"Art Toy" แตกต่างจากโมเดล และฟิกเกอร์อย่างไร ทำไมทำกำไรได้

ในเวลานี้คำว่า "Art Toy" ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังมี Pop Mart หรือร้านขาย Art Toy

"Art Toy" แตกต่างจากโมเดล และฟิกเกอร์อย่างไร ทำไมทำกำไรได้

ในเวลานี้คำว่า "Art Toy" ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังมี Pop Mart หรือร้านขาย Art Toy เข้ามาเปิดในเมืองไทยหลายๆ แห่ง ซึ่งทำให้หลายคนสงสัยว่า Art Toy คืออะไร แตกต่างจากโมเดล และฟิกเกอร์ ซึ่งเคยเป็นที่นิยมในช่วงเวลาที่ผ่านมาอย่างไร

Art Toy คืออะไร

Art Toy หรือที่ฝั่งตะวันตกจะเรียกว่า Designer Toy คือของเล่นในรูปแบบศิลปะ ที่ออกแบบโดยศิลปิน มักถูกผลิตในจำนวนจำกัดเนื่องจากศิลปินเป็นผู้ผลิตเอง

จุดเริ่มต้นของ Art Toy คือเรย์มอนด์ ชอย ศิลปินชาวฮ่องกงได้สร้างสรรค์ชุดผลงานอันมีชื่อเสียงอย่าง Qee ขึ้นในปี 2538 โดยของเล่นสะสมดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่มีศีรษะเป็นสัตว์ประเภทต่างๆ เช่นหมี แมว กระต่าย และลิง

กระทั่งต่อมา Art Toy กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากผลงานของ “ไมเคิล หลิว” (Michael Lau) ผู้จัดแสดงชุดผลงาน Gardeners ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ จี.ไอ.โจ แต่ดัดแปลงคาแรกเตอร์ให้สะดุดตาขึ้นด้วยลายสัก การเจาะหูและการถือสเกตบอร์ด ซึ่งการผสมผสาน Pop Calture กับไลฟ์สไตล์แนวสตรีทครั้งนี้จึงทำให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ยังมีบริษัทระดับโลกฝั่งอเมริกา อย่าง Kidrobot ที่เปิดตัว “Dunny Series” และบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น Medicom Toys ที่สร้างสรรค์ Bearbrick หรือเจ้าหมีแบร์บริกที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก โดยเป็นส่วนผสมของศิลปะและของเล่น

จุดนี้เองที่ทำให้เกิด Art Toy Culture และแรงกระเพื่อมทางการค้า แถมพิพิธภัณฑ์และแกลอรีทั่วโลกก็หันมาให้ความสนใจและจัดแสดง Art Toy อย่างอุ่นหนาฝาคั่ง กระทั่งมีการนิยามว่า Art Toy คือ การแสดงออกทางศิลปะรูปแบบใหม่ และได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน

หลังจากรู้จัก Art Toy และประวัติของมันเรียบร้อยแล้ว เราจะมาเจาะลึกความนิยมของ Art Toy และการสะสมเพื่อเก็งกำไรกัน!

ความแตกต่างระหว่าง Art Toy โมเดล และฟิกเกอร์

หลักๆ แล้วทั้งโมเดล และฟิกเกอร์มีความคล้ายคลึงกัน แต่โมเดลจะครอบคลุมกว่าฟิกเกอร์ และยังรวมไปถึงของเล่นของสะสมอื่นๆ ด้วย โดยทั้งสองสิ่งคือการจำลองสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ ยานพาหนะ สิ่งของต่างๆ บุคคลที่มีชื่อเสียง ตัวละครหนัง,การ์ตูนหรือเกม และสิ่งต่างๆ อีกสารพัด ซึ่งโมเดล และฟิกเกอร์ยังแบ่งออกได้อีกหลายประเภท

สรุปความแตกต่างระหว่าง Art Toy กับโมเดล และฟิกเกอร์ก็คือ การผลิต Art Toy นั้นเกิดจากตัวศิลปินโดยไม่มีเนื้อเรื่องมารองรับแบบฟิกเกอร์ หรือโมเดลทั่วไป ที่มักจะมีต้นแบบมาจากการ์ตูน เกม หรือภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง

ทำไม Art Toy ทำกำไรได้

สาเหตุที่ทำให้ Art Toy ทำกำไรได้เพราะถูกผลิตออกมาในจำนวนจำกัด และออกแบบโดยศิลปินทำให้มีราคาสูง นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้ Art Toy ทำกำไรได้ เช่น หลาย ๆ ครั้ง ผู้ซื้อ Art Toy ก็ไม่ใช่แฟนคลับ หรือผู้ที่สนใจในตัวศิลปิน แต่จะมองเห็นว่าตลาดต้องการ Art Toy รูปแบบไหน ซึ่งผู้ซื้อประเภทนี้คือหนึ่งในกลไกสำคัญที่ทำให้ราคา Art Toy ขยับขึ้นไปข้างหน้า และยังช่วยสร้างชื่อให้ศิลปินบางคนอีกด้วย

หรือบางครั้ง ต่อให้ไม่ทำอะไร แค่สะสมไว้เฉย ๆ แต่บังเอิญตัวที่เราสะสมเป็นตัวหายาก ราคาก็อาจจะพุ่งโดยไม่รู้ตัวก็ได้! นั่นจึงทำให้หลายคนสนใจที่จะซื้อ Art Toy มาเก็บไว้ และหวังว่ามันจะขึ้นราคาในสักวัน

กระแสของมันมาแรง จนในประเทศไทยไม่เพียงแต่จะมีผู้ซื้อเพื่อสะสม แต่ยังมีผู้ที่ออกแบบ Art Toy ด้วยตัวเองอีกด้วย

โดยทั่วไป Art Toy จะถูกผลิต 10–100 ตัวเท่านั้น และจะไม่เกิน 1,000 ตัว เพราะหากมีการผลิตที่มากเกินไป คุณค่าของความ “หายาก” และ “จำกัด” จะถูกลดลงในทันที ซึ่งคุณค่าของสินค้าที่มีจำนวนจำกัดคือหัวใจสำคัญของ Art Toy

นอกจากนี้ มูลค่าของ Art Toy มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต หากเป็นผลงานของศิลปินชื่อดังหรือมีความต้องการในตลาดเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง เรียกได้ว่ามันคือ “สินทรัพย์” ประเภทของสะสมได้เลยทีเดียว

คุณกำลังดู: "Art Toy" แตกต่างจากโมเดล และฟิกเกอร์อย่างไร ทำไมทำกำไรได้

หมวดหมู่: ผู้หญิง

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด