
-
ปิดปากตัวเองเวลาไอ หรือจาม ด้วยข้อศอก ไม่ใช่มือ เพราะหากไอ หรือจามใส่มือ แล้วใช้มือจับสิ่งของต่างๆ อย่างลูกบิดประตู คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ร่วมกัน เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องกดน้ำ ก๊อกน้ำ ฯลฯ อาจเป็นการแพร่เชื้อหวัดไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว
-
ลดการพบปะพูดคุยกับผู้อื่นในระยะใกล้ หรือหากงดการอยู่กับคนอื่นในพื้นที่จำกัดอย่างในห้องประชุมเล็กๆ เป็นเวลานานได้ก็จะดี
-
งดการจับมือทักทายกับผู้อื่น หากไม่จำเป็น
-
พกกระดาษทิชชูเปียกที่มีสารฆ่าเชื้อโรค หรือเจลล้างมือตลอดเวลา เริ่มไอเริ่มจามเมื่อไร ก็ให้รีบเช็ดทันที หรือถ้าจาม หรือไอใส่สิ่งของ เช่น คีย์บอร์ด หน้าจอคอมพิวเตอร์ โต๊ะทำงาน ก็ควรรีบเช็ด
-
ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
-
อย่าลืมทานยาให้ตรงเวลา ห้ามขาดยาเด็ดขาด
- ต้องอ่าน! ลืมกินยา ทำอย่างไร ก่อน-หลังอาหารกี่นาที?
สิ่งสำคัญคือระหว่างที่กำลังป่วย ควรงดกิจกรรมที่ต้องอยู่ร่วมกับคนเยอะๆ เช่น การไปออกกำลังกายที่ฟิตเนส ทานข้าวกับเพื่อนๆ การที่เรามีจิตสาธารณะที่ดี พยายามไม่ทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อนไปด้วย ถือว่าเป็นการกระทำที่เราพึงปฏิบัติ แล้วอย่าลืมดื่มน้ำอุ่น ทานอาหารอ่อนๆ และพักผ่อนเยอะๆ ด้วยนะคะ ขอให้หายไวๆ กลับมาแข็งแรงเร็วๆ ค่ะ
คุณกำลังดู: 6 วิธีป้องกันเชื้อหวัด แพร่กระจายในที่ทำงาน
หมวดหมู่: รู้ทันโรค